General

ไขข้อสงสัย ทำไมคนป่วย ‘มะเร็งปอด’ ทั้งๆที่ไม่สูบบุหรี่

ไขข้อสงสัย ทำไมคนป่วย “มะเร็งปอด” ทั้งๆที่ไม่สูบบุหรี่ สาเหตุใกล้ตัวมากๆ 

จากกรณี นพ.กฤตไท ธนสมบัติกุล อายุ 28 ปี อาจารย์ประจำศูนย์ระบาดวิทยาคลินิกและสถิติศาสตร์คลินิก ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเพจเฟซบุ๊กเพจสู้ดิวะหลังเจ้าตัวตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปอด ทั้งที่ร่างกายแข็งแรง ไม่สูบบุหรี่ ไม่ได้มีอาการป่วยหนัก มีเพียงอาการไอเท่านั้น

มะเร็งปอด

ล่าสุด ทวิตเตอร์ @manopsi ของ นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีการทวีตข้อความถึงเรื่องคุณหมอกฤตไท ว่า ฝุ่น PM2.5 อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเป็นมะเร็งปอด ทั้งที่ไม่สูบบุหรี่ ดังนั้นหากใครมีเครื่องฟอกอากาศก็ใช้มันตลอด กดให้ต่ำกว่า 10 ให้ต่ำกว่า 5 ยิ่งดี อย่าให้ปอดเราเป็นไส้กรองอากาศเด็ดขาด

ทำไมถึงต้องซีเรียสเรื่อง PM2.5เพราะ PM2.5 เป็นเหตุสำคัญของมะเร็งปอดชนิดที่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR ซึ่งพบกว่า 50% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดชาวไทย โดยเฉพาะคนที่ไม่สูบบุหรี่ พบว่าเซลล์ปอดที่มี EGFR กลายพันธุ์ ยังไม่เปลี่ยนเป็นมะเร็งจนกระทั่งได้รับ PM2.5 เข้าไป

มะเร็งปอด

นพ.มานพ ยังบอกต่อว่า หลังจากอ่านเพจ สู้ดิวะ แล้วมีแรงฮึดผลักดันโครงการมะเร็งปอดต่อ บอกก่อนว่างานช้างมาก แต่เราจะพยายามผลักดันให้การตรวจรักษามะเร็งปอดด้วย comprehensive genomic profile และให้ยาต้านมะเร็งแบบมุ่งเป้าตามผลตรวจเกิดขึ้นในระบบสุขภาพเมืองไทยขอเวลาอีกนิด

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดมี 2 ประเภท 

  1. ปัจจัยภายในที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ หรือพันธุกรรม
  2. ปัจจัยภายนอกซึ่งสามารถควบคุมได้ เช่น บุหรี่ สารพิษทางอากาศ
พบว่าประมาณ 85% หรือมากกว่าของผู้ป่วยมะเร็งปอดมีประวัติการสูบบุหรี่ สารในบุหรี่นั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อปอด มีประมาณ 60 ชนิดที่เป็นสารพิษและก่อมะเร็ง แม้ว่าหยุดสูบไปแล้วแต่ความเสี่ยงก็ยังคงมีอยู่ พบว่าผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดสูงขึ้น 10 เท่า ยิ่งสูบมาก สูบนาน ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้รวมถึงผู้ได้รับควันบุหรี่ด้วย (ร้อยละ 30 ของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ตายจากมะเร็งปอด จะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่)

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo