General

อย่าหากิน! แพทย์เตือนกินค้างคาว แหล่งรังโรค อันตราย เสี่ยง ‘อีโบลา-นิปาห์’

หมอเตือน อย่าเชื่อคอนเทนต์กินค้างคาว เป็นสัตว์แหล่งรังโรค เสี่ยงติดเชื้อทั้ง “อีโบลา-ไวรัสนิปาห์” และอาจติดเชื้อโควิด-19 ได้

จากกรณีมีผู้ทำคอนเทนต์เมนูสุดสยอง กินค้างคาว โดยอ้างว่าเป็นอาหารที่คนพื้นถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นั้น

กินค้างคาว

ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า การเข้าป่าไปหาของแปลก สัตว์แปลกมารับประทานมีอันตรายอย่างแน่นอน โดยสัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติเป็นแหล่งรังโรคที่มนุษย์ยังไม่เคยสัมผัส ซึ่งบางชนิดก็ติดเชื้อจากสัตว์มาสู่คนได้

สำหรับค้างคาว ถือเป็นสัตว์ที่มีไวรัสมาก เช่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีโบลา ไวรัสนิปาห์ ทื่ทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบ รวมถึงไวรัสโคโรนา ที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ได้ด้วย และอีกหลายตัว ดังนั้น ไม่ควรไปสัมผัสกับค้างคาว เพราะสัตว์รังโรคมักไม่แสดงอาการป่วย

นอกจากนี้ ยังไม่ควรทานสัตว์ป่าทุกชนิด เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อไวรัสตั้งแต่ขั้นตอนการเข้าไปจับ เช่น ค้างคาวที่อยู่ในถ้ำ เป็นระบบปิด อยู่กันเป็นกลุ่มก้อน ขับถ่ายอยู่ถ้ำ ก็มีโอกาสสัมผัสเชื้อได้ เพราะเจอว่ามีเชื้อไวรัสโคโรนาที่อยู่ในปัสสาวะค้างคาว แต่ยังไม่กระโดดมาคน

หมอโอภาส พุทธเจริญ
ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ

วันหนึ่งถ้าไวรัสเก่งขึ้น ก็กระโดดมาคนได้ ที่ผ่านมา มีรายงานพบเชื้อโรคฮิสโตพลาสโมซิส ทำให้เกิดเชื้อราในคนที่เข้าไปในถ้ำค้างคาว เกิดภาวะปอดอักเสบ

ปัญหาของโรคที่มาจากสัตว์ป่า จะพบในทวีปแอฟริกามาก เพราะเป็นประเทศที่ไม่ได้เลี้ยงไก่ หมู แต่นิยมล่าสัตว์ป่ามากิน ขณะที่ประเทศไทยมีสัตว์เลี้ยง มีแหล่งอาหารจำนวนมาก จึงไม่ควรไปยุ่งกับสัตว์ป่าให้เกิดความเสี่ยง

ที่ผ่านมา รพ.จุฬาฯ ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มากว่า 10 ปี เพื่อสำรวจสัตว์ป่า ดูว่ามีโอกาสเกิดเชื้อไวรัส หรือโรคอะไรที่กระโดดมาคนหรือไม่

ตากการสำรวจค้างคาวในไทย พบว่า มีเชื้อคล้ายกับไวรัสซาร์สโคฟ (Sars-CoV) เพียงแต่ยังไม่กระโดดจากสัตว์มาคน แต่หากวันหนึ่งที่ไวรัสพร้อม ก็อาจทำให้เกิดโรคได้ ดังนั้น ก็จะมีความเสี่ยง ซึ่งจริง ๆ พบได้มาก อย่างที่ประเทศลาวมีรายงานใกล้เคียงกับไทย

ดังนั้น จึงขอแนะนำว่า ไม่ควรนำค้างคาวมารับประทาน เพราะมีโอกาสจะที่ปนเปื้อนเชื้อโรคได้ ขนาดนักวิจัยที่ไปเก็บตัวอย่างสัตว์ป่า ยังต้องสวมชุดป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ซึ่งคนทั่วไปแทบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเลย จึงเสี่ยงอันตรายได้ รวมถึงการกินอาหารไม่สุกก็มีโอกาสติดเชื้อโรคทั้งแบคทีเรียและไวรัส

โอไมครอน
นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์

ด้าน นพ.จักรรัฐ พิทยาวงค์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า พฤติกรรมการรับประทานค้างคาว ถือว่าไม่ควรรับประทาน เนื่องจากค้างคาวเป็นสัตว์ป่า และปกติ มีโซนาร์ในตัว ประกอบกับเป็นสัตว์ที่บินสูง ไม่น่าที่จะจับมารับประทานได้ง่าย ถ้าจับได้ง่าย หรือตกลงกับพื้นที่ แสดงว่าค้างคาวตัวนั้นอาจเป็นโรค

การติดเชื้อจากค้างคาวก็เหมือนกับการติดเชื้อไข้หวัดนก ที่ไม่ได้เป็นการติดเชื้อจากรับประทาน เพราะการปรุงสุกเชื้อก็ตายหมด แต่เป็นการติดเชื้อระหว่างกันปรุงมากกว่า เพราะขั้นตอนการปรุง ต้องจับถอนขน สัมผัสสารคัดหลั่ง ก็อาจเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อทั้งไวรัส และแบคทีเรีย

สำหรับเชื้อไวรัสอันดับที่ 1 ที่จะพบได้ในค้างคาว ได้แก่ นิปาห์ไวรัส (Nipah) รองลงมา โคโรนาไวรัส ซึ่งการติดเชื้อนิปาห์ไวรัส นั้น เคยมีการเกิดขึ้นในประเทศมาเลเซีย และมีคนเสียชีวิต โดยค้างคาวไปแพร่เชื้อในหมู และคนก็ติดเชื้อจากหมู โดยลักษณะหมูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ก็มีความคล้ายกับคน

ดังนั้นไม่จำเป็นอย่าไปกินค้างคาว ควรรับประทานอย่างอื่นดีกว่า เพราะปกติลำพังมูลค้างคาวก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo