Business

กนอ. ร่วมเอกชน เร่งยกระดับ นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ขึ้นฮับโลจิสติกส์ภูมิภาค

กนอ. ร่วมภาคเอกชน เร่งเครื่องยกระดับ “นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี” ขึ้นแท่นฮับโลจิสติกส์แห่งภูมิภาค ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางรับ-ส่งสินค้า สู่อาเซียนและจีน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เร่งยกระดับนิคมอุตสาหกรรม อุดรธานี ให้เป็นฮับโลจิสติกส์ (Hub Logistic) ของภูมิภาค โดยเป็นศูนย์กลางในการรับ กระจายสินค้าในภาคอีสานไปสู่อาเซียนและประเทศจีน ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม

นิคมอุดร

แผนการดำเนินงานสู่เป้าหมายดังกล่าว จะเน้นการขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรม อุดรธานี ให้มีความทันสมัย ด้วยการใช้เทคโนโลยี และดึงดูดนักลุงทุน นักธุรกิจ จากต่างประเทศ สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

นอกจากนี้ ยังเน้นส่งเสริมการสร้างนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อนโยบายเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาล โดยวางเป้าหมายให้นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายส่งเสริมให้แต่ละภูมิภาคมีนิคมอุตสาหกรรมเป็นของตนเอง เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรับและขนส่งสินค้า

ธนกร
นายธนกร วังบุญคงชนะ

สำหรับนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี จะกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางราง และโลจิสติกส์ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ช่วยอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนการขนส่งให้กับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีและลูกค้าทั่วไป ที่ต้องการขนส่งสินค้าไปยังประเทศในกลุ่ม CLMV และจีนตอนใต้ รวมถึงการขนส่งสินค้าทางรางไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และพื้นที่อีอีซี

จากแผนงานดังกล่าว คาดว่าภายในปี 2568 อุดรธานีจะมีเครือข่ายการคมนาคมขนส่งที่เชื่อมต่อทั้งรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย-เวียงจันทน์-คุนหมิง และรถไฟทางคู่ ซึ่งจะช่วยยกระดับการให้บริการขนส่งสินค้าทางรางของประเทศ ช่วยลดเวลาการขนส่งได้ถึง 30% แต่ต้นทุนถูกกว่า 2 เท่า รวมทั้งยังเชื่อมต่อไปยังท่าเรือกรุงเทพฯ และท่าเรือแหลมฉบังอืกด้วย

ขณะเดียวกัน นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี มีแผนพัฒนาก่อสร้างโรงงานขนาดเล็ก (Micro Factory) เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มธุรกิจ SMEs เช่าประกอบกิจการ ต่อยอดธุรกิจและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งมีสำนักงานบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Services : OSS) ให้บริการอนุมัติ อนุญาต ในการประกอบกิจการแบบครบวงจร

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo