General

วอนประหยัดน้ำ ‘2 อำเภอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์’ ประปาเข้าขั้นวิกฤต น้ำดิบเหลือใช้แค่ 2 สัปดาห์

วอนประชาชนประหยัดน้ำ “อำเภอบางสะพานน้อย-บางสะพาน” ประจวบคีรีขันธ์ ประปาเข้าขั้นวิกฤต น้ำดิบเหลือใช้แค่ 2 สัปดาห์

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (สอนช.) รายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2566 ดังนี้

ประหยัดน้ำ

มาตรการรองรับฤดูฝน

  1. ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566

กรมทรัพยากรน้ำ สำรวจข้อมูลทางอุทกวิทยา ในพื้นที่ลำน้ำปัว อำเภอปัว ลำน้ำกอน อำเภอเชียงกลาง และลำน้ำฟ้าอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน เพื่อเก็บข้อมูลระดับน้ำ ปริมาณน้ำ และปริมาณตะกอนแขวนลอย เพื่อเป็นฐานข้อมูลทางสถิติอุทกวิทยาในการพิจารณาวางโครงการ สำหรับการวิเคราะห์แหล่งน้ำหาจำนวนน้ำต้นทุน การศึกษาการผันแปรลักษณะทางอุทกวิทยา และการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์น้ำทั้งในช่วงฤดูน้ำหลากและน้ำแล้ง

รวมทั้งซักซ้อมความเข้าใจแก่พนักงานเก็บข้อมูลด้านอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยา ในการอ่านค่าระดับน้ำจากไม้วัดระดับน้ำ และรายงานข้อมูลภาคสนามที่ถูกต้องด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ดเข้าสู่ระบบ ทำให้ทราบถึงข้อมูลระดับน้ำที่อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการตรวจสอบและบำรุงรักษาสถานีอุทกวิทยา-อุตุนิยมวิทยาที่ติดตั้งในพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพและพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา

ประหยัดน้ำ

ฝนลดลง แต่ยังมีตกหนักบางแห่ง

  1. สภาพอากาศ

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง

วอนประหยัดน้ำ บางสะพาน ประจวบฯ น้ำประปาวิกฤต

  1. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์

สทนช ติดตามปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา ของ กปภ.สาขาบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า อ่างเก็บน้ำช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการผลิตประปา ปัจจุบันเหลือปริมาณน้ำน้อย คาดว่าจะสามารถใช้ผลิตน้ำประปาได้ประมาณ 2 สัปดาห์ และอาจส่งผลกระทบ “เข้าขั้นวิกฤต” ต่อการให้บริการน้ำประปาในพื้นที่อำเภอบางสะพานน้อยและอำเภอบางสะพาน

ซึ่ง กปภ.สาขาบางสะพาน ได้ดำเนินการลดแรงดันน้ำในเขตพื้นที่ให้บริการดังกล่าวแล้วเพื่อบรรเทาผลกระทบ พร้อมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้น้ำได้รับทราบสถานการณ์และขอความร่วมมือให้ใช้น้ำอย่างประหยัด

ประหยัดน้ำ

2 จังหวัดเสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม

  1. การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มล่วงหน้า 3 วัน

สทนช. ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม จำนวน 2 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดจันทบุรี (อำเภอขลุง เขาคิชฌกูฏ และเมืองจันทบุรี) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่  และเขาสมิง)

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo