General

‘ทนายตั้ม’ ยอมรับออกใบ ‘ค่าแถลงข่าว’ 3 แสนจริง เป็นค่าเสี่ยงถูกฟ้องกลับ

“ทนายตั้ม” ยอมรับออกใบ “ค่าแถลงข่าว” 3 แสนจริง เป็นค่าเสี่ยงถูกฟ้องกลับ สวน “ชูวิทย์” แตะเรื่องส่วนตัว ย้อนถามมีเงินเยอะเอาไปดูแลครอบครัวผิดหรือ

วันที่ 27 มีนาคม 66 นายษิทรา เบี้ยบังเกิด แถลงโต้กลับ พร้อมเปิดเผยหลักฐาน กรณีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ โพสต์เฟซบุ๊กเป็นภาพใบเสนอราคาค่าแถลงข่าว 3 แสนบาทในชื่อของบริษัทนายษิทรา โดยเริ่มด้วยการทำท่าเลียนแบบคล้ายนายชูวิทย์ในลักษณะชี้นิ้วและ ทำหน้าตึง

ทนายตั้ม

นายษิทรา เผยว่า ย้อนกลับไปปี 2547 หลังตนเรียนจบเนติบัณฑิตและเป็นทนายความ ได้ให้คำปรึกษาและให้ความรู้ประชาชนทางกฎหมายโดยไม่เสียเงิน และได้ช่วยเหลือครอบครัวหนึ่งก่อนได้รับคำชมว่า “สมกับเป็นทนายประชาชน” ตนเห็นว่าเท่ดี ก่อนจะนำมาทำเสื้อ และตั้งมูลนิธิคอยให้คำปรึกษาและบรรยายข้อกฎหมาย กระทั่งตนมามีชื่อเสียงจากคดีหวย 30 ล้านบาท

ต่อมา คดีของลุงพล ไชยพล วิภา ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนทำให้ตนไม่มีงานเลยเป็นเวลา 6 เดือน จนครอบครัวต้องลำบาก ก่อนเปลี่ยนแนวคิดหันมาทำธุรกิจเปิดบริษัทษิทราลอว์เฟิร์ม เป็นเวลา 1 ปี มีคดีความนับพันคดี

ตอนนั้นลูก และครอบครัวและผมเองก็ลำบาก อยากกินอะไรก็ไม่ได้ เพราะไม่มีเงิน “ นายษิทรากล่างน้ำตาคลิและขอเบรคชั่วคราวโดย บอกว่า มันจุกอกกับคำพูดของลูกที่พูดว่า “ป๊ะป๊าทำให้แต่คนอื่น”

นายษิทรา ยอมรับว่า มีคดีที่ตนเรียกเก็บเงินจริง แต่ไม่ใช่ทุกคดี เว้นแต่เป็นคดีที่ต้องต่อสู้กับผู้มีอิทธิพล ซึ่งลูกความต้องมีกำลังจ่าย และตนจะถูกฟ้องร้องแน่ ยกตัวอย่างคดีความขัดแย้งในครอบครัวอดีตรองนายกฯ ย.และอีกคดีที่เรียกเก็บเงินคือคดีที่ ไฮโซสาว น.ส.ช่อฉัตร โตชูวงศ์ เจ้าของบริษัทรับผลิตจำหน่ายน้ำยางพารารายใหญ่ฟ้องร้องกับพรรคภูมิใจไทย เป็นเงิน 3 แสนบาท จนตนถูกฟ้องร้อง ต้องเดินทางไป จ.นครพนม ดังนั้นจึงคิดค่าแถลงข่าวและการติดตามเรื่องโดยทำในรูปแบบของใบเสนอราคา

ภาพใบเสนอราคาดังกล่าวที่นายชูวิทย์ โพสต์เป็นเหตุการณ์วันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา มีนายตี้ ที่เกี่ยวข้องกับเว็บพนันมาปรึกษาตนว่า มีญาติกดโทรศัพท์ตัวเองโอนเงิน 40 ล้านบาทเข้าเว็บพนัน จึงต้องการให้ตนตามเรื่องกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บช.สอท.) แต่เรื่องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับนายตำรวจใหญ่ ตนจึงเรียกเงินค่าแถลงข่าว และเก็บเพิ่มอีก 15 เปอร์เซ็นต์ แต่เรื่องนี้ไม่ได้ตกลงกัน และผู้เสียหายจึงไปพบทนายเดชา กิตติวิทยานนท์ แทน แบะใบเสนอราคากลายเป็นที่มาของการแฉครั้งนี้ ยืนยันตนไม่ได้ ‘ไถเงิน’ ส่วนคดีอื่นๆ ที่ไม่เก็บเงินเช่นคดีน้องพอร์ช yes indeed ที่ทำผิดสัญญาค่ายเพลง ซึ่งตนก็ถูกฟ้อง แต่ก็ไม่ได้เรียกเก็บเงิน

นายษิทรา ยอมรับว่าตนเรียกเงินแพงเพราะทุกคนทราบดีว่าตัวเองจริงจังและตามคดีถึงที่สุด ในเมื่อลูกความมาพึ่งตนแล้ว หากโดนฟ้องก็ต้องโดนด้วยกัน ถือเป็นคติของตน ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ ปกติตนคิดเงินค่าโทรศัพท์ปรึกษากับทีมงานเป็นเวลา 20 นาที ราคา 1,000 บาท ปรึกษากับตน 1,500 บาท หากมาพบตนที่สำนักงานครึ่งชั่วโมง 3,000 บาท ยืนยันว่าโปร่งใส สามารถตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ เพราะเสียภาษีอย่างถูกต้อง ไม่ผิดมารยาททนายความ เพราะถือเป็นเรื่องปกติ เพราะตนยังทราบด้วยว่า มี ‘ทนายหญิง’ คนหนึ่งเก็บเงินค่าออกรายการโทรทัศน์ดังถึง 3 แสนบาท

นายษิทรา ยืนยันด้วยว่า ไม่ได้เงินจากการแฉเรื่องนายชูวิทย์ รับเงิน 6 ล้านบาท เพียงแต่ตนทราบข้อมูลมา ทั้งนี้ ยืนยันว่าจะยังเรียกเก็บเงินค่าแถลงข่าวลักษณะดังกล่าวต่อไป เพียงแต่ต้องเปลี่ยนถ้อยคำจากค่าแถลงข่าวเป็นค่าดำเนินการติดตามเรื่องและเงินสำหรับการถูกฟ้องร้อง

นายษิทรายังยืนยันว่าไม่ได้หลอกใช้สื่อ และไม่กลัวว่าสื่อจะไม่มานำเสนอข่าวให้ตัวเอง เพราะที่ผ่านมาพูดกับลูกความแล้วว่าตนเองจะเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด จึงไม่เคยแจ้งสื่อมาก่อนหน้านี้ และหลังจากนี้เวลาแจ้งหมายข่าวจะระบุด้วยว่าคดีไหนได้รับเงินค่าแถลงข่าวหรือไม่ ที่ผ่านมามีทั้งคนจนและรวยที่มาปรึกษาแต่ตนไม่ได้เก็บเงินทั้งหมด

ส่วนเรื่องการเปลี่ยนรูปลักษณ์และรสนิยมการใช้ชีวิตของตัวเองก็เพราะมีฐานะมากขึ้น จึงอยากให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ถือเป็นเรื่องผิดแปลก เพราะตัวเองยืนยันว่าทำธุรกิจโดยสุจริต ยอมรับว่าลูกความเคยมอบของขวัญ นอกจากเงินให้เป็นเสื้อราคา 2 หมื่นบาท

ขอบคุณข้อมูล สรยุทธ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo