Personal Finance

7 คำถามคาใจเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน รีไฟแนนซ์เมื่อไหร่ ต้องพิจารณาอะไรบ้าง?

7 คำถามคาใจเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน รีไฟแนนซ์เมื่อไหร่ ต้องพิจารณาอะไรบ้าง สถานการณ์แบบไหนที่ไม่ควรรีไฟแนนซ์

หลังจากการผ่อนบ้านมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว หลายคนคงอยากหาวิธีผ่อนบ้านให้หมดเร็ว ๆ ซึ่งหนึ่งในวิธีนั้นก็ คือ การรีไฟแนนซ์บ้าน แต่บางคนก็ยังมีคำถามที่สงสัยเกี่ยวการรีไฟแนนซ์บ้านอยู่ในใจ วันนี้เราจึงรวบรวมคำถามยอดฮิตพร้อมหาคำตอบมาให้แล้วที่นี่

รีไฟแนนซ์บ้าน

1. รีไฟแนนซ์บ้านเมื่อไหร่ดี?

  • เมื่อผ่อนบ้านมาประมาณ 3 ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสัญญาที่ระบุไว้ด้วย บางแห่งอาจกำหนดระยาเวลาที่นานกว่านั้น

2. ทำไมต้องรอ 3 ปี ค่อยรีไฟแนนซ์?

  • สัญญาส่วนใหญ่จะระบุให้รีไฟแนนซ์ได้หลัง 3 ปี (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับสัญญาเงินกู้แต่ละฉบับ) หากรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด ต้องเสียค่าปรับ 2-3% ของยอดหนี้คงเหลือ

3. ก่อนรีไฟแนนซ์ต้องพิจารณาอะไรบ้าง?

  • อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิมมั้ย
  • ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายจำนวนเท่าไหร่
  • เปรียบเทียบดอกเบี้ย+ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย ประหยัดกว่าสัญญาเดิมเท่าไหร่ คุ้มค่าหรือไม่

รีไฟแนนซ์บ้าน

4. รีไฟแนนซ์มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

  • ค่าประเมินราคา ฟรี 3,000 บาท, ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงิน
  • ค่าประกันอัคคีภัย
  • ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคาร

5 . รีไฟแนนซ์แล้วมีโอกาสได้วงเงินเพิ่มยังไง?

  • เมื่อนำราคาประเมินบ้านในการรีไฟแนนซ์หักลบด้วยยอดหนี้คงเหลือจากธนาคารเดิมทำให้มีวงเงินส่วนต่างที่สามารถขอกู้เป็นวงเงินอเนกประสงค์มาใช้จ่ายได้ นอกเหนือจากวงเงินกู้สำหรับรีไฟแนนซ์

เช่นนาย A กู้ซื้อบ้านกับธนาคารเดิม 3 ล้านบาท ผ่อนไปแล้ว 3 ปี หนี้ลดเหลือ 2 ล้านบาท ขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ ให้วงเงินกู้ 90% ของราคาประเมิน ปัจจุบันราคาประเมิน = 4 ล้านบาท (4,000,000 x 90%) = ได้วงเงินกู้สูงสุด 3.6 ล้านบาท นำเงินก้อนนี้ปิดหนี้ธนาคารเดิม 2 ล้านบาท ส่วนต่างที่เป็นวงเงินเพิ่ม = 1.6 ล้านบาท

รีไฟแนนซ์บ้าน

6. รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมได้มั้ย?

  • สามารถขอลดดอกเบี้ยจากธนาคารเดิม หลังจากผ่อนบ้านในอัตราดอกเบี้ยคงที่ครบ 3 ปีแล้ว โดยเรียกวิธีว่า Retention หรือการขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม

7. สถานการณ์ไหนที่ไม่ควรรีไฟแนนซ์?

  • ยังอยู่ในช่วงที่มีค่าปรับจากธนาคารเดิม
  • เหลือยอดหนี้น้อยมาก และเหลือระยะเวลาอีกไม่เกิน 1-2 ปีจะหมดหนี้

ที่มา : ธนาคารไทยพาณิชย์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK