Business

การตลาด 2564 ฝ่าคลื่นดิสรัป-ข้ามผ่านวิกฤติโควิด ก้าวสู่ New Normal

การตลาด 2564 ปรับรอบด้าน จากบทเรียนครั้งใหญ่ โควิด-19 พลิกโลก สร้างทั้งวิกฤติและโอกาสใหม่ โดยเฉพาะการปรับกลยุทธ์รับมือ New Normal

ผ่านพ้นปี 2563 เข้าสู่ปี 2564 ที่มาพร้อมกับสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ที่ยังคงอยู่ และเป็นขวากหนามสำคัญของภาพรวมเศรษฐกิจไทย รวมทั้งเป็นโจทย์สำคัญ ที่นักการตลาดต้องขบคิด พัฒนากลยุทธ์ เพื่อให้เข้ากับบริบทใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น สำหรับ การตลาด 2564 และก้าวข้ามวิกฤติสร้างความอยู่รอด ท่ามกลางปัจจัยลบ

ข่าวรอบปี63 ๒๑๐๑๐๑

เมื่อพิจารณาปัจจัยลบในปี 2564 นี้ ประเด็นหลักยังหนีไม่พ้นไวรัส โควิด-19 ที่เข้ามากระทบกับทุกภาคธุรกิจ รวมถึงผู้บริโภคที่ทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ วิถีใหม่ หรือ New Normal รวมไปถึงการขับเคลื่อนธุรกิจท่ามกลางกระแสดิสรัปชั่น โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล ดิสรัปชั่น ที่เข้ามามีผลต่อผู้บริโภคอย่างมากเช่นกัน

ในมุมของการทำตลาด เพื่อให้รับมือกับปัจจัยที่เกิดขึ้นข้างต้น ก็ต้องปรับตัวตามเช่นกัน ทั้งในด้านแนวความคิด การพัฒนากลยุทธ์ เครื่องมือการตลาด และสิ่งสำคัญคือ ต้องปรับให้ “เร็วและทัน”

ในมุมของเทคโนโลยี เมื่อผู้บริโภคใช้ชีวิตยึดโยงกับโลกออนไลน์ ธุรกิจก็ต้องปรับตัวตาม ด้วยการผนวกกลยุทธ์ของช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ เข้าด้วยกัน หรือ ออมนิชาแนล (O2O) เพื่อสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ไหลลื่น ผ่านแนวคิดว่า สองช่องทางนี้ไม่ได้แย่งลูกค้ากัน แต่มาเสริมแกร่งกันและกัน เช่น การสั่งของทางออนไลน์ แล้วมารับที่หน้าร้าน

ขณะที่ รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบันไอเอ็มซี (IMC Institute) สรุปแนวทางการทำตลาด เพื่อตอบสนองเทรนด์ ดิจิทัล ใน 4 ด้าน ดังนี้

technologysocial media ๒๑๐๑๐๑

  • การปรับกลยุทธ์ด้านการวางแผนสถาปัตยกรรมไอที

จากการรวมศูนย์ ให้เป็นการกระจาย อาจจะปรับให้ข้อมูลถูกเก็บไว้หลายที่ ทั้งพับบลิคคลาวด์ หรือที่ใดก็ได้ แต่ต้องทำให้บริการสร้างได้เร็ว ขณะเดียวกันก็ต้องกระจายเรื่องความปลอดภัย จากที่กระจุกแต่ในบางส่วนขององค์กร ก็จะต้องกระจายให้ครอบคลุมทั่วทุกส่วนขององค์กร

  • องค์กรควรปรับตัวคือ เรื่องไอที โดยเฉพาะการทำบิ๊กดาต้า

ทั้งนี้เพราะเทรนด์เทคโนโลยีสำคัญคือ “อินเทอร์เน็ตแห่งพฤติกรรม” ทำให้ธุรกิจต้องเก็บข้อมูลให้มากที่สุด ทั้งในส่วนของระบบ CRM และช่องทางโซเชียล และต้องให้สอดคล้องกับกฏหมาย เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสร้างโซลูชันที่ตอบทุกฝ่าย

  •  AI พลิกธุรกิจ

องค์กรควรลงมือ หรือมองแนวทางทำออโตเมชัน รวมถึงเตรียมความพร้อมในส่วนวิศวกร เพื่อปรับให้บริการองค์กรสามารถปรับหรือเพิ่มระบบ AI ให้ฝังอยู่ในบริการ

มือถือ

  • ออกแบบแอปพลิเคชั่น หรือบริการ ให้ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญ ที่จะทำให้การปรับตัวขององค์กรธุรกิจประสบผลสำเร็จ หนีไม่พ้น บุคลากรในองค์กร ที่ต้องสามารถพัฒนาทักษะ ให้สอดรับกับทิศทาง และเป้าหมายขององค์กรได้ โดยผู้บริหาร ต้องเริ่มปรับให้เห็นเป็นตัวอย่างก่อน

สำหรับเทรนด์การตลาดในปี 2564 ส่วนหนึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ความคล่องตัวเป็นเรื่องสำคัญ (agility)

จากเทรนด์ผู้บริโภค ที่จะจดจำแบรนด์ที่ปรับตัวเร็วและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดี จึงชัดเจนว่าการมี agility เป็นสิ่งจำเป็นต่อการบริหาร  และทำการตลาด โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยี ดิจิทัล เข้ามาใช้มากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้เร็วขึ้น

shutterstock 1041288574 1 e1607526785968

  • ให้ความสำคัญกับประสบการณ์และความรู้สึกของมนุษย์

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับวงจรชีวิตมนุษย์ การใช้เทคโนโลยี เพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างการผู้บริโภคกับแบรนด์ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะยึดโยงผู้บริโภคให้อยู้กับแบรนด์ ให้นานที่สุด

  • แบรนด์ต้องรักษาคำพูดเพื่อสร้างความไว้วางใจ

สำหรับ ผู้บริโภค ความไว้วางใจขึ้นอยู่กับสิ่งที่ลูกค้าให้ความสำคัญมากที่สุด อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เป็นสากลสำหรับคนในทุกบริบท คือ เมื่อสิ่งที่ได้รับไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ความไว้วางใจก็จะหายไป ดังนั้น  แบรนด์ต้องรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า หรือพูดง่าย ๆ คือ ทำให้ได้เหมือนที่โฆษณาไว้

  • ดึงลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วม

ยิ่งดึงลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์ได้ในระดับที่ลึกเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นประโยชน์และนำหน้าคู่แข่งมากเท่านั้น ซึ่งการมีส่วนร่วมของลูกค้านั้นมีหลายระดับ ทำได้ตั้งแต่ระดับทั่วไป อย่างการวิจารณ์ หรือคอมเมนต์ในโพสต์ทางโซเชียลมีเดียของแบรนด์ และรูปแบบที่กำลังเป็นที่นิยมคือการให้ลูกค้าที่เป็นผู้ใช้จริงมาเป็น “ทูตของแบรนด์” หรือเป็น “อินฟลูเอนเซอร์” แนะนำสินค้า ไปจนถึงการมีส่วนร่วมในเชิงลึกอย่างการให้ผู้บริโภคมาร่วมออกแบบหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์

การตลาด 2564

  • ผนึกพันธมิตรข้ามอุตสาหกรรม

โควิด-19 ทำให้เกิดความต้องการใหม่ๆ มากขึ้น ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็น ที่จะต้องหาพันธมิตรข้ามอุตสาหกรรมที่มีองค์ความรู้และความถนัดในด้านต่าง ๆ มาร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ดี โดยเฉพาะการมองหาโอกาสในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยคำนึงถึงการตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์

  • ยกระดับทักษะการตลาดเพื่อนำหน้าคู่แข่ง

โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ภาคธุรกิจ ต้องยกระดับทักษะทางการตลาด เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว จะทำให้บริษัทแตกต่างจากคู่แข่งและนำหน้าคู่แข่งได้

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวทางการพัฒนาองค์กร และแบรนด์ เพื่อก้าวข้ามผ่านวิกฤติ  และการเปลี่ยนแปลงที่ยังคงเกิดขึ้นในปีนี้ สิ่งสำคัญคือ การมองเทรนด์ให้ออก และพร้อมปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อก้าวให้ทันโดยไม่ตกขบวน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo