Business

อัพสกิลบุคลากรด้าน ดิจิทัล อาหาร ท่องเที่ยว ผลิตแรงงาน ป้อนตลาดอีอีซี

ผลิตแรงงาน ป้อนตลาดอีอีซี หลังโควิด-19 มรภ.ราชนครินทร์ ผนึกภาคธุรกิจ อัพสกิลบุคลากรด้านดิจิทัล-อาหารและท่องเที่ยว คาดตำแหน่งงานถึง 475,000 ตำแหน่ง

รศ.ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ในฐานะผู้บริหารโครการสนับสนุนและส่งเสริมทักษะบุคคลากรรองรับการเติบโตในพื้นที่ EEC เปิดเผยว่า จากความต้องการแรงงานในพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทีคาดว่า จะมีตำแหน่งงานที่ต้องการกำลังคนถึง 475,000 ตำแหน่ง จึงเกิดแนวคิดที่จะ ผลิตแรงงาน ป้อนตลาดอีอีซี

ผลิตแรงงาน ป้อนตลาดอีอีซี

ล่าสุด มรภ.ราชนครินทร์ ได้จับมือกับบริษัท ไอเอสเอส คอนซัลติ้งก์ และ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOUX ระหว่างภาคการศึกษาและกลุ่มธุรกิจดิจิทัล และภาคธุรกิจโรงแรม ในโครงการสนับสนุนและส่งเสริมทักษะบุคคลากรรองรับการเติบโตในพื้นที่ อีอีซี เพื่อ สนับสนุนและส่งเสริมทักษะที่พึงประสงค์ในการทำงานรองรับการเติบโตในพื้นที่ อีอีซี

ทั้งนี้ เพื่อเสริมทัพการพัฒนาทักษะความรู้ และศักยภาพ ในการพัฒนาผลิตบุคลากร ตอบโจทย์และตรงต่อความต่อภาคธุรกิจ รวมทั้งรองรับการเติบโต ของอุตสาหกรรมภาคบริการ ที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย New S curve ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ เพื่อพัฒนาศักยภาพบัณฑิตที่จะก้าวไปสู่บุคลากรในแต่ละสายอาชีพที่อัดแน่นด้วยคุณภาพเทียบมาตรฐานสากล

การดำเนินงานโครงการดังกล่าว เป็นการดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยจุดประสงค์ พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น สำหรับแรงงานในการพัฒนาด้าน สำนักงานดิจิทัล ด้านอาหารและการโรงแรม เนื่องจากปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการยกระดับอุตสาหกรรม ด้านอาหารและการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

สำหรับกำลังแรงงานที่เข้าร่วมอบรมดังกล่าว ได้มีมุมมอง และมีแนวคิดในการปรับตัวสู่ธุรกิจ ทั้งด้านคุณภาพ ด้านประสิทธิภาพ และความเป็นนานาชาติ เพื่อให้นำสิ่งที่ได้จากการ Reskill-Upskill- New skill courses มาพัฒนากับสถานประกอบการที่กำลังสร้างฐานการผลิตในระดับนานาชาติ

ผลิตแรงงาน ป้อนตลาดอีอีซี

อาจารย์ธรรมรัตน์ สิมะโรจนา ผู้อำนวยการส่งเสริมวิชาการ ผู้ดำเนินการโครงการ กล่าวเสริมว่า หลักสูตรการพัฒนาทักษะความรู้ และศักยภาพ ในการพัฒนาผลิตบุคลากรด้านดิจิทัล  เป็นการเตรียมความพร้อม และระดมศักยภาพของบุคลากร โดยการพัฒนาความร่วมมือกับสถานประกอบการ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ด้านธุรกิจดิจิทัล เพื่อมุ่งเน้นการสร้างแพลตฟอร์มการพัฒนาบุคลากรและมาตรฐานระดับสากล

นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งศูนย์ทดสอบสมรรถนะด้านดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อประเมินสมรรถนะดิจิทัล ให้กับบุคลากรในภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งการให้คำปรึกษา ในการพัฒนาดังกล่าว สู่การยกระดับให้กำลังแรงงาน ยุคการเปลี่ยนแปลง ในภูมิภาคตะวันออก

ขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบ ไปทุกภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก แต่ประเทศไทย ก็สามารถควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้เป็นอย่างดี นับเป็นปัจจัยช่วยสร้างความเชื่อมั่น และสร้างโอกาสด้านการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะใน อีอีซี ซึ่งคาดการณ์ ว่าจะขยายตัวและเติบโตอย่างมากหลังวิกฤติ

จากผลสำรวจของ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ(EEC) 3 จังหวัด ระบุว่ามีตำแหน่งงานที่ต้องการกำลังคนถึง 475,000 ตำแหน่ง ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทด้านการพัฒนาและสร้างบุคลากรเห็นว่าหัวใจสำคัญ คือ ต้องพัฒนาและเพิ่มเติมทักษะอยู่เสมอ เพื่อเตรียมความพร้อมป้อนบุคคลากรคุณภาพรองรับการเติบโตหลักฟื้นสู่ภาวะปกติ

413494

การทำ MOU ร่วมกันครั้งนี้ เป็นร่วมมือกันพัฒนาบัณฑิต ให้เป็นบัณฑิตเป็นมืออาชีพ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอีอีซี รวมทั้งสามารถทำงานในโรงแรมแบบ New normal food safety และ green hotel เพื่อรักษา สิ่งแวดล้อม

ในด้านดิจิทัล เป็นการฝึกอบรม ปูพื้นฐานความเข้าใจการทำงาน เข้าสู่ระบบดิจิทัล ในทุกภาคส่วนขององค์การ ซึ่งจะเน้นการบริหารทางด้านทรัพยากรมนุษย์แบบดิจิทัล การเงินและการบัญชีดิจิทัล รวมถึงการใช้ดิจิทัล ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้วิทยากรจากบริษัท ระดับโลก

ทางด้านดิจิทัล ซึ่งได้เชิญวิทยากรจากบริษัทฝึกอบรมในเครือของ SAP ได้แก่บริษัท ไอเอสเอส คอนซัลติ้งก์ มาเป็นผู้ฝึกอบรมในโครงการแ ละในส่วนการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านอาหารและการท่องเที่ยวได้รับความร่วมมือจากโรงแรมในเครือไมเนอร์ จำนวน 502 แห่งทั่วโลก อาทิ โรงแรม Avani resort พัทยา ในการสนับสนุนสถานที่และบุคลากรของโรงแรมเป็นผู้ฝึกอบรมทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมอบรมในโครงการฯ แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่

1. แรงงานในภาคธุรกิจที่ต้องการพัฒนาบุคลากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 4 หลักสูตร ๆ ละจำนวน 360 คน ครอบคลุมในพื้นที่ 3 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 1,440 คน กลุ่มที่

อีอีซี

2. เครือข่ายความร่วมมือร่วมกับกระทรวงแรงงานและสถานประกอบการชั้นนำ

“มหาวิทยาลัยเล็งเห็นว่า การพัฒนาในครั้งนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาแนวใหม่ที่ตอบสนองสถานประกอบการที่เป็นฝ่ายผลิตให้มีกำลังแรงงานที่มีสมรรถนะเป็น “viral transformer” ที่สามารถกระจายความเข้มแข็งด้านศักยภาพและพร้อมผนึกกำลังที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคตได้”อาจารย์ธรรมรัตน์ กล่าว

นายวิศิษฐ์ วิระยากรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเอสเอส คอนซัลติ้งก์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในฐานะบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการเทคโนโลยีและการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางธุรกิจ มีความยินดีในการเข้าร่วมเป็นหนึ่งในโครงการฯ นี้ เนื่องจากจะได้นำองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ทักษะให้กับบุคลากร เพื่อนำไปต่อยอดในสายงานและธุรกิจที่กำลังจะเติบโตโในพื้นที่เขต อีอีซี

ด้านนายศุภดิษฐ์ มณีรัตน์จรัสศรี ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มหาชน และโรงแรม อวานี พัทยา รีสอร์ท กล่าวว่า ในฐานะองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจอาหารและโรงแรมระดับโลก เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทักษะความรู้ ศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิท-19 ในพื้นที่จังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ให้พัฒนาการบริการให้เข้าสู่มาตรฐานระดับโลก และมีการจัดการแบบ new normal hygiene และ food save

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo