Politics

สธ. เผย บริษัทผู้ผลิต เป็นห่วง ‘ยาโควิด’ ไม่ได้ลิขสิทธิ์ เกลื่อนตลาด

สธ. เผย บริษัทผู้ผลิต เป็นห่วง ‘ยาโควิด’ ไม่ได้ลิขสิทธิ์ เกลื่อนตลาด ชี้เป็นยาที่ให้ในภาวะฉุกเฉิน ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มีการพูดถึงกรณีกลุ่มเสี่ยง 608 ไม่ได้ยาโมลนูพิราเวียร์ แต่กลับได้ฟาวิพิราเวียร์ เป็นแนวทางการจ่ายยารักษาโค วิด-19 ที่ออกโดยผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาถึงฉบับที่ 24 แล้ว โดยผู้ป่วยติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อย หรือปานกลาง ร่วมกับมีอายุ 60 ปีขึ้นไป, ได้รับวัคซีนไม่ครบ และมีโรคร่วม ถึงจะได้รับยาโมลนูพิราเวียร์ หรือฟาวิพิราเวียร์ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

โควิด

เป็นห่วงซื้อยามารับประทานเอง

ทั้งนี้จากการพูดกับบริษัท เมอร์ค ผู้ผลิตยา โมลนูพิราเวียร์ ระบุว่ามีความห่วงกังวลเรื่องของการซื้อหายามารับประทานเอง  เนื่องจากเห็นว่ายาต้านไวรัสที่จำหน่ายกันอยู่นี้ บางตัวก็ได้ลิขสิทธิ์บางตัวก็ไม่ได้ลิขสิทธิ์

อย่างไรก็ตาม ยาโมลนูพิราเวียร์และแพ็คซ์โลวิด เป็นยาที่ให้ในภาวะฉุกเฉิน ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพื่อติดตามอาการ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายาฟาวิพิราเวียร์จะไม่ได้ลดปริมาณไวรัสแต่ก็ช่วยลดอาการได้เช่นกัน

โควิด

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า หลักเกณฑ์และแนวทางการจ่ายต้านไวรัสที่กรมการแพทย์ออกนั้น ทำโดยผ่านการประชุมจากผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ เป็นหลักเกณฑ์และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเป็นข้อมูลความจริงทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม พร้อมน้อมรับทุกความเห็นของทุกคน และอินฟูเอนเซอร์ แต่อำนาจการตัดสินใจต่าง ๆ ก็ยังคงยืนยันทำโดยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ถ้าเอาความคิดเห็นของคนทั่วไปที่อาจจะพูดไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสาตร์มาใช้ มันก็จะเป็นการแทรกแซง

โควิด

จ่ายยาต้องถูกโรค ถูกคน ถูกเวลา จ่ายอย่างสมเหตุสมผล

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การจ่ายยาต้านไวรัสในการรักษาผู้ป่วยโควิด ต้องจ่ายให้ถูกโรค ถูกคน และถูกเวลา และต้องใช้อย่างเหมาะสม

ยาโมลนูพิราเวียร์ มีความกังวลในการใช้ เนื่องจากมีผลข้างเคียงเรื่องการกลายพันธุ์ในสัตว์ทดลอง ดังนั้น จะเห็นได้ว่ายาตัวนี้จึงไม่มีการจ่ายให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือหญิงตั้งครรภ์ ดังนั้นการจ่ายยาต้องสมเหตุสมผล

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo