The Bangkok Insight

‘ไทยออยล์’ เดินหน้า โครงการพลังงานสะอาด 1.5 แสนล้าน กระตุ้นเศรษฐกิจตรง 4 หมื่นล้าน

“ไทยออยล์” เดินหน้า โครงการพลังงานสะอาด 1.5 แสนล้าน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทางตรงมากกว่า 40,000 ล้าน สร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม ดัน EBITDA โต 37,680 ล้าน/ปี หนุนต่อยอดธุรกิจปิโตรเคมี 

วันนี้ (5 มีค.) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) วางศิลาฤกษ์อาคารควบคุมกระบวนการผลิตหลัก โครงการพลังงานสะอาด ( Clean Fuel Project: CFP ) ณ โรงกลั่นไทยออยล์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โครงการรนี้ ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 4,825 ล้านดอลลาร์ หรือ 151,505 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ต่อ 31.4 บาท) เป็นโครงการอันดับ 2 ของกลุ่มปตท.ที่ใช้เงินลงทุนในะระยะเวลา 5 ปีจำนวนมากที่สุด รองจากโครงการลงทุนของบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) คาดว่าจะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2566

202002111516 ภาพ A คุณวิรัตน์เอื้อนฤมิตceoไทยออยล์ 3 1
วิรัตน์ เอื้อนฤมิต

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน ) กล่าวว่า ไทยออยล์ลงทุนพัฒนาโครงการ CFP เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของโรงกลั่น โดยขยายกำลังการกลั่นเพิ่มขึ้นจาก 275,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 400,000 บาร์เรลต่อวัน ก่อให้เกิดการประหยัดด้านขนาด (Economies of Scale) สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มความยืดหยุ่นในการรับน้ำมันดิบ

ทำให้โรงกลั่นสามารถเพิ่มสัดส่วนการกลั่นน้ำมันหนัก (Heavy Crude) ได้มากขึ้น 40-50% สามารถเปลี่ยนน้ำมันเตาให้เป็นน้ำมันอากาศยาน และน้ำมันดีเซล ซึ่งมีราคาสูงกว่า และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งรองรับการปรับเปลี่ยนของตลาด ซึ่งอิงกับกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป  เช่น การลดปริมาณการใช้น้ำมันเตาในการเดินเรือในปี 2563 รวมถึงการผลิตน้ำมันเบนซิน และดีเซลมาตรฐานยูโร 5 เพื่อสภาพแวดล้อม

โครงการ CFP จะส่งผลให้บริษัทฯ มี EBITDA เพิ่มขึ้นประมาณ 1,200 ล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 37,680 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ต่อ 31.4 บาท) มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตของกลุ่ม (Gross Integrated Margin: GIM) เพิ่มขึ้นประมาณ 4 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

PGA09482

โครงการ CFP จัดเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาคเอกชนโครงการแรก ภายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ใช้เม็ดเงินลงทุนสูงสุดโครงการหนึ่งของประเทศ ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศโดยตรงมากกว่า 40,000 ล้านบาท ประกอบด้วยวงเงินในการจ้างงานประมาณ 22,000 ล้านบาท หรือกว่า 20,000 คน ในช่วงก่อสร้าง และวงเงินในการลงทุนด้านเครื่องจักร และอุปกรณ์ประมาณ 18,000 ล้านบาท

โครงการนี้ยังทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ในอนาคต โดยเฉพาะน้ำมันอากาศยาน ซึ่งคาดว่าตั้งแต่ปี 2565 ประเทศไทย อาจต้องเริ่มมีการนำเข้าน้ำมันอากาศยาน จากความต้องการที่ขยายตัวขึ้น

นอกจากนี้ โครงการ CFP ถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถขยายธุรกิจ ไปสู่ธุรกิจปิโตรเคมี โดยใช้ผลิตภัณฑ์พลอยได้ Light Naptha และ Heavy Naphtha ของโครงการ CFP เป็นวัตถุดิบ สำหรับโครงการปิโตรเคมีระดับ World Scale ซึ่งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการต่อยอดธุรกิจไปสู่ธุรกิจอื่น (New S-Curve) ที่สอดคล้องกับแนวโน้มในอนาคต

ปัจจุบันการก่อสร้างโครงการ CFP มีความคืบหน้าประมาณ 29% โดยการออกแบบทางวิศวกรรมเบื้องต้น งานสั่งซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรหลักที่ใช้ระยะเวลาจัดส่งนานได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบทางวิศวกรรมโดยละเอียด รวมถึง การปรับปรุงพื้นที่ และงานวางฐานราก

ทั้งนี้เพื่อรองรับงานติดตั้งโครงสร้าง เครื่องจักรและอุปกรณ์ เนื่องจากโครงการ CFP เป็นโครงการขนาดใหญ่ จะต้องใช้กำลังคนในช่วงก่อสร้างมากถึง 15,000 – 20,000 คนต่อวัน บริษัทฯ ได้เตรียมมาตรการด้านความปลอดภัย ความมั่นคง และสิ่งแวดล้อมในการควบคุมการก่อสร้าง รวมถึง มาตรการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)  เช่น การควบคุมด้านฝุ่นละออง การควบคุมเศษวัสดุก่อสร้างและขยะ การบริหารงานจราจรในพื้นที่ การควบคุมเรื่องเสียง และการประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจเชิงรุกกับชุมชน และประชาชนในพื้นที่

 

Avatar photo