Business

ถอดรหัสความสำเร็จแบบ ‘ยูนิโคล่ ‘

เมื่อพูดถึงแบรนด์เสื้อผ้าสมัยใหม่ที่ขายความ “เรียบง่าย ทันสมัย ราคาเข้าถึงได้” นั้นคงเป็นคำจำกัดความที่หลายคนมอบให้กับ Uniqlo (ยูนิโคล่)  ยูนิโคล่ก่อตั้งขึ้นในญี่ปุ่น เมื่อปี 1949 โดยชายผู้ชื่อ “ทาดาชิ ยานาอิ” ซึ่งปัจจุบันเขาคือมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของญี่ปุ่น ก่อนที่ในปี 2005 บริษัท Fast Retailing จะเข้ามาซื้อกิจการ เปลี่ยนยูนิโคล่จากธุรกิจครอบครัว กลายเป็นบริษัทมหาชนเต็มตัว

ทาดา
ทาดาชิ ยานาอิ

เพียงไม่นานยูนิโคล่ ก็เริ่มได้รับความนิยมอย่างสูง ขยายสาขาทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศแบบรวดเร็ว โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2 พันแห่งทั่วโลกแล้ว

วันนี้ยูนิโคล่กลายเป็น Global Brand ที่มีมูลค่าสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท แซงหน้าคู่แข่งทั้ง ZARA, H&M หรือ GAP ได้สำเร็จในด้านแบรนด์ที่เป็นที่จดจำของลูกค้า และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ได้แบบลงตัว

BUS Uniqlo 1554036693837 16a30b4138e large

อะไรคือปัจจัยความสำเร็จแบบยูนิโคล่

ยูนิโคล่ได้กลายเป็นแบรนด์ที่หลายคนหลงใหล และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าของคนทั่วโลกแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

ทั้งที่เสื้อแบรนด์นี้ ไม่เคยเลยสักครั้งที่จะเอาชื่อยี่ห้อของตัวเอง พิมพ์ลงบนเสื้อ หรือเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดของลายสินค้าเลย โดยเราจะรู้ว่าเป็นสินค้ายูนิโคล่ก็ต่อเมื่อพลิกดูป้ายยี่ห้อที่ติดไว้ด้านในเท่านั้น แล้วอะไรคือปัจจัยความเร็จนั้น มาดูกัน

 1. ปรัชญา “LifeWear”

แนวคิดเริ่มต้นที่ ทาดาชิ ยานาอิ ตั้งใจไว้คืออยากให้สินค้าของเขาเป็นเสื้อผ้าที่ทุกคนเข้าถึงได้ โดยยึดมั่นว่าลูกค้าของเราคือ “ทุกคน”

ดังนั้น การออกแบบสินค้ายูนิโคล่ จึงเน้นความธรรมดา เรียบง่าย หยิบใส่ได้หลายโอกาส เพื่อนำไปมิกซ์กับอะไรก็ได้ ซึ่งความธรรมดานี่แหละ เป็นจุดเด่นของยูนิโคล่อย่างไม่น่าเชื่อ มีข้อมูลที่น่าสนใจคือลูกค้าของยูนิโคล่กว่าครึ่งเป็นผู้ชาย ต่างจากแบรนด์แฟชั่นอื่นๆ ที่ส่วนมากจะมีแต่ลูกค้าผู้หญิงมากกว่า

2. สร้าง Innovation ให้สินค้า

ภายใต้ความธรรมดา ยูนิโคล่ กลับเป็นแบรนด์เสื้อผ้าที่นำเทคโนโลยีมาใช้สม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และชูจุดขายเรื่องนวัตกรรมตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น DRY-EX,  HeatTech, BlockTech, Ultra Light Down, Heattech เหล่านี้คือนวัตกรรมของยูนิโคล่ทั้งหมด หรือเสื้อผ้าระบายความร้อนอย่าง AIRism ซึ่งได้รับความนิยมมากในไทย

3. ฉีกกฏการทำโปรโมชั่นแบบเดิม

สินค้าแฟชั่นทั่วไปมักจะมีเทศกาลลดราคาเป็นช่วงๆ เช่น กลางปีและปลายปี แต่ยูนิโคล่ไม่ทำแบบนั้น พวกเขาเลือกใช้วิธีจัดโปรโมชั่นตลอดเวลาแทน สำหรับเพิ่มความถี่ในการเข้าร้านของลูกค้า ด้วยการสับเปลี่ยนสินค้ามาลดราคาในแต่ละสัปดาห์ แทนที่จะลดราคาครั้งใหญ่ทีเดียว เพราะเดี๋ยวลูกค้าจะไปรอซื้อแค่ช่วงปลายปี อีกอย่างสังเกตเลยว่าในร้านยูนิโคล่ไม่มีป้าย “SALE” เลย แต่เลือกใช้คำว่า “Special offer”   

Uniqlo 1b

4. เพิ่มช่องทางขายทั้งออฟไลน์และออนไลน์

ยูนิโคล์พยายามออกแบบประสบการณ์เลือกซื้อสินค้าในร้านให้เหมือนร้านสะดวกซื้อ โดยขยายสาขาให้เข้าใกล้ลูกค้ามากที่สุด ประกอบด้วยร้าน 2 ลักษณะ คือ เปิดช้อปในศูนย์การค้า และ “Roadside Store” ร้านในทำเลติดถนน

นอกจากนี้ จะเห็นว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับ Online Shopping มาก เนื่องจากสามารถปิดช่องว่างในโลเคชั่นที่สาขายังไม่สามารถเข้าถึงได้ แถมเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสเข้าถึงลูกค้าแบบ 24 ชั่วโมง

ยูนิโคล่ในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย ยูนิโคล่ เข้ามาเปิดตลาดตั้งแต่ปี 2554 มีสาขาแรกที่เซ็นทรัลเวิล์ด ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศ ปัจจุบันมีทั้งหมด 49 สาขา

555555555
ขอบคุณภาพ: Uniqlo Central world

ผลประกอบการ ยูนิโคล่ (ประเทศไทย)

ปี 2559 รายได้ 6,889 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.66% กำไร 760 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 124.85%

ปี 2560 รายได้ 8,828 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.14%  กำไร 1,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 97.36%

ปี 2561 รายได้ 10,168 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.17% กำไร 1,971 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  31.40%

16387220 1243523925734936 5437975296627696758 n

เห็นการเติบโตแบบนี้ ไม่แปลกเลยที่ยูนิโคล่จะเลือกไทยเป็นชาติแรกในอาเซียน สำหรับการเปิดสาขาแบบ Roadside Store ซึ่งว่ากันว่าความแข็งแรงของแบรนด์ยูนิโคล่ในไทย ประสบความสำเร็จเป็นรองเพียงญี่ปุ่นและจีนเท่านั้นเอง 

Avatar photo