Economics

หนุน ‘เขตปลอดอากรอีคอมเมิร์ซ’ บูม ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง – อสังหาฯ ‘อีอีซี’

หลังจากวันที่ 28 ตุลาคม 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกรมศุลกากร ที่ 204/2562 เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากร ณ เขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี เชื่อว่าจะส่งอานิสงส์ต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องให้เติบโตตามไปด้วย

นายกรณ์กวินท์ พีระเดชไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท พร็อพทูมอร์โรว์ จำกัด เปิดเผยในงานเสวนา “ชำแหละประกาศกรมศุลกากร อีคอมเมิร์ซ ในอีอีซี: ผลกระทบภาคอสังหาฯ ไทย” ว่า ถือเรื่องดีที่รัฐบาลต้องการเพิ่มแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ ประเทศผ่านการลงทุนต่างๆ ของภาคเอกชน ทั้งที่มาจากการลงทุนต่างประเทศและจากนักลงทุนภายในประเทศ

8

สำหรับการลงทุนที่เกิดขึ้น จะช่วยให้เกิดการก่อสร้าง การจ้างงาน การสั่งสินค้า ซึ่งการเกิดฟรีเทรดโซนในอีอีซี อาจเป็นโอกาสของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เห็นได้จากพื้นที่ อีคอมเมิร์ซ พาร์ค ที่ประสบความสำเร็จในประเทศจีนมีมากกว่า 1,000 แห่ง กลายเป็นแหล่งกระจายรายได้ให้ชุมชน สินค้าหรือบริการเหล่านั้นให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น หลายรายเติบโตเป็นผู้ประกอบการระดับโลก เช่น อาลีบาบา, หัวเว่ย, ออปโป้, เสี่ยวหมี่ ที่ล้วนแต่เริ่มต้น จากการเป็นเอสเอ็มอีใน อีคอมเมิร์ซ พาร์ค

ทั้งนี้หากพิจารณาการขยายการลงทุนของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จากส่วนกลาง (กทม.) หรือจากผู้ประกอบการท้องถิ่น สะท้อนภาพได้ว่าอสังหาฯ ในพื้นที่อีอีซี เป็นทำเลที่มีอัตราการเติบโตในอัตราที่ดีโดยเฉพาะชลบุรี ขณะที่ระยองเป็นทำเลศักยภาพ รวมถึงฉะเชิงเทราที่มีโอกาสขยายตัวในอนาคต

นายกรณ์กวินท์ พีระเดชไพศาล
กรณ์กวินท์ พีระเดชไพศาล

 

“ที่น่าจับตามองคือ หลังจากที่ อาลีบาบา กรุ๊ป บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ลงทุนก่อสร้างโครงการสมาร์ท ดิจิทัล ฮับ ในอีอีซี มูลค่าลงทุน 11,000 ล้านบาท ก็จะเกิดการจ้างงานมากขึ้น
มีการถ่ายโอนด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น โดยส่วนตัวมองเป็นเชิงบวกต่อประเทศไทยและเชิงบวกต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์”นายกรณ์กวินท์ กล่าว

ด้านนายทัศไนย เหมือนเสน กรรมการบริษัท ไทยแลนด์ อีบิสซิเนส เซ็นเตอร์ (TeC) และอุปนายกสมาคมดิจิทัลไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า อีอีซี เป็นการเปิดการค้าไทยกับต่างประเทศ และสร้าง e-Trade cross border possibility โดยเฉพาะจีน หากสามารถดึงการลงทุนเพื่อเรียนรู้โนวฮาวในการพัฒนาสินค้าและบริการของไทยให้ดีขึ้น ก็จะเป็นการเปิดโอกาสส่งออกไปต่างประเทศทั่วโลก

ทั้งนี้ ประเทศจีน ถือเป็นตลาดยุทธศาสตร์ของไทย และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การสร้างอีคอมเมิร์ซ ฟรีเทรดโซน จะทำให้เกิดการเรียนรู้ทักษะด้านดิจิทั, อีคอมเมิร์ซ และเทคโนโลยี เพื่อสร้างแรงงานที่มีศักยภาพในอนาคต รวมถึงรองรับการเปลี่ยนแปลงขององค์กรให้สอดรับกับยุคดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น

คุณปฐม อินทโรดม3
ปฐม อินทโรดม

ขณะที่นายปฐม อินทโรดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสยามไอซีโอ จำกัด และกรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยยีงขาดดีมานด์ในการสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นอาวุธหลักในการแข่งขันทางธุรกิจใน 1-2 ปีข้างหน้า ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีแผนธุรกิจทำสมาร์ทเนชั่น, สมาร์ทซิตี้ ยกเครื่องระบบโลจิสติกส์ ซัพพลายเชน ฯลฯ ซึ่งนั่ถือเป็น การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี

ดังนั้น ทางออกของผู้ประกอบการไทยคือ ต้องเร่งพัฒนา อีโคซิสเต็มของตัวเองขึ้นมาด้วย โดยหน่วยงานรัฐต้องร่วมมือกับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ขณะที่บริษัททั่วไปก็จำเป็นต้องมองหาโอกาสในธุรกิจจากอีอีซี ด้วยการเรียนรู้จากธุรกิจข้ามชาติโดยเฉพาะจีนที่เป็นกำลังสำคัญในอีอีซี ซึ่งมีความพร้อมทั้งในการบริหาร การจัดการ เงินทุน และเทคโนโลยี

ด้านผลกระทบจากประกาศกรมศุลกากร ฉบับนี้ นายปฐม ให้ความเห็นว่า การปรับตัวของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย เน้นการค้าขายผ่านโซเชียล คอมเมิร์ซ ซึ่งเคยชินอยู่กับการซื้อมา ขายไป และไม่ก่อให้เกิดความเข้มแข็งในการทำธุรกิจในระยะยาว

IMG 6511

สิ่งสำคัญคือ ผู้ประกอบการต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ ด้วยการเร่งพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงใจลูกค้า มีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างแบรนด์เป็นของตัวเองอย่าพึ่งพิงเจ้าของสินค้าจากจีนแต่เพียงอย่างเดียว เพราะแม้จะขายดีในวันนี้แต่จีนย่อมหาช่องทางขายตรงเข้าในประเทศไทยแน่นอนในอนาคต

ดร. เฉลิมรัฐ นาควิเชียร ประธานบริหาร จีเอ็มโอ – ซีคอม เน็ตดีไซน์ ในเครือ จีเอ็มโอ อินเทอร์เน็ต กรุ๊ป ยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น กล่าวว่า การออกประกาศการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ณ เขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ อีอีซี ถือว่าสอดคล้องและสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมในดิจิทัลแทนการพัฒนาอุตสาหกรรมพึ่งพาแบบดั้งเดิม และมีส่วนช่วยดึงการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยอีกด้วย

ในส่วนของ จีเอ็มโอ อินเทอร์เน็ต กรุ๊ป เอง ได้เข้ามาลงทุนในไทยโดยใช้เม็ดเงินลงทุนไปแล้วประมาณ 4,000 ล้านบาท พร้อมทั้งวางเป้าหมายใช้ประเทศไทยเป็นไปฐานในการผลิตซัพพอร์ตไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีประชากรรวมกัน 600-700 ล้านคน

Avatar photo