Politics

ส่องประวัติ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. ที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี

ส่องประวัติชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ “ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” คนที่ 17 “ผู้ว่าฯ กทม” ที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี ตอบชัด! หากได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. จะทำให้กรุงเทพฯ ดีขึ้นได้อย่างไร

รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ชื่อเล่น “ทริป” เป็นบุตรของ พล.ต.อ.เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) กับจิตต์จรุง สิทธิพันธุ์ (สกุลเดิม: กุลละวณิชย์) มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา สองคนคือ

ประวัติชัชชาติ

  1. รศ.ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. รศ.ดร.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ กรรมการแพทยสภาวาระ พ.ศ. 2562-2564 คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (พี่ฝาแฝด)

ประวัติการศึกษาของชัชชาติ

  • ปริญญาเอก วิศวกรรมโยธา (โครงสร้าง) มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาโท วิศวกรรมโยธา (โครงสร้าง) สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาโท บริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาตรี วิศวกรรมโยธา (เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติชัชชาติ

ชัชชาติทำงานอะไรมาบ้าง?

  • 2536 – 2537 วิศวกรโครงสร้าง บริษัท สคิดมอร์ โอวิ่ง แอนด์ เมอร์ริลล์ สหรัฐอเมริกา
  • 2546 – 2555 อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อดีตผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ และอดีตผู้ช่วยอธิการบดี)
  • 2555 – 2557 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงข่ายรถไฟฟ้าใน กทม. การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-ภูเก็ต โครงการทำแนวป้องกันน้ำท่วม กทม.
  • 2558 – 2561 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บมจ.ควอลิตี๊เฮาส์ (Q House)
  • 2562 – ปัจจุบัน ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok รวมพลังสร้างกรุงเทพฯ ที่ดีกว่าเดิม ในช่วงโควิด-19 ร่วมทำโครงการ “บ้านใกล้เรือนเคียง” ฐานข้อมูลสำหรับส่งต่อความช่วยเหลือให้กับชุมชนใน กทม.

ประวัติชัชชาติ

ชัชชาติมีผลงานอะไรบ้าง?

ผลงานที่ผ่านมาของชัชชาติ

โครงการสำคัญที่ได้รวมเป็นทีมงานระหว่างการทำงานที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  1. เป็นทีมงานผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัย คณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. เป็นทีมงานที่ร่วมในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น จามจุรีสแควร์ อาคารสยามกิตต์ อาคารสยามสแควร์วัน อาคารระเบียงจามจุรี อาคาร CU-I House

ประวัติชัชชาติ

โครงการสำคัญที่ได้ร่วมงานและขับเคลื่อนระหว่างที่ทำงานที่กระทรวงคมนาคม

  1. โครงการสร้างอนาคตประเทศไทย 2020 เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รวบรวมโครงการสาคัญต่าง ๆ ของกระทรวง คมนาคม
  2. การศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง จากโครงการแอร์พอร์ตเรลลิ้งเดิม การลงนาม MOU ระหวา่งไทย-จีน เพื่อศึกษารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย
  3. การขับเคลื่อน เร่งรัด การก่อสร้าง โครงข่ายรถไฟฟ้าใน กทม. สายสีแดง (บางซื่อ-ดอนเมือง) สายสีเขียวส่วนต่อขยายเหนือ ใต้ สายสีน้าเงิน และ สายสีม่วง
  4. โครงการ PPP ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก
  5. โครงการ PPP การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้า และซ่อมบำรุงรักษา (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบาง ใหญ่-บางซื่อ
  6. การศึกษาความเป็นไปได้โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) บางปะอิน-โคราช พัทยา-มาบตาพุด
  7. พัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ Satellite Terminal
  8. การพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตระยะที่สอง
  9. การเปิดท่าอากาศยานดอนเมืองสำหรับให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Carriers : LCCs) และ/หรือ เส้นทางการบินในประเทศและระหว่างประเทศแบบ จุดต่อจุด (Point to Point)
  10. โครงการทำแนวป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพฯ และพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ทางฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
  11. โครงการศูนย์ความปลอดภัยขนส่งสำหรับรถโดยสารสาธารณะ

ประวัติชัชชาติ

วิสัยทัศน์ (Vision) ของชัชชาติ สำหรับ “กรุงเทพฯ” คืออะไร

กรุงเทพฯ ถูกจัดอันดับให้เป็น “เมืองน่าเที่ยว” ต่อเนื่องมาหลายปี เราเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวแวะมาเยือนสูงสุดเป็นลำดับต้น ๆ ของเมืองทั่วโลก เป็นสิ่งที่หลายหน่วยงานมักจะเอามาอ้างอิงอย่างภาคภูมิใจอยู่เสมอ ๆ

แต่ทำไมกรุงเทพฯ ไม่เคยถูกจัดให้เป็น “เมืองน่าอยู่” ระดับต้น ๆ ของโลกเลย* หรือเป็นเพราะกรุงเทพฯ เหมาะกับมาเที่ยว ชั่วคราว สัก 5 วัน 10 วัน มาเจอความสนุกสนาน ตื่นเต้น น่าตื่นตาตื่นใจ แล้วก็กลับไป แต่อาจจะไม่เหมาะนัก สำหรับคนที่ต้องมาอยู่ในระยะยาว

สำหรับพวกเรา กรุงเทพฯ คือบ้าน คือที่ทำงาน คือที่ที่เราและครอบครัวต้องใช้เวลาเกือบทั้งชีวิต ผมเชื่อว่าเราอยากให้กรุงเทพฯ เป็น “เมืองน่าอยู่” มากกว่าที่จะเป็นแค่ “เมืองน่าเที่ยว” ดังนั้น สิ่งที่ผมอยากเห็นกรุงเทพฯ เป็นในอนาคตคือ “กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน”

ประวัติชัชชาติ

สิ่งที่อยากเห็นนี้มีส่วนสำคัญสองส่วนคือ

“เมืองน่าอยู่” หมายถึง การที่เราสามารถหาความสุขได้อย่างพอดีจากการอยู่ในเมืองนี้ มีที่อยู่อาศัยที่ดี น้ำไม่ท่วม ไม่เน่า ขยะได้รับการจัดการ มีพื้นที่สาธารณะที่พอเพียง มีพื้นที่สีเขียวให้เราออกไปใช้ชีวิตได้ มีอากาศบริสุทธิ์ที่เราหายใจได้เต็มปอด มีการเดินทางที่สะดวก มีการศึกษา การเรียนรู้ที่ดีให้กับทุก ๆ คน มีการรักษาพยาบาลที่เข้าถึงง่าย สิ่งเหล่านี้คือพื้นฐานสำคัญที่เราควรจะได้รับจากเมือง

“สำหรับทุกคน” มันเป็นเรื่องง่ายที่เราจะทำกรุงเทพฯ ให้เป็น “เมืองน่าอยู่สำหรับบางคน” สำหรับพวกเราที่สามารถมีที่อยู่อาศัยติดรถไฟฟ้า ส่งลูกไปโรงเรียนดี ๆ กลางเมือง เจ็บป่วยไปโรงพยาบาลเอกชนได้ตลอดเวลา มันไม่ยากเลยที่กรุงเทพฯ จะเป็น “เมืองน่าอยู่” แต่สำหรับพวกเราอีกจำนวนมาก ที่ต้องเดินทางเป็นชั่วโมงเพื่อไปทำงานในแต่ละวัน วิ่งหาโรงเรียนดี ๆ ให้ลูก เวลาเจ็บป่วยต้องไปรอหมอครึ่งค่อนวัน หรือ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ที่เดินทางลำบาก ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือต่าง ๆ ได้ อย่าว่าแต่คำว่า “น่าอยู่”เลย แค่การใช้ชีวิตให้ผ่านไปในแต่ละวันในกรุงเทพฯ ก็เป็นเรื่องท้าทายแล้ว

ประวัติชัชชาติ

หากชัชชาติได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. จะทำให้กรุงเทพฯ ดีขึ้นได้อย่างไร

การที่จะทำให้กรุงเทพฯ ดีขึ้นได้นั้น จะใช้แนวคิด Design Thinking ในการหาทางแก้ปัญหา ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. เข้าใจและเข้าถึงการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ (Empathize) ลงพื้นที่ รวบรวม รับฟัง เพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงปัญหาของคนกรุงเทพฯ อย่างแท้จริง ไม่ใช่นั่งแต่อยู่ในห้องแอร์รอรับฟังรายงาน
  2. กำหนดปัญหาในแต่ละเรื่อง (Define) ถ้ากำหนดปัญหาผิด ก็ไม่มีทางที่จะมีทางออกที่ถูกได้ ดังนั้นจึงใช้ทีมงานในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ ทั้งในส่วนของพื้นที่ (ระดับเขต) และ ในส่วนของหน้าที่งาน (ระดับสำนัก) และ กำหนดปัญหาที่แท้จริงของแต่ละเรื่องรวมทั้งกำหนดความเร่งด่วนของแต่ละปัญหา
  3. ระดมความคิด หาแนวทางแก้ไข (Ideate) การแก้ไขปัญหาใน กรุงเทพฯ หลาย ๆ เรื่องต้องใช้การคิดใหม่ ถ้าใช้คนเดิมคิด วิธีการเดิมคิด ก็จะได้คำตอบเดิม ๆ ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาที่มีอยู่ ดังนั้นต้องมีการระดมผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาร่วมกันคิด เพื่อหาทางออกของปัญหาที่มีอยู่ เรามีคนเก่งเยอะ ต้องให้โอกาสคนเก่ง ๆ เหล่านี้มารวมกันเพื่อช่วยกันหาคำตอบให้กรุงเทพฯ
  4. ลงมือทำแบบจำลอง (Prototype) และ ทำการทดสอบ (Test) ปัญหาในกรุงเทพฯ มีจำนวนมาก แต่หลาย ๆ เรื่องเป็นปัญหาที่ซ้ำ ๆ กัน คล้าย ๆ กันในทุกเขต เช่น ปัญหาทางเท้า ปัญหาการระบายน้ำ ปัญหาขยะ เราสามารถทดลองการปัญหาด้วยการลงมือและทดสอบในบางจุดก่อน ถ้าสำเร็จก็จะขยายผลไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ขอบคุณข้อมูลจาก www.chadchart.com

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK