Business

ข่าวดีบัตรทอง!!รพ.สมุทรปราการ เริ่มแล้ว ’30 บาทรักษาทุกที่’ ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว

รพ.สมุทรปราการ เริ่มให้บริการ “30 บาทรักษาทุกที่” เข้ารักษาที่หน่วยปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว เผยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 มีผู้ใช้บริการแล้ว 250 ราย

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินการโครงการ  ประชาชนที่เจ็บป่วยไปรับบริการกับหมอประจำครอบครัว ในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ หรือ 30 บาทรักษาทุกที่ ณ โรงพยาบาลสมุทรปราการ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

รพ.สมุทรปราการ

ทั้งนี้ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ประชาชนที่ไม่ได้เจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่เกิดเจ็บป่วยในต่างพื้นที่ที่ใดก็ได้ในประเทศไทย สามารถขอเข้ารับบริการที่หน่วยปฐมภูมิ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลจังหวัดที่มีบริการปฐมภูมิได้

การเพิ่มบริการดังกล่าว จะแตกต่างจากกติกาเดิม ที่ประชาชนจะต้องมีหน่วยบริการประจำของตนเอง ผ่านการลงทะเบียน หากเจ็บป่วยไม่ฉุกเฉิน ก็ต้องไปใช้บริการที่หน่วยบริการประจำ

วันนี้เราก็ออกกติกาขึ้นมาใหม่ว่า กรณีที่ประชาชนไม่ได้เจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่เมื่อไปต่างพื้นที่แล้วเกิดการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น ครั่นเนื้อครั่นตัว เป็นไข้หวัด แล้วเข้ารับบริการที่หน่วยบริการ

บัตรทอง

นอกจากนี้ หน่วยบริการที่ให้บริการ ไม่ต้องให้ประชาชนกลับไปเอาใบส่งตัวเพื่อมาเก็บเงิน แต่ให้หน่วยบริการเรียกเก็บเงินมาที่ สปสช. ซึ่ง สปสช. ก็จะจ่ายเงินค่ารักษาให้ในราคาที่ตกลงกันไว้แล้ว ฉะนั้นจึงไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีใครตามมาจ่าย

สำหรับในปี 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการทดลองนำร่องในเขตภาคอีสาน และกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยเริ่มจากเขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียง ภายหลังก็ได้กระจายไปทั่วภาคอีสาน ซึ่งก็พบว่าประชาชนที่เข้ารับบริการนอกเขตพื้นที่หรือนอกเขตจังหวัดรอยต่อนั้น มีเพียง 4% ของผู้เข้ารับบริการ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อโรงพยาบาลขนาดใหญ่

นพ.จเด็ด

ดังนั้น จึงเตรียมขยายบริการดังกล่าวไปทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชน มั่นใจว่าหากมีความจำเป็น กรณีเจ็บป่วยไม่ฉุกเฉินท่านจะไปขอรับบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ ที่อาจจะไม่ใช่หน่วยที่ท่านลงทะเบียน ไว้

นพ.นำพล กล่าวเพิ่มเติมว่า การให้บริการรักษาทุกที่ของโรงพยาบาลสมุทรปราการ จะให้บริการ 4 เรื่องใหญ่ เช่น การรักษาต่อเนื่อง ทันตกรรม การทำแผล หรือการฉีดวัคซีน เป็นต้น ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา โรงพยาบาลสมุทรปราการได้ให้บริการผู้ป่วยไปแล้ว 250 ราย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo