Economics

‘สภาพัฒน์’ คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัว 3.5-4.5% เงินเฟ้อกรอบ 1.5-2.5%

“สภาพัฒน์” เผยเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2564 ขยายตัว 1.9% ส่วนทั้งปี 2564 ขยายตัว 1.6% คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2565 ขยายตัว 3.5-4.5% ขณะที่เงินเฟ้อคาดอยู่ในกรอบ 1.5-2.5%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ไตรมาส 4/2564 ขยายตัว 1.9% จากการลดลง 0.2% ในไตรมาส 3/2564 เป็นผลจากความต้องการสินค้าและบริการทั้งในประเทศและต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น

สภาพัฒน์

อย่างไรก็ตาม ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด รวมทั้งมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ GDP ปี 2564 โต 1.6% ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 1.2%

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวในช่วง 3.5-4.5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวรวมทั้งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออก และแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565

สภาพัฒน์

เงินเฟ้อกรอบ 1.5-2.5%

ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ จะขยายตัว 4.9% การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 4.5% และ 3.8% ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัว 4.6% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.5-2.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.5% ของ GDP

อย่างไรก็ตาม ขณะที่ผลผลิตปศุสัตว์ลดลงต่อเนื่อง ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลขยายตัว 0.3% และ 8.1% ตามลาดับ การลงทุนรวมลดลง 0.2% การส่งออกและการนาเข้าสินค้าและบริการขยายตัว 17.7% และ 16.6% ตามลาดับ หลังปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4/2564 ขยายตัว 1.8% (QoQ SA)

สภาพัฒน์

 

ส่วนการใช้เงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิดในปี 2563-2564 ว่า การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากโควิด-19 ในภาพรวม ในปี 2563 เบิกจ่าย 1.9 แสนล้านบาท ในปี 2564 เบิกจ่าย 2.7 แสนล้านบาท รวมกันประมาณ 4.6 แสนล้านบาท ซึ่งการรักษาดังกล่าว มีทั้งจากการใช้เงินกู้จาก พ.ร.ก.1 ล้านล้านบาท พ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท งบกลาง และงบประมาณของหน่วยส่วนอื่น ๆ เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ไม่ได้มาจากเงินกู้ตาม พ.ร.ก.ทั้งหมด

ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนว่าไม่มีการยกเลิกโรคโควิด-19 ออกจากการรักษาฉุกเฉิน ดังนั้นการที่โรงพยาบาลเอกชน ไปเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วยก่อนที่มีการรักษาเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

นายดนุชา กล่าวด้วยว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำเรื่องขอใช้เงินกู้จาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลโควิด-19 ให้กับประชาชน อีกจำนวน 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เป็นค่ารักษาที่จ่ายไปแล้วในช่วงพฤศจิกายน 2564 – มกราคม 2565 จำนวน 3.2 หมื่นล้านบาท และเป็นค่ารักษาพยาบาลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-กันยายน 2565 อีก 1.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้กำลังอยู่ระหว่างพิจารณา

สภาพัฒน์
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

ทั้งนี้ พ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท ได้มีการอนุมัติไปแล้ว 3.9 แสนล้านบาท ยังเหลือเงินอยู่ประมาณ 1 แสนล้านบาท ใช้สำหรับแผน

  1. ด้านสาธารณสุข จำนวน 1.9 แสนล้านบาท แผน
  2. เพื่อการเยียวยาผลกระทบจากโควิด จำนวน 1.6 แสนล้านบาท
  3. เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จำนวน 1.2 แสนล้านบาท

ในส่วนของการใช้เงินกู้จาก พ.ร.ก. 1 ล้านล้านบาท ที่ได้สิ้นสุดไปแล้วในปี 2564 มีการอนุมัติเงินกู้แล้ว 9.82 แสนล้านบาท เบิกจ่ายจริงแล้ว 9.44 แสนล้านบาท และคาดว่าจะเบิกจ่ายได้ครบในเดือนพฤษภาคม 2565 ซึ่งอาจจะมีล่าช้าไปบ้างจนถึงเดือนกันยายน 2565 ซึ่งเป็นส่วนน้อย ซึ่งโดยสรุปแล้ว ยอดการใช้เงินกู้ตามพ.ร.ก. 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น การใช้ในแผน 1 จำนวน 6.3 หมื่นล้านบาท, แผน 2 ที่ 7.9 แสนล้านบาท และแผน 3 ที่ 2.9 แสนล้านบาท โดยคงเหลือวงเงินกู้ที่ใช้ไม่ทันประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo