World News

แบงก์ยักษ์อินโดฯ เจอแฮกระบบ ข้อมูลลูกค้า 15 ล้านรายว่อนเน็ต

ธนาคารอิสลามรายใหญ่สุดของอินโดนีเซีย “แบงก์ ชาริอะห์ อินโดนีเซีย” เผย กำลังทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ หลังมีรายงานว่า ข้อมูลลูกค้า 15 ล้านคน ถูกเผยแพร่ทางออนไลน์ จากการที่แฮกเกอร์ลักลอบเจาะระบบธนาคาร

การเจาะข้อมูลดังกล่าว ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ระบุว่า เป็นเหตุการณ์รุนแรงมากที่สุด ที่เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินของอินโดนีเซียนั้น ถือเป็นการรั่วไหลครั้งล่าสุดของบริษัท และหน่วยงานรัฐบาลของอินโดนีเซียในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

shutterstock 1107463670

แถลงการณ์ของแบงก์ ชาริอะห์ อินโดนีเซีย (บีเอสไอ) ไม่ได้ยืนยันว่า ธนาคารถูกเจาะระบบจนข้อมูลรั่วไหลออกมาก บอกแต่เพียงว่า ธนาคารได้ดำเนินความพยายามในการกู้คืน ตรวจสอบ และจำกัดวงความเสียหาย เพื่อไม่ให้เกิดเหตุขัดข้องทำนองเดียวกันนี้ขึ้นมาอีก

บีเอสไอ ยังขอให้ลูกค้าอย่าตื่นตระหนก โดยให้การรับประกันว่า ข้อมูล และเงินของลูกค้า ยังคงปลอดภัย และการทำธุรกรรมก็ปลอดภัยเช่นกัน

ทางด้านสำนักงานบริการการเงินอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินของประเทศ แถลงในวันเดียวกันว่า ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการรั่วไหลของข้อมูลหรือไม่ โดยทางหน่วยงานกำลังดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้อยู่

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ “เตกูห์ อาปริอันโต” และ “ดาร์ก เทรเซอร์” บริษัทความปลอดภัยทางเทคโนโลยีในสิงคโปร์ เปิดเผยว่า กลุ่มแฮกเกอร์ที่ใช้่ชื่อว่า “ล็อกบิท 3.0” (LockBit 3.0) ได้ออกมาอ้างว่าเป็นผู้ดำเนินการแฮกระบบของธนาคารอินโดนีเซียรายนี้

ล็อกบิท 3.0 ซึ่งเคยมีประวัติเกี่ยวกับการแฮกข้อมูลของ “ทาเลส” กลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยี และกลาโหมสัญชาติฝรั่งเศส อ้างว่า ได้เจาะข้อมูลของบีเอสไอ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา และนำข้อมูลที่ได้ออกมาเผยแพร่ออนไลน์ เมื่อวานนี้ (16 พ.ค.)

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo