Stock

สร้าง’พอร์ตหุ้นคงกระพัน’ ผลตอบแทนดีในทุกสภาวะ!!

“พอร์ตหุ้นคงกระพัน” คือ พอร์ตการลงทุนที่มีการใช้กลยุทธ์ จำกัดความเสี่ยงของพอร์ตให้ลดลง โดยมีความทนทานต่อสภาวะตลาดที่ผันผวนได้ดี เพื่อมุ่งหวังไปสู่เป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนของการลงทุน อย่างมีคุณภาพในระยะยาว

บทวิเคราะห์ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ได้เปิดเผยทิศทางตลาดและกลยุทธ์การลงทุนในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยแนะนำกลยุทธ์สร้างพอร์ตคงกระพัน ด้วยการปรับเปลี่ยนหุ้นในพอร์ตและปรับน้ำหนักสินทรัพย์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ภายใต้หลักคิดที่ว่าถึงในตลาดจะไม่มีหุ้นคงกระพัน หรือ สินทรัพย์คงกระพัน ที่ให้ผลตอบแทนดีในทุกสภาวะ แต่เราสามารถสร้างพอร์ตคงกระพันได้

shutterstock 1815040139 1

เนื่องด้วยการปรับพอร์ตการลงทุนตามสถานการณ์ จะสามารถทำผลตอบแทนได้ดีกว่าการลงทุนแบบ “ซื้อและถือ” จึงแนะนำให้แบ่งเงินลงทุนออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1.  ส่วน “มุ่งชนะตลาด” (ALPHA HUNTING) ให้น้ำหนัก 55%
โดยพิจารณาหุ้นใน Sector Thematics และ Stock Logics ซึ่งปัจจุบันหุ้นที่บทวิเคราะห์แนะนำ ประกอบไปด้วย

IVL ปัจจัยบวกจากกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้อัตรากำไรสุทธิแข็งแกร่ง และคาดว่ากำไรจะดีต่อเนื่อง รวมถึงไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจเนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็น

KTC เนื่องจากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง หลังจากผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด

PTT ปัจจุบันราคาหุ้นอยู่ในระดับที่น่าลงทุน โดย P/E ปี 2565 อยู่ที่ 9 เท่า P/B เท่ากับ 0.9 เท่า และ Dividend Payout Ratio เท่ากับ 5% ต่อปี

shutterstock 2137691855

SAWAD ช่วงที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากการแข่งขัน รวมทั้งการจำกัดเพดานอัตราดอกเบี้ย ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง 50% ตั้งแต่ไตรมาส 2/2565 จึงมองว่าราคาปัจจุบันอยู่ในระดับน่าสนใจ

TISCO ปัจจัยหนุนจากการมีงบดุลแข็งแกร่งด้วย BIS Ratio ที่ 24% และ ROE เท่ากับ 17.4% สูงสุดในหุ้นกลุ่มธนาคาร รวมทั้งมี Dividend Payout Ratio สูงกว่า 8% ต่อปี

2.  ส่วน “เกาะตลาด” (BETA GRAZING) ให้น้ำหนักไม่เกิน 45%
ด้วยการนำเงินไปซื้อกองทุนรวม ETF (Exchange Traded Fund) ที่อิงดัชนี SET50 เพื่อกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงที่หลากหลาย เน้นเพิ่มความปลอดภัยให้พอร์ตโดยรวม

ทั้งนี้ จะเห็นว่าระบบดังกล่าวถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นในการปรับเพิ่ม หรือลดขนาดของพอร์ตการลงทุน (scalability) ได้อย่างคล่องตัว

ภาษีขายหุ้น

สำหรับพฤติกรรมตลาดในช่วงนี้ การซื้อขายยังคงชะลอตัว เพราะขาดปัจจัยขับเคลื่อนใหม่ ขณะเดียวกันแนวโน้มตลาดในอนาคต โมเมนตัมก็ดูเป็นลบมากกว่าบวก พิจารณาจากการกระจายตัวของหุ้น SET100 ดังนั้น ในภาพรวมของเงินลงทุน จึงแนะนำให้ปรับลดน้ำหนักหุ้นจากที่เคยให้ลงทุนเต็ม 100% ลงมาเหลือ 70%

ขณะที่ข้อมูลการซื้อขายของ NVDR ในรอบ 10 วันทำการที่ผ่านมา สามารถแบ่งกลุ่มหุ้นตามพฤติกรรมตลาอด ได้ดังนี้

หุ้นที่มีแรงซื้อต่อเนื่อง: EA, SPALI, CPN, SCGP

หุ้นที่มีแรงขายต่อเนื่อง: CENTEL, IRPC

หุ้นที่ช่วงก่อนหน้าถูกขาย แต่เริ่มมีแรงซื้อกลับ: MTC

หุ้นที่เคยมีแรงซื้อมาก่อน แต่เริ่มเห็นแรงขาย: SCC

หุ้นที่มีแรงซื้อสลับขาย แต่สุทธิเป็นบวก: CBG

หุ้นที่มีแรงซื้อสลับขาย แต่สุทธิเป็นลบ: KKP

ทั้งหมดนี้ก็เป็นกลยุทธ์และเทรนด์การลงทุนที่เราหยิบมาฝากสำหรับนำมาประยุกต์ใช้ หรือนำมาคิดค้นต่อยอดเป็นแนวทางการจัดพอร์ตลงทุนของตัวเองในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2565 ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเป็นเครื่องมือให้หลายคนสามารถตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีหลักการ และสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของตลาดได้ดียิ่งขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน