General

ด่วน! แรงงานไทยในอิสราเอล เสียชีวิตพุ่งเป็น 20 ศพ ถูกจับเพิ่มเป็น 14 ราย ขอกลับไทย 5,019 ราย

กต. แรงงานไทยในอิสราเอล เสียชีวิตพุ่งเป็น 20 ศพ บาดเจ็บเพิ่มเป็น 13 ราย ถูกจับเพิ่มรวม 14 ราย  และขอกลับไทย 5,019 ราย

วันที่ 11 ตุลาคม 2566 น.ส.กาญจนา ภัทรโชค อธิบดีกรมสารนิเทศ และ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ผลกระทบต่อแรงงานไทยในสถานการณ์ความรุนแรงในอิสราเอล

โดยข้อมูลจากแรงงานในพื้นที่พบมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 ราย รวมเป็น 20 ราย ตัวเลขเป็นทางการยังต้องรอการยืนยัน และสถานทูตไทยในกรุงเทลอาวีฟ รายงานผู้บาดเจ็บเพิ่มเติมอีก 4 ราย รวมเป็น 13 ราย ส่วนผู้ที่ถูกจับกุมไปเพิ่มเติมอีก 3 ราย เป็น 14 ราย

แรงงานไทยในอิสราเอล

หลังจากที่มีข่าวว่ามีการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทาง สถานทูตได้ติดต่อกับทางการอิสราเอลทันทีเพื่ออพยพ ซึ่งทางฝ่ายอิสราเอลแสดงก็ได้แสดงความเสียใจอย่างยิ่งและไม่อยากให้เกิดเหตุ และขอให้เข้าใจข้อจำกัดที่จะอพยพโยกย้ายออกมา แต่พยายามอย่างเต็มที่

และสำหรับน้ำดื่ม เสบียง อาหารต่างๆก็ได้ยินมาว่ามีความยากลำบาก แต่การช่วยเหลือต้องมาจากทางการอิสราเอลและ ทางทหารที่จะเข้าไปในพื้นที่ซึ่งทางการอิสราเอลก็พยายามอยู่ โดยขณะนี้ได้มีการอพยพแรงงานไทยมาอยู่ในศูนย์พักพิงพื้นที่ปลอดภัยได้อีกหลายร้อย และทางทูตและข้าราชทูตได้เข้าไปเยี่ยมเยียนแล้ว

แรงงานไทยในอิสราเอล

ทุกฝ่ายพยายามเจรจาให้ปล่อยตัวประกัน

ส่วนเรื่องของการเจรจากับกลุ่มฮามาสให้ปล่อยตัวประกันนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทุกประเทศพยายามเพื่อให้ยุติความรุนแรง โดยสามารถเจรจากับชาติไหนได้ก็จะเจรจา เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้น กับพลเรือนทั้งสองฝั่งทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมถึงชาติอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบก็พยายามเจรจาให้ปล่อยตัวประกัน

ส่วนความปลอดภัยของตัวประกันยอมรับว่ายืนยันยากมาก คงไม่สามารถยืนยันได้ 100% ซึ่งกลุ่มฮามาส แจ้งว่า จับตัวประกันไปรวมทุกชาติประมาณ 150 คนน่าจะกระจัดกระจาย ตามที่ต่างๆ แต่เท่าที่ทราบกลุ่มชาวต่างชาติไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย

แรงงานไทยในอิสราเอล

การอพยพแรงงานไทยในอิสราเอลกลับบ้าน

สำหรับการอพยพคนไทยรอบแรก 15 คน จะมาถึงเมืองไทยวันที่ 12 ตุลาคม เวลาประมาณ 10:35 น. และขณะนี้มีพี่น้องแรงงานที่ประสงค์จะกลับไทยเพิ่มเติมรวม 5,019 ราย และแสดงความประสงค์ไม่กลับ 61 ราย จากแรงงานทั้งหมด 30,000 กว่าราย

ส่วนที่เหลืออาจจะอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยหรืออยู่ระหว่างการตัดสินใจ หรือบางคนที่อพยพออกมาอยู่ในที่ปลอดภัยแล้วก็เปลี่ยนใจไม่กลับ ดังนั้นตัวเลขจึงอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง

ซึ่งขณะนี้กำลังเตรียมการจองที่นั่งบนสายการบินพาณิชย์ 18 ตุลาคม ราว  80 ที่นั่ง ขณะที่เครื่องของกองทัพอากาศกำลังขออนุญาตบินผ่านน่านฟ้าของประเทศต่างๆจึงต้องใช้เวลา และในพื้นที่ก็ต้องมีการนัดหมายกับพี่น้องคนไทย เรื่องการเดินทางมาสนามบิน ซึ่งก็ต้องดูว่าวิธีว่าจะเดินทางด้วยวิธีใดได้บ้าง

ทั้งนี้ ขอให้มั่นใจว่าจะพยายามดำเนินการอพยพอย่างเร็วที่สุดแต่มีหลายปัจจัย เพราะประเทศที่ อพยพและสำเร็จแล้วส่วนใหญ่จะเป็นประเทศยุโรปซึ่งอยู่ใกล้ ในการเดินทาง และ บางส่วนไม่ได้เป็นแรงงานในพื้นที่ที่ เกิดการสู้รบ ดังนั้นการเคลื่อนย้ายและรวมคนในที่ปลอดภัย จะสะดวกกว่า

น.ส.กาญจนา ยังกล่าวถึงที่มีการเผยแพร่ในสื่อโซเชียล ว่าแรงงานไทยถูกบังคับให้ทำงานในสภาวะสงคราม ทางทูตได้ประสานไปทางนายจ้างและทางการอิสราเอลที่โยกย้ายคนไปในพื้นที่อื่น ซึ่งทางฝ่ายอิสราเอล แจ้งว่าเป็นการโยกย้ายจากพื้นที่ไม่ปลอดภัย ไปทำงานในที่ปลอดภัย เพื่อแรงงานจะได้มีรายได้ แต่ก็เข้าใจถึงสภาวะความตึงเครียดความกดดัน ซึ่งท่านทูตได้แจ้งทางผู้จ้างงานว่า คงต้องให้เวลากับพี่น้องแรงงานด้วย ไม่ใช่ย้ายออกมาแล้วให้ทำงานทันที เพราะส่งผลต่อสภาพจิตใจ

“ทางทูตบอกว่ากรณีนี้ไม่น่าจะเป็นการขายแรงงานไทยให้ผู้จ้างงานรายอื่น และเชื่อว่าแรงงานมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธได้ หากสภาพจิตใจยังไม่พร้อม และส่วนตัวคิดว่านายจ้างไม่น่าจะบังคับให้ไปทำงานหากอยู่ในสภาวะเสี่ยง” นางกาญจนา กล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo