Technology

เด็กไทยยิ่งออนไลน์มากเท่าไร ยิ่งโดน บูลลี่ มากขึ้นเท่านั้น

ดีแทค เผยเด็กไทยเสี่ยงเผชิญโดนบูลลี่สูงขึ้น เหตุใช้เวลาออนไลน์มากขึ้น เฉลี่ย 5 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยพบข้อความสร้างความเกลียดชัง เฉลี่ย 39 ข้อความต่อนาทีบนโซเชียลมีเดีย

นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่า โลกออนไลน์ของไทย ประกอบด้วยข้อความที่เกี่ยวข้องกับการบูลลี่ แกล้ง ล้อ และเหยียดราว 700,000 ข้อความหรือเฉลี่ย 39 ข้อความต่อนาที และมีการแชร์ต่อผ่านการรีทวีต ไลก์ แชร์ อีกราว 20 ล้านรายการ

bullying 3362025 1280

ผลสำรวจดังกล่าว มาจากการร่วมมือระหว่าง ดีแทค กับ Wisesight จากการศึกษาผ่าน Social listening tool โดยรวบรวมข้อความต่างๆ ทางโซเชียลมีเดียทั้ง เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม, ยูทูบ, ฟอรั่ม และ บล็อกข่าวในประเทศ ช่วงเดือน พ.ย. 2561-ต.ค.2562 พบว่า

ทั้งนี้ พบว่า ลักษณะการบูลลี่ ที่ปรากฎในโซเชียลมีเดียของไทยนั้น 36.4% เป็นการบูลลี่ด้านรูปลักษณ์ ตามด้วย 31.8% เป็นการบูลลี่ทางเพศวิถี และ 10.2% เป็นการบูลลี่ทางความคิดและทัศนคติ ที่เหลือเป็นการบูลลี่ด้านอื่นๆ เช่น เชื้อชาติ ศาสนา บุคลิกลักษณะนิสัย รสนิยมความชอบ ฐานะทางการเงิน และครอบครัว เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังพบว่าการแกล้งกันทางออนไลน์นั้นส่วนมากพบในวงการ “การศึกษา” ซึ่งสามารถเกิดขึ้นตั้งแต่ระดับ “อนุบาล” ไปจนถึงระดับมัธยม โดยมีเพื่อนเป็นคนที่ปรากฏในข้อความที่พูดถึงการบูลลี่มากที่สุด

dtac 02 copy

อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าว มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลที่ตั้งค่าส่วนตัวของแพลตฟอร์ม ทำให้ข้อมูลที่รวบรวมนี้ อาจไม่ใช่ปริมาณข้อความที่เกี่ยวข้องกับการบูลลี่ทั้งหมดบนโซเชียลมีเดีย

อีกทั้งข้อจำกัด ทางด้านภาษาและเทคโนโลยี ข้อมูลนี้ จึงอาจไม่ครอบคลุมข้อความ ที่ใช้คำประชดประชันหรือว่าร้ายในบริบทเฉพาะได้ และมีความเป็นไปได้ที่จะถูกตีความด้วยความหมายที่ต่างออกไป

จากตัวเลขดังกล่าว สะท้อนได้ว่า โซเชียลมีเดียของไทยในทุกแพลตฟอร์ม ล้วนประกอบไปด้วย ข้อความที่สร้างความเกลียดชัง ผ่านการแกล้งกันทางออนไลน์ ซึ่งเด็กและเยาวชน มีความเสี่ยงอย่างมาก ทั้งการเป็นผู้แกล้งและผู้ถูกกลั่นแกล้ง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการสร้างความแข็งแรงทางดิจิทัล (Digital Resilience) ให้สามารถเผชิญและรู้เท่านั้นต่อปัญหา

dtac 01 copy

สำหรับกลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืนของ ดีแทค สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ Responsible business หรือการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ส่วนอีกกลยุทธ์คือ Empowering societies ซึ่งเป็นการนำความเชี่ยวชาญและทรัพยากรทางเทคโนโลยีดิจิทัล มาสร้างสรรค์ และพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

หนึ่งในนั้น คือ โครงการ dtac Safe Internet ซึ่งปีนี้ดำเนินเข้าสู่ปีที่ 5 โดยมีความมุ่งหวังในการสร้างทักษะและภูมิคุ้มกันให้เด็กสามารถท่องโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย เหมาะสม และสร้างสรรค์ โดยประกอบไปด้วย 3 กลยุทธ์สำคัญ

1. งานพัฒนาศักยภาพบุคลากร หรือ Capacity building เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์ความรู้และจัดอบรมแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นครูอาจารย์ ผู้ปกครอง เด็กและเยาวชน

2. งานผลักดันนโยบายสาธารณะ หรือ Advocacy and public policy เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและครอบคลุมองคาพยพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ

dtac 03 copy

3. งานสื่อสารสาธารณะและวิจัย หรือ Thought leadership and communication เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนและสังคมต่อปัญหาการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ ตลอดจนการให้ความรู้ เปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อสังคม

ขณะที่ในปีนี้ ได้จัดทำแคมเปญ Why We Bully เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อสังคมในประเด็นดังกล่าว เนื่องในวันต่อต้านการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์สากล (Stop Cyberbullying Day) 19 มิ.ย. 2563 สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ http://dtac.co.th/s/WhyWeBully

ขณะเดียวกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์อย่างยั่งยืน ซึ่งมักเกิดขึ้นในกลุ่มนักเรียนเพศทางเลือก ดีแทค จึงได้ร่วมมือกับ องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย หน่วยงานภาคประชาสังคมด้านสวัสดิภาพเด็ก ในการพัฒนาและอบรมหลักสูตร Gender diversity to stop cyberbullying

ทั้งนี้ จะเน้นเนื้อหาหลักสูตรซึ่งพัฒนาจากองค์ความรู้วิถีทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออกทางเพศ และลักษณะเพศ หรือ SOGIESC ซึ่งเป็นแนวคิดในการอธิบายเพศสภาพ เพื่อสร้างความเข้าใจถึงความแตกต่างทางเพศของแต่ละบุคคล ให้เกิดทัศนคติที่เหมาะสม และนำไปสู่ทัศนคติ และการแสดงออกที่เคารพต่อบุคคลอื่นในสังคมที่มีความหลากหลาย โดยปัจจุบัน ได้จัดอบรมแล้วในหลายโรงเรียนของจังหวัดภาคเหนือของไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo