World News

ทำความเข้าใจ ‘โรคประจำถิ่น’ ก่อนไทยปรับสถานะ ‘โควิด’

ในการก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของการระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัส “โควิด-19” หลายประเทศได้เริ่มพิจารณาจะจัดให้โรคติดต่อชนิดนี้เป็น “โรคประจำถิ่น” กันแล้ว รวมถึง “ไทย” ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศแผน เตรียมปรับสถานะของโรคระบาดนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป 

โรคประจำถิ่นหมายความว่าอย่างไร จะส่งผลอย่างไรต่อชีวิตประจำวันของผู้คน มีดินแดน หรือประเทศใดบ้าง ที่ดำเนินการในเรื่องนี้ไปแล้ว มาหาคำตอบกัน

โรคประจำถิ่น

“โรคประจำถิ่น” หมายความว่าอย่างไร

โรคที่จะถือว่าเป็นโรคประจำถิ่นได้นั้น จะต้องเป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสามารถคาดการณ์การเกิดขึ้นได้ในเขตภูมิศาสตร์หนึ่ง

พอล ฮันเตอร์ ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยอีสต์ แองเกลีย ในอังกฤษ ระบุว่า โรคประจำถิ่นส่วนใหญ่จะแตะจุดที่เรียกว่า “จุดสมดุลที่มีโรคประจำถิ่น” (endemic equilibrium) ซึ่งหมายความว่า เมื่อดูระดับยอดผู้ติดเชื้อ ก็จะเห็นเป็นเส้นกราฟแนวราบคงที่ มากกว่าเส้นกราฟที่พุ่งสูงมาก และแนวโน้มนี้ยังสะท้อนให้เห็นในอัตราการเข้าโรงพยาบาล และการเสียชีวิตด้วย

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มดังกล่าวอาจมีขึ้นและลงได้ โดยเฉพาะเมื่อโรคเกิดขึ้นตามฤดูกาล โดยจะพบยอดผู้ติดเชื้อมากขึ้นในช่วงฤดูหนาว ซึ่ง ฮันเตอร์ บอกว่า โรคประจำถิ่นไม่ได้หมายความว่า จะมีความรุนแรงน้อยกว่าเสมอไป แต่เป็นโรคที่เกิดขึ้นในชุมชนเป็นประจำ และมีแนวโน้มจะคงอยู่เช่นนั้นต่อไป

ตัวอย่างหลักเกณฑ์การปรับ “โควิด” เป็น “โรคประจำถิ่น” ของไทย

  • ผู้ติดเชื้อรายใหม่ไม่เกิน 10,000 รายต่อวัน
  • อัตราป่วยเสียชีวิตไม่เกิน 1 ต่อ 1,000 คน
  • สร้างเสริมให้คนมีภูมิต้านทานจากวัคซีน ในกลุ่มเป้าหมายเสี่ยงสูงรับเข็ม 2 ได้ 80 %
  • ประสิทธิภาพการดูแลรักษาพยาบาล

โรคประจำถิ่น

ไร้แววประกาศทางการ ให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น

บีบีซี รายงานว่า แม้เมื่อเดือนมีนาคม 2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) จะประกาศให้การระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นการระบาดใหญ่ของโลก แต่จนถึงขณะนี้ WHO ก็ยังไม่มีแนวโน้มที่จะปรับสถานะ ของโควิด ให้เป็นโรคประจำถิ่น

ในมุมมองของ WHO นั้น เห็นว่า ยังอาจเร็วเกินไปที่จะประกาศ เพราะโควิดยังคงกลายพันธุ์ได้เร็ว ทำให้มีเพียงการประกาศให้โรคนี้เป็น “ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ” (public health emergency of international concern หรือ PHEIC) แทน

ฮันเตอร์ ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยอีสต์ แองเกลีย กล่าวว่า เมื่อ WHO ประเมินแล้วว่า บริการสาธารณสุขทั่วโลกไม่อยู่ในความเสี่ยงจากยอดผู้ติดโควิดในระดับสูงอีกต่อไปแล้ว ก็จะมีการยกเลิกประกาศ PHEIC แต่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในปีนี้

เขา บอกว่า อนามัยโลกจะต้องแน่ใจเสียก่อนว่า บริการด้านสาธารณสุขทั่วโลก จะรอดพ้นจากความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว ก่อนที่จะยกเลิกการประกาศ PHEIC

โรคประจำถิ่น

3 ประเทศ 1 รัฐ ปรับสถานะโควิดหลุดการระบาดใหญ๋ 

จนถึงขณะนี้ มีบางประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อสูง ได้มีการผ่อนคลาย และมีการจัดการในรูปแบบโรคประจำถิ่นได้แก่ สเปน อินเดีย และบางรัฐในสหรัฐอเมริกา เช่น รัฐแคลิฟลอเนียร์ รวมถึง จีน ที่ก่อนหน้านี้มีมาตรการโควิดเป็นศูนย์ และมีแนวโน้มจะยกเลิก และใช้มาตรการ Living With Covid-19 หรือการอยู่กับโควิด-19 ให้ได้

แพร่ระบาด โดยตั้งเป้าที่จะประกาศยุติการระบาดใหญ่ และกลายเป็นโรคประจำถิ่น รวมถึง ประเทศเพื่อนบ้านของไทย อย่าง มาเลเซีย ที่กำหนดแผนให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น ตั้งแต่เดือนเมษายนนี้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo