Business

ไปรษณีย์ไทย ผนึก บขส. ชู ‘Sharing Economy’ ร่วมใช้เครือข่ายยานพาหนะ เส้นทางเดินรถ รับ-ส่งพัสดุภัณฑ์

ไปรษณีย์ไทย ผนึกความร่วมมือ บขส. ชูแนวคิด “Sharing Economy” ร่วมใช้เครือข่ายยานพาหนะ เส้นทางเดินรถบริการขนส่ง “ฮับทูฮับ” รับ-ส่งพัสดุภัณฑ์ ช่วยกระจายสินค้า เพิ่มความสะดวกในการขนส่ง

นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กระทรวงคมนาคม และ ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) ร่วมลงนามในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ บริษัท ขนส่ง จำกัด

รับ-ส่งพัสดุภัณฑ์

นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. เปิดเผยว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบทบทวนมติ ครม. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2502 เรื่องการเดินรถขนส่งต่างจังหวัด จากเดิมให้ บขส. รับภาระเฉพาะเดินรถโดยสาร เป็นให้มีภารกิจด้านการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

พร้อมกันนั้น ได้ให้ บขส. พิจารณาแนวทางการดำเนินธุรกิจ ร่วมกับ ไปรษณีย์ไทย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำหรับเป็นทางเลือกในการให้บริการประชาชน

บขส. และ ไปรษณีย์ไทย จึงได้ร่วมกันพิจารณาหาแนวทางในการพัฒนาธุรกิจรับ-ส่งพัสดุภัณฑ์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและเครือข่ายของทั้งสองหน่วยงานที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้ บขส. ได้พัฒนาบริการรับ-ส่งพัสดุภัณฑ์ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ปัจจุบัน บขส. มีศูนย์รับส่งพัสดุภัณฑ์หลักอยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) และมีสาขา รับ -ส่ง พัสดุภัณฑ์ รวมถึงตัวแทน รับ-ส่ง พัสดุภัณฑ์ กระจายอยู่ทั่วประเทศ รวม 175 แห่ง

บขส.

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ทางไปรษณีย์ไทย จะเข้ามาช่วยสนับสนุน บขส. ในการขนส่งสินค้าจากสถานีต้นทาง และสถานีปลายทาง และในอนาคตจะมีการขยายความร่วมมือ ในการให้บริการขนส่งสินค้าไปยังผู้รับสินค้าต่อไป

ด้าน ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปณท. เปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่างไปรษณีย์ไทย และ บขส. จะเริ่มต้นในช่วงเดือนเมษายนนี้ โดยไปรษณีย์ไทย จะเป็นผู้นำยานพาหนะเข้าไปรับสิ่งของในสถานีขนส่งผู้โดยสารของ บขส. ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาพื้นที่บางส่วนให้เป็นศูนย์รับฝากพัสดุภัณฑ์

จากนั้น จะนำสิ่งของไปยังศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งนี้ มั่นใจว่าจะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับทั้งสองฝ่ายได้โดยเฉพาะจากกลุ่มเป้าหมายหลัก อย่างผู้ประกอบการรายย่อย ที่ค้าขายทั้งในช่องทางออนไลน์ ออฟไลน์ และแต่ละรายมีคู่ค้า ที่กระจายอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ

330616090 215960147646143 1663423644457401652 n

นอกจากนี้ ยังจะทำให้สินค้าถูกนำจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยลดความกังวลของสินค้าที่ค้างตามศูนย์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย โดยความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการดำเนินงานตามแนวคิด Sharing Economy ซึ่งทั้งไปรษณีย์ไทย และ บขส. นับเป็นผู้ที่มีความชำนาญด้านเส้นทาง มีเครือข่ายและยานพาหนะที่สามารถรองรับการขนส่งได้ทั่วประเทศ

ส่วนรูปแบบของการดำเนินงาน จะเป็นการส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จากศูนย์กระจายสินค้าหนึ่ง ไปยังศูนย์กระจายสินค้าอีกแห่งหนึ่ง หรือ ฮับทูฮับ (Hub to Hub) และการส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์จากศูนย์กระจายสินค้าหนึ่งส่งมอบให้กับผู้รับปลายทาง หรือ Hub to Door

ทั้งนี้ ในปี 2566 จะเริ่มต้นด้วย Hub to Hub ซึ่งเป็นการนำพัสดุภัณฑ์ที่ฝากส่งกับ บขส. มาส่งผ่านรถยนต์ขนส่งของไปรษณีย์ไทยไปยังศูนย์กระจายสินค้าต่าง ๆ ในภาพรวม คาดว่าจะมีปริมาณงานขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 350 ชิ้น/เที่ยว (ไป-กลับ) หรือ 10,500 ชิ้น/ เดือน สำหรับรถขนส่งของ บขส. 1 คัน ตอบโจทย์กลุ่มสินค้าประเภทเกษตรกรรม อาหาร สิ่งของขนาดพิเศษ อีคอมเมิร์ซ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo