Politics

ยังน่าห่วง! ยอดผู้ป่วยโควิด ‘อาการหนัก’ กว่า 2 พันราย

“ศบค.” เผยผู้ป่วยโควิด ยังรักษา 5.4 หมื่นราย โคม่ากว่า 2 พันราย ทุก 10 ราย ที่ใส่ท่อหายใจจะเสียชีวิต 2 ราย นายกฯสั่งเพิ่มเตียง หลังมีคนป่วยต่อคิวเข้าโรงพยาบาลเพียบ  ยอมรับ “สายพันธุ์เดลตา” แพร่เข้าไทย เร่งฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ 

พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน ว่า วันนี้มีผู้เสียชีวิต 61 ราย ทำให้ยอดเสียชีวิตขยับไปที่ 2,141 ราย รักษาหายเพิ่มอีก 3,638 ราย รวมยอดรักษาหาย 214,340 ราย ยังรักษาอยู่ 54,440 ราย เป็นการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 26,025 ราย โรงพยาบาลสนาม 28,415 ราย มีผู้ป่วยอาการหนัก 2,002 ราย ในจำนวนผู้ป่วยหนักนี้ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจถึง 579 ราย

วัคซีนโควิดรพ 0.สนาม 210702

ที่ประชุม ศบค.ชุดเล็ก เป็นห่วงเรื่องตัวเลขผู้ติดเชื้อใน กทม. ที่มีสัดส่วนมากกว่าผู้หายป่วยกลับบ้าน ขณะที่นายกรัฐมนตรี เป็นห่วงเรื่องผู้ป่วยที่ต้องใช้เวลารอเตียง จึงสั่งให้ ศบค. กระทรวงสาธารณสุข และกทม. หารือจัดการเตียงอย่างเร่งด่วน เพื่อศักยภาพการจัดการเตียง จะเร่งรัดออกมาตรการแยกกักตัวในชุมชน หลังทราบผลและระหว่างรอจัดสรรเตียง โดยวันนี้( 2ก.ค.) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือถึงแนวทางการดำเนินการดังกล่าว

นอกจากนี้ ในที่ประชุมอีโอซี กระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้พูดถึงแนวทางการเพิ่มเตียงทุกระดับสี โรงพยาบาลบุษราคัมสามารถดำเนินการได้ทันที  ขณะนี้ได้มีการปฐมนิเทศแพทย์ที่ผ่านการอบรมผู้เชี่ยวชาญ 144 คน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรแพทย์ ระบบทางเดินหายใจบำบัดวิกฤติ ภายใน 1-2 วันนี้ จะกระจายไปประจำโรงพยาบาลต่างๆ ในกทม. ที่เห็นตัวเลขผู้เสียชีวิตจำนวนมากปัจจุบัน มาจากการติดเชื้อเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน

กรณีที่ปูพรมฉีดวัคซีนไปเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน อาจต้องรอผลอีก 1-2 เดือน จึงจะเห็นว่าหลังฉีดวัคซีนจะมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะหลังฉีด 2 สัปดาห์ มีแนวโน้มทำให้ภาพรวมของประเทศ อัตราการป่วยหนัก หรืออัตราการเสียชีวิตลดลง

584673 e1625226904911

“จำนวนผู้ป่วย 100 ราย เราพบว่า 5% หรือ 5 ราย มีอาการปอดติดเชื้อ หรืออาการหนัก  ในจำนวนนี้จะมีประมาณ 2.5 ราย ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ  ในอัตราผู้ใช้เครื่องช่วยหายใจ 10 ราย จะมีตัวเลข 1-2 ราย ที่เสียชีวิต ระทรวงสาธารณสุขจำเป็นต้องวางแผนมาตรการจัดการเตียง มาตรการเพิ่มศักยภาพเตียงในกลุ่มสีเหลืองและสีแดง หากเป็นผู้สูงอายุ หรือ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง มีความเสี่ยงเสียชีวิตค่อนข้างสูง นโยบายสำคัญในเดือนกรกฎาคมนี้ต้องเพิ่มเตียงและระดมฉีดวัคซีน” พญ.อภิสมัย กล่าว

ส่วนการให้บริการวัคซีนทางกรุงเทพมหานคร ได้รายงานด้วยว่าอีกหนึ่งบริการที่พยายามเร่งระดมบุคลากรในการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงได้ แก่ผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีโรคหลักหรืออาจจะมีความพิการ โดยกรุงเทพมหานครได้มีบริการให้การฉีดวัคซีนผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมายังศูนย์ฉีดวัคซีนเป็นผู้ติดเตียง ผู้มีภาวะพึ่งพิงหรือผู้พิการ โดยได้สำรวจในเนอสซิ่งโฮม หรือสถานดูแลผู้สูงอายุ 140 แห่ง รวมทั้งผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้าน ในพื้นที่ 50 เขตของกรุงเทพมหานครพบว่าเนอสซิ่งโฮมมีเป้าหมายอยู่ 4,615 คน เป็นผู้สูงอายุ 2,846 คน เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ 1,769 คน ส่วนที่อยู่ที่บ้าน 1,776 คน เป็นผู้สูงอายุ 1,470 คน และผู้ดูแล อีก 306 คน

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ตอนนี้การแพร่ระบาดทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  รายงานว่าเริ่มเห็นสายพันธุ์เดลตา เข้ามาแพร่ระบาดในบ้านเรา ซึ่งสายพันธุ์นี้มีการแพร่ระบาดที่อินเดีย เป็นสายพันธุ์ที่ ติดกันได้ง่าย มีการแพร่ระบาดรวดเร็ว แต่การเกิดความรุนแรงมุ่งเน้นไปยังกลุ่มเสี่ยง ที่ถือได้ว่าเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคหลัก เพราะฉะนั้นจึงมีการนำสู่เกิดข้อสรุปของที่ประชุมว่าเมื่อเราได้รับวัคซีนมากขึ้น มีการกระจายที่เพียงพอ ก็ขอให้เน้นย้ำไปที่กลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight