Business

CEA เปิดโครงการยกระดับอุตฯสร้างสรรค์ไทย ชูพลัง Soft Power สร้างโอกาส-เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจไทย

CEA จับมือ 8 องค์กร สร้างเครือข่ายสร้างสรรค์ จัดกิจกรรม “Creative Industries Program” นำพลัง Soft Power ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยผ่านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้งดนตรี ซีรีส์วาย เกม หนังสือ โฆษณา ตลาดศิลปะดิจิทัล

นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA เปิดเผยว่า CEA ในฐานะองค์กรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศไทย ได้มุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 15 สาขา

อุตสาหกรรมสร้างสรรค์

อุตสาหกรรมสร้างสรรค์

ในปี 2564 คาดว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 1.45 ล้านล้านบาท และในปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 1.51 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.57%

จากเป้าหมายดังกล่าว CEA จึงได้ร่วมกับ 8 องค์กรสร้างสรรค์ ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือต่าง ๆ จัดทำข้อตกลงบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับ 7 องค์กรและ 1 สมาคมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา ได้แก่

  • สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT)
  • สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย (AAT)
  • สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA)
  • สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย
  • สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
  • วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (CCI by SWU)
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • สมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย

messageImage 1632891818188

ต่อยอดความร่วมมือ จัดกิจกรรม Creative Industries Program

ความร่วมมือดังกล่าว ในปีนี้ CEA ได้จัดกิจกรรม CEA: Creative Industries Program เพื่อส่งเสริมศักยภาพและยกระดับขีดความเสามารถทางธุรกิจสร้างสรรค์ ผ่านอุตสาหกรรมดนตรี ภาพยนตร์ โฆษณา และศิลปะในรูปแบบ Soft Power

ทั้งนี้ จะเน้นการสร้างความเชื่อมโยงที่เข้มแข็งและยั่งยืน ให้แก่เครือข่ายผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม โดยกำหนดจัดขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2564 แบ่งการจัดกิจกรรมออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มรากฐานทางวัฒนธรรม (Creative Originals) ได้แก่ งานฝีมือและหัตถกรรม ดนตรี ศิลปะการแสดง และทัศนศิลป์

  • CEA ได้จัดทำโครงการ CEA Live House ปี 2: กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ศิลปินหน้าใหม่ ได้บันทึกการแสดงสดอย่างเต็มรูปแบบ “Live Recording Sessions” ในแบบมาตรฐานสากล เพื่อยกระดับความสามารถของศิลปินไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติ และนำเสนอผลงานสู่สาธารณะทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

ในปีนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 49 กลุ่ม แบ่งเป็นการแสดงดนตรี 36 กลุ่ม และ การแสดงศิลปะการแสดง 13 กลุ่ม พร้อมร่วมกับภาคเอกชน จัดกิจกรรมผลักดันอุตสาหกรรมดนตรี เพื่อยกระดับวงการ T-POP สู่ตลาดโลก ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ในช่วงปลายปี 2564

  • CEA ร่วมกับ สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (CAPT) จัดกิจกรรมบรรยาย และสัมมนาเชิงปฏิบัติการในรูปแบบออนไลน์ CAPT FEST 2021 เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจต่ออุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และสนับสนุนการยกระดับความสามารถของบุคลากรและธุรกิจ ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดอุตสาหกรรมโลก

อุตสาหกรรมสร้างสรรค์

2. กลุ่มคอนเทนต์และสื่อสร้างสรรค์ (Creative Content and Media) ได้แก่ ภาพยนตร์ การกระจายเสียง การพิมพ์และซอฟต์แวร์

  • จัดทำแพลตฟอร์มออนไลน์สิ่งพิมพ์ Thai Book Fair Web Archive รวบรวมความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบฐานข้อมูล (Archive) ของแวดวงหนังสือและการพิมพ์ ร่วมกับสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) โดยคัดเลือกหนังสือ วรรณกรรม สิ่งพิมพ์ นำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาต่าง ๆ
  • พัฒนาแพลตฟอร์มผลงานโฆษณาของไทย (Adman, Ad Fest, Cannes Lions Web Archive) ร่วมกับสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ด้วยการรวบรวมและแสดงข้อมูลผลงานโฆษณาของไทย ที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารับรางวัล ย้อนหลังเป็นเวลา 3 ปี
  • อุตสาหกรรมสาขาการกระจายเสียงและสาขาภาพยนตร์ ได้จัดทำ Series Y Documentary ร่วมกับภาคเอกชนในวงการซีรีส์วาย นำเสนอสารคดีสั้นเจาะลึกเบื้องหลังวงการ ซีรีส์ประเภท BoysLove หรือซีรีส์วาย (Y) ที่สร้างรายได้อย่างมหาศาลทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแนวคิดสร้างสรรค์จากคอนเทนต์ของไทย

จัดกิจกรรม NFT สนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย สู่ตลาดศิลปะดิจิทัล

ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2021 ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล NFT (Non-fungible Token) ทั่วโลก ได้สร้างปริมาณการซื้อขายสูงถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 47,250 ล้านบาท โดยตลาดซื้อขาย หรือ Marketplace ที่มีมูลค่าการซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ NBA Top Shot, CryptoPunks, OpenSea และ Rarible ซึ่งคิดเป็น 73% ของปริมาณธุรกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมด

นายศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ นายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Bitcast กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอดีตโลก Internet of Information หรือยุคของการส่งข้อมูลข่าวสาร เคยสร้างปัญหาให้ครีเอเตอร์ และปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

messageImage 1632892581514

จนกระทั่งก้าวเข้าสู่ยุค Internet of Value ครีเอเตอร์เริ่มมองเห็นหนทางในการรักษาสิทธิที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยการทำให้งานศิลปะทุกชิ้นมีความแตกต่าง ด้วยการพัฒนามาตรฐานที่เรียกว่า Non-Fungible Token หรือ NFT ขึ้นมา

นายอภิสิทธิ์ กล่าวย้ำอีกว่า อนาคต NFT จะมีอิทธิพลต่อวงการของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในหลายสาขา ทั้งศิลปะ ดนตรี ทรัพย์สินทางปัญญา โฆษณา ที่มองหาความเป็นต้นฉบับ (Original) โดย NFT จะช่วยเปิดโอกาสให้ศิลปินเหล่านี้ได้รับค่าตอบแทนจากผลงาน จากผลงานที่เป็นสาธารณะจะกลายเป็นทรัพย์สินส่วนตัว

นอกจากนี้ CEA ได้ร่วมกับสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย จัดกิจกรรม NFT เพื่อสนับสนุนนักสร้างสรรค์ และผลงานสร้างสรรค์ของไทยในยุคปัจจุบัน สู่ตลาดศิลปะดิจิทัล ได้แก่

  • โครงการสรรสร้างโอกาสในตลาดดิจิทัลอาร์ตไปกับ NFT
  • กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ NFT สำหรับนักสร้างสรรค์และกิจกรรมส่งเสริมรายได้ให้ นักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง โดยการสร้างผลงานในกลุ่มผู้ฟังที่หลากหลายไร้พรหมแดน เพื่อเปิดการขายผลงานในรูปแบบ NFT

NFT Creator Conversion Project FB 1200x1200 1

  • จัดทำ Webinar และ Online Workshop ร่วมกับสมาคม TAGCA, DCAT, TGA และ Bangkok ACM Siggraph เพื่อถ่ายทอดความรู้นวัตกรรมของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาซอฟต์แวร์ ในกลุ่มเกมและแอนิเมชันในงาน Bangkok International Digital Content Festival 2021 (BIDC)
  • กิจกรรมเสวนาออนไลน์ สำรวจก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยกับกว่า 30 ตัวจริงผู้ขับเคลื่อนวงการกับ The Standard POP Live Special: Creative Weekend

S 10600565

S 10600571

ทั้งหมดนี้ จึงเป็นโอกาส ในการนำ NFT มาใช้เพื่อสนับสนุนผลงานสร้างสรรค์ของไทย สู่ตลาดศิลปะดิจิทัล รวมทั้งผลักดันและสร้างโอกาสให้กับนักสร้างสรรค์ในสาขาต่าง ๆ เพื่อให้สามารถต่อยอดผลงานสู่ตลาดโลกได้ต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo