World News

นักวิทย์ พบ ‘ยีนมนุษย์’ ป้องกัน ‘ไวรัสไข้หวัดนก’ ได้

นักวิทยาศาสตร์ ในสกอตแลนด์ พบ ยีน BTN3A3 ของมนุษย์ มีประสิทธิภาพในการป้องกัน การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในคนได้ 

คณะนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยไวรัส เอ็มอาร์ซี มหาวิทยาลัยกลาสโกลว์ ในสกอตแลนด์ เปิดเผยเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า จากการศึกษายีนในร่างกายมนุษย์หลายร้อยตัว โดยเปรียบเทียบพฤติกรรมของยีน ในขณะเกิดการติดเชื้อ ทั้งที่เป็นเชื้อไวรัสตามฤดูกาลของมนุษย์ หรือไวรัสไข้หวัดนก พบว่า ยีนที่มีชื่อว่า BTN3A3 มีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสไข้หวัดนกส่วนใหญ่ ที่ติดต่อจากนกสู่คน

shutterstock 1669326868

การศึกษาพบว่า ยีนตัวนี้มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน โดยพบได้ในปอด และทางเดินหายใจส่วนบน นักวิจัยตั้งชื่อเล่นยีนดังกล่าวว่า “บี-ฟอร์ซ” (B-force) ซึ่งคาดว่าจะมีการศึกษาจริงโดยทันที หากพบกรณีของไข้หวัดนกที่นักวิจัยจะสามารถเก็บตัวอย่างนกที่ป่วย ซากสัตว์ หรืออุจจาระ เพื่อค้นหาว่าไวรัสสามารถเอาชนะยีน BTN3A3 ได้หรือไม่

และพิจารณาว่าไวรัสพวกนี้มีแนวโน้มมากหรือน้อย ที่จะกระจายเข้าหามนุษย์ ถ้าหากพบว่าไวรัสสามารถเอาชนะยีน BTN3A3 ได้จริง ก็ต้องมาคิดถึงมาตรการที่เข้มงวดกว่านี้เพื่อป้องกัน

การศึกษายังพบว่าไวรัสไข้หวัดนก และไข้หวัดหมูบางชนิด มีการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม ที่ช่วยให้หลบหนีการขัดขวางของยีน BTN3A3 จนไปแพร่เชื้อสู่คนได้ โดยราว 50% ของสายพันธุ์ไข้หวัดนกเอช5เอ็น1 ที่แพร่ระบาดทั่วโลกจนถึงปี 2566 ยังต้านทานต่อยีน BTN3A3 นี่จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ

ทั้งนี้ ไวรัวไข้หวัดนกส่วนใหญ่แพร่กระจายในนกป่า เช่น เป็ดและนกนางนวล และยังสามารถแพร่เชื้อไปยังนกที่เลี้ยงในฟาร์ม และสัตว์ปีกในครัวเรือน เช่น ไก่ ไก่งวง และนกกระทาได้ ซึ่งแม้ว่าไวรัสจะส่งผลกระทบต่อนกเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็สามารถแพร่เข้าสู่ผู้ล่านกได้ โดยในบางกรณีนั้น จะเป็นมนุษย์ที่สัมผัสใกล้ชิดกับนก หรือสัตว์ปีกที่ติดเชื้อ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo