Politics

มช. ผนึก ‘มทร.อีสาน’ ผสานองค์ความรู้พัฒนาพื้นที่ภาคเหนือ-อีสาน

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) โดยรองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนาม และได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อาวุธ ศรีศุกรี อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นพยานในพิธีลงนามความร่วมมือ

3333

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์  กล่าวว่า ผมรู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมเป็นสักขีพยานและกล่าวแสดงความยินดีกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในการลงนามความร่วมมือระหว่างทั้งสององค์กรในวันนี้ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมมีความยินดีเป็นพิเศษ เนื่องจากการลงนามในวันนี้มีจุดเริ่มต้นจากการที่ผมในฐานะรองประธานกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ได้ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชรมหาวัชรราชธิดา องค์ประธานกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ที่เสด็จมาทรงเปิดสถานีโทรมาตรอัตโนมัติที่ศูนย์สาธิตการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ด้านป่าไม้ที่ 1 อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันภัยพิบัติและช่วยบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ป่าต้นน้ำ อำเภอแม่ริม จากนั้นได้เสด็จมาเสวยพระกระยาหารกลางวันและทอดพระเนตรนิทรรศการเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดถวาย ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

MOU มช ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย scaled e1628508764364

เมื่อผมได้ชมนิทรรศการที่คณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดถวายแล้ว เห็นว่านอกจากจะเป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังป้องกันภัยพิบัติและช่วยเหลือฟื้นฟูคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประสบอุทกภัยแล้ว หากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศจะได้นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่มาร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานซึ่งมีฐานด้านบุคลากรและองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและทรัพยากรท้องถิ่นในภาคอีสาน ก็จะสามารถร่วมกันพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่พี่น้องประชาชนในภาคอีสาน และเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของทั้งสองมหาวิทยาลัยไปด้วยในขณะเดียวกัน ผมจึงมอบหมายให้อาจารย์สันติ สาทิพย์พงษ์ ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ช่วยประสานงานกับท่านศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ทีมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานมาศึกษาดูงานและหารือถึงการสร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีร่วมกันที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในการมาศึกษาดูงานของทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา นอกจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ จะได้บรรยายและนำเยี่ยมชมงานของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคเหนือ และได้เปิดโอกาสให้ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานได้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลงานวิจัยพัฒนาและต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ของอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลับไปทดลองใช้และแจกจ่ายในพื้นที่ภาคอีสานแล้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังได้จัดให้ศึกษาดูงานในสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่แม่เหียะ และท่านรองอธิการบดี ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ฯ ก็ได้กรุณาให้เกียรติเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันให้กับทีมงานจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  ท่านรักษาการอธิการบดี รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร  ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ประจำวิทยาเขตสกลนคร ก็ได้ร่วมเดินทางมาศึกษาดูงานและหารือถึงแนวทางความร่วมมือในคราวนั้นด้วย และได้มีการประสานความร่วมมือกันเรื่อยมาจนนำมาสู่การลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างทั้งสองมหาวิทยาลัยในวันนี้  สำหรับผมทั้งในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิของสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงขอชื่นชมความจริงจัง ทุ่มเทของท่านอธิการบดีของทั้งสองมหาวิทยาลัยที่ทำให้เกิดความร่วมมือดังกล่าวขึ้นในวันนี้

332550 e1628509403810

นอกจากนี้ สิ่งที่ผมมีความยินดีที่ได้เห็นการลงนามในบันทึกความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในวันนี้ ก็คือ ความร่วมมือในวันนี้สอดคล้องกับทิศทางและอนาคตของการพัฒนาประเทศที่สำคัญ อย่างน้อย 2 ประการด้วยกัน

ในประการแรก คือ ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านการศึกษา วิชาการและวิจัยร่วมกันในระดับอุดมศึกษา เพื่อการนำเอาองค์ความรู้ เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพื้นที่ จากพืชเศรษฐกิจที่กำลังเป็นประเด็นทางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ข้าว กัญชา เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการขยายการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ลงไปสู่พี่น้องประชาชนชาวอีสานแล้ว ผลงานความสำเร็จในการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการผลงานวิชาการไปสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคเหนือ ยังจะสามารถช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนในภาคอีสานร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เพื่อนำไปสู่การยกระดับภาคการผลิตและการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคอีสานได้ในอนาคต ซึ่งถือเป็นอีกบทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษาไทยในอนาคตที่จะต้องเชื่อมโยงองค์ความรู้ ฐานทรัพยากรมนุษย์และธรรมชาติ และความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้เกิดเป็นพลังในการวิจัย พัฒนา และการต่อยอดองค์ความรู้และนวัตกรรมไปสู่สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ

ประการที่สอง คือ สาขาที่ทั้งสองมหาวิทยาลัยจะร่วมมือกันล้วนเป็นสาขาความร่วมมือที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในปัจจุบัน และจะทวีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือด้านการวิจัยนวัตกรรมการปลูกและพัฒนาพืชสมุนไพรท้องถิ่น เช่น กัญชา กัญชง และพืชสมุนไพรไทยชนิดต่าง ๆ ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานมีคณะทรัพยากรธรรมชาติและโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยเป็นฐานของสมุนไพรหลายร้อยชนิด และในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เราก็ได้เห็นประโยชน์และคุณค่าของพืชสมุนไพรไทยในการรักษาพยาบาลและต่อสู้กับโรคระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างชัดเจน ในขณะเดียวกัน ในหลายกรณี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็มีความก้าวหน้าทางด้านการวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ และเภสัชศาสตร์ ที่สามารถต่อยอดการวิจัยพัฒนาสมุนไพรให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เวชสำอาง การป้องกันโรคระบาด และอื่น ๆ ในเชิงพาณิชย์ได้เป็นอย่างดี

ศักยภาพในความร่วมมือของทั้งสองมหาวิทยาลัยยังรวมไปถึง ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับข้าว ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวหอมมะลิซึ่งเป็นวัฒนธรรมและหัวใจสำคัญทางเศรษฐกิจของชาวอีสานและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในฐานะสินค้าที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทั้งสององค์กรยังตกลงจะมีความร่วมมือด้านการจัดการขยะ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของสังคมเมืองที่รอการจัดการ และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ หรือ Sustainable Development Goals รวมทั้งยังเป็นทิศทางการพัฒนาไปสู่การเป็น Green University ของทั้งสองมหาวิทยาลัย

ที่สำคัญไม่น้อยคือ ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระบบราง ที่ทั้งสองมหาวิทยาลัยมีสถาบันและศูนย์ที่จะเสริมงานวิจัยและการผลิตบัณฑิตร่วมกันได้อย่างดี เป็นความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบรางในมิติทั้งที่ต่างกันและเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งจะมาต่อยอดและเสริมซึ่งกันและกันเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานให้แก่ระบบรางของประเทศ รวมทั้งสร้างนวัตกรรมของฐานของรางรถไฟ การซ่อมบำรุงรักษาระบบราง การสร้างห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ทดสอบชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระบบรางให้ครอบคลุมการขนส่งในทุกระบบ การที่สถาบันอุดมศึกษาสามารถจับมือร่วมใจกัน ทำงานเสริมด้วยศักยภาพเพื่อการพัฒนาคณาจารย์ การเรียนการสอน การวิจัย และการผลิตนักศึกษา ย่อมเป็นสิ่งที่ทุกประเทศปรารถนาที่จะให้เกิดมีขึ้น

ในนามของสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ผมขอแสดงความยินดีกับผู้บริหารและคณาจารย์ของทั้งสองมหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่งสำหรับการลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างกันในวันนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้จะเป็นก้าวย่างที่สำคัญ ในการสร้างโอกาสและส่งเสริมให้กับบุคลากรของทั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้มีบูรณาการองค์ความรู้สู่การพัฒนาร่วมกันและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการลงบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทุกประการต่อไป และจะบังเกิดผลลัพธ์แห่งความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา ประชาชนคนไทย และการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยอย่างยั่งยืนโดยเร็วต่อไป

หมอนิเวศน์ e1628509410758

ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในวันนี้ถือเป็นทิศทางที่ดีในการร่วมกันนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เชิงพื้นที่ทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน โดยมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีทางด้านข้าว การจัดการขยะ การปลูกและพัฒนาสายพันธุ์พืชสมุนไพรพื้นถิ่น รวมถึงกัญชง กัญชา และระบบราง ความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีตามความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่าย และด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรระหว่างมหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) เปิดเผยว่า มทร.อีสาน ในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ภายใต้กรอบนโยบายของสภามหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัย ที่มอบหมายให้ มทร.อีสาน ขับเคลื่อนด้านการจัดการเรียนการสอนผลิตบัญฑิตนักปฎิบัติ ให้ตอบโจทย์กลุ่มสถานประกอบการ ควบคู่ไปกับการพัฒนางานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีด้านนวัตกรรมและส่งเสริมการศึกษาและการกินดีอยู่ดีของคนอีสานซึ่งเป็นที่ตั้งของ มทร.อีสาน โดยการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรามีเป้าหมายร่วมกันในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และการวิจัยต่างๆ ที่ มทร.อีสาน และ มช.มีความแข็งแกร่งของแต่ละแห่งอยู่แล้ว มาพัฒนาภาคอีสาน และภาคเหนือร่วมกัน ในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่น

MOU มช รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร 1024x576 1 e1628508984543

เบื้องต้นได้มีการผสานความร่วมมือในการพัฒนาข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ การจัดการขยะ การปลูกและพัฒนาสายพันธุ์พืชสมุนไพรพื้นถิ่น รวมถึง กัญชง กัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แผนไทยและการสาธารณสุข และนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการแปรรูปพืชสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เวชสำอาง และผลิตภัณฑ์อื่นที่สามารถนำไปผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ รวมถึงความร่วมมือทางด้านระบบราง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในระบบขนส่งทางรางและความปลอดภัยในการบริการเดินรถไฟ พร้อมยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระบบรางให้เป็นไปตามมาตรฐานระบบรางของประเทศและมาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการทดสอบวิเคราะห์ระบบรางและเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบรางมาประยุกต์ใช้เชิงพื้นที่ รวมถึงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีจากความเชี่ยวชาญทั้งฝ่าย มทร.อีสาน และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการพัฒนาศักยภาพบุคลากรร่วมกันครับ รศ.ดร.โฆษิต กล่าว

332541 e1628509383511

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight