Stock

เทียบฟอร์ม ‘TU vs ASIAN’ หุ้นอาหารทะเลแช่แข็ง

ตลาดหุ้นไทยในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO) มีอยู่ 2 บริษัทที่ทำธุรกิจคล้ายคลึงกันมาก นั่นคือการแปรรูปอาหารทะเลแช่เแข็งและบรรจุกระป๋อง เพื่อจำหน่ายและส่งออกไปทั่วโลก บริษัทแรกก็คือ TU หรือ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ส่วนอีกแห่งคือ ASIAN หรือ บริษัท เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ทั้งคู่มีลักษณะการดำเนินธุรกิจใกล้เคียงกัน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) พร้อมๆ กันตั้งแต่ปี 2537 แถมยังมีการ spin-off ปลดล็อกมูลค่าบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจอาหารสัตว์ เพื่อเข้าตลาดหุ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันอีกด้วย

เทียบฟอร์ม TU vs ASIAN e1661303357986

โดย TU มีการนำหุ้นลูกอย่าง TFM หรือ บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนใน SET เมื่อเดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ขณะที่ ASIAN กำลังมีแผนที่จะนำหุ้นลูกอย่าง AAI หรือ บริษัท เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เข้าระดมทุนภายในไตรมาส 4 ปีนี้

จึงไม่แปลกถ้าบ่อยครั้งเราจึงเห็นบทวิเคราะห์ต่างๆ มักจะหยิบหุ้น TU และ ASIAN มาเปรียบเทียบกันในหลากหลายแง่มุม ทั้งความแข็งแกร่งทางธุรกิจ อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ศักยภาพการเติบโตในอนาคต เพื่อดูว่าหุ้นตัวไหนมีความน่าสนใจต่อการลงทุนมากกว่ากัน

จุดแข็งและความแตกต่างของ TU และ ASIAN

ASIAN แบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น ธุรกิจอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ธุรกิจทูน่า ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และธุรกิจอาหารสัตว์น้ำ โดยมุ่งเน้นการเป็นผู้รับจ้างผลิต (OEM) และพยายามเพิ่มมาร์จินที่สูงขึ้น ด้วยการเพิ่มสินค้ามูลค่าสูงในรูปแบบธุรกิจ OEM Commodity Products ดังนั้น ผลประกอบการจึงมีความผันผวนตามการเคลื่อนไหวของสินค้าโภคภัณฑ์ที่มากกว่า แต่ก็มีข้อได้เปรียบตรงที่ฐานลูกค้าอุตสาหกรรมที่เหนียวแน่น และยังมีช่องให้ขยายกำลังการผลิตได้อีกมากในอนาคต

อีกจุดที่น่าสนใจของ ASIAN คือกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงที่ดำเนินการโดย AAI ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง และช่วยผลักดันมาร์จินของบริษัท ทำให้ปัจจุบันได้หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบรนด์ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มธุรกิจนี้ ได้แก่ แบรนด์ monchou และ HAJIKO ที่กำลังได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

TU เป็นหนึ่งในบริษัทอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก เจ้าของแบรนด์อาหารทะเลชั้นนำมากมาย ซึ่งมีเครือข่ายในการจัดหาวัตถุดิบ ผลิต และกระจายสินค้าครอบคลุมทั่วโลก โดยเน้นขยายธุรกิจให้ครบวงจรจากต้นน้ำไปสู่กลุ่มธุรกิจปลายน้ำด้วยการทำการตลาดและพัฒนาแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของตัวเองสำหรับวางจำหน่ายไปทั่วโลก จึงอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน

แบรนด์ของ TU ที่มีวางจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เช่น SEALECT, FISHO, QFRESH, MONORI, BELLOTTA และ MARVO ในยุโรป เช่น JOHN WEST, PETIT NAVIRE, PARMENTIER, KING OSCAR, MAREBLU และ RUGEN FISCH ในอเมริกาเหนือ เช่น CHICKEN OF THE SEA และ GENOVA เป็นต้น

เปรียบเทียบข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ@300x 100

อัปเดตข้อมูล ณ วันที่ 15 ส.ค. 65

นักวิเคราะห์ บล.กสิกรไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่า TU จะมีกำไรปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 3/2565 จากการหายไปของรายการพิเศษ และยอดขายจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะเข้าสู่ไฮซีซั่นสำหรับการส่งออก ขณะที่ราคาวัตถุดิบที่ปรับลดลงจะช่วยบรรแรงกดต้นในด้านต้นทุน แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายที่ 21.90 บาท

สำหรับหุ้น ASIAN จะเริ่มรับรู้รายได้เต็มไตรมาสจากกำลังการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงใหม่ในไตรมาส 3/2565 ซึ่งจะเพิ่มมาร์กิจในครึ่งปีหลัง รวมถึงการเข้าสู่ไฮซีวั่นของสินค้าโภคภัณฑ์แช่แข็ง จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของกำไรที่แข็งแกร่ง แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 19.80 บาท

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน