General

เปิดกลโกง ‘แชร์ลูกโซ่’ สังเกตอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

เปิดกลโกง “แชร์ลูกโซ่” 7 ประเภทยอดฮิต สังเกตอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

ช่วงวิกฤตการเงินแบบนี้ ถือเป็นนาทีทองของมิจฉาชีพ เพราะรู้ว่าคนลำบาก อยากรวยทางลัดกันเยอะ แชร์ลูกโซ่ จึงเป็นวิธีโกงที่อยู่ในไทยมายาวนาน คดีดังๆยุคแรกก็ต้องยกให้ แชร์ลูกโซ่ forex-3d หากเราไม่มีสติก็อาจตกเป็นเหยื่อสูญเงินได้ วันนี้มีวิธีสังเกตมาฝากว่า คุณกำลังถูก แชร์ลูกโซ่ หลอกอยู่รึเปล่า

แชร์

พฤติกรรมของแชร์ลูกโซ่

1. แชร์ลูกโซ่ ไม่ใช่ ขายตรง

ธุรกิจขายตรงๆจริงๆมีอยู่แต่ไม่ใช่แชร์ลูกโซ่นะเขาเน้นขายสินค้าคุณภาพดีตรวจสอบได้ตรงถึงบ้านถ้าเป็นบริษัทในประเทศไทยต้องเช็คข้อมูลได้

ที่เว็บไซต์ของ Set.or.th ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) ​SEC CHECK FIRST   ลองเอาชื่อบริษัทไปตรวจสอบ ถ้าไม่พบรายละเอียด โดนหลอกแล้ว

2.การันตีผลตอบแทนสูงมาก

10-90%ต่อเดือน เช่น ลงทุน 1,000 บาท 1 เดือน  = 1,900 (กำไร 90%) สถาบันการเงินยังทำไม่ได้ และไม่เคยการันตีผลตอบแทน ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ผลตอบแทนในอดีตไม่ได้เป็นตัวการันตีอนาคต เพราะฉะนั้น การลงทุนที่ไหนการันตีผลตอบแทน ร้อยทั้งร้อน หลอกลวง แน่นอน

3.เน้นหาสมาชิกเพิ่มไม่เน้นขายของ

 เวลาถามไปไม่มีสินค้าจริง ข้อมูลบริษัทจับต้องไม่ได้ เพราะแท้จริงเขาเอาเงินค่าสมัครแรกเข้าจ่ายวนไปให้คนเก่าหมุนไปไม่รู้จบไม่ได้เอาไปลงทุนพอหลอกเหยื่อรายใหม่ไม่ได้ก็คือเกม

4.ให้ผลตอบแทนในครั้งแรก จากนั้น ไส้เลื่อน

บางคนลงทุนไป 2 ครั้ง  ก็ได้ผลตอบแทน เป๊ะๆ แต่รู้หรือไม่ ว่ามันเป็นแผนหลอกให้คุณตายใจ ถ้าเขาหลอกคุณตั้งแต่ครั้งแรก เขาก็ได้เงินน้อย พอคุณเชื่อใจ ก็จะลงทุนเพิ่มไม่อั้น แถมไปชวนเพื่อนมาให้อีก ทีนี้ล่ะ เริ่มโดนเลื่อนจ่าย สารพัดคำหวาน หว่านล้อมให้เรารอ รู้ไว้เลย อาจกำลังถูกหลอกแล้ว

จุดสังเกตก่อนลงทุน

  1. แอบอ้างชื่อ ภาพ โลโก้หน่วยงาน บริษัท หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือในการโฆษณาชวนเชื่อ โดยที่เพจหรือโฆษณาดังกล่าวไม่ใช่เพจหรือเว็บไซต์จริงของหน่วยงานนั้น
  2. เสนออัตราผลตอบแทนการลงทุนที่จูงใจและสูงเกินจริง ยิ่งผลตอบแทนสูงมากและยังได้มาง่ายๆด้วยนั้นยิ่งเสี่ยงที่จะเป็นมิจฉาชีพมากขึ้น
  3. ที่มาของผลตอบแทนที่สูงๆเหล่านั้น ไม่ชัดเจนว่ารายได้เหล่านั้นมาจากแหล่งไหนกันแน่
  4. ช่องทางการติดต่อส่วนใหญ่เป็นการคลิกเข้าสู่ แชท messenger ไม่มีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างชัดเจน
  5. ถ้าเห็นโฆษณาหลอกลงทุน ไม่ต้องคลิก ไม่ต้องแชร์ แล้วก็กด report ปิดกั้นการมองเห็นดังกล่าวด้วย

แชร์ลูกโซ่ 7 ประเภทยอดฮิต รู้ไว้ ไม่โดนหลอก Web

แชร์ลูกโซ่ 7 ประเภทยอดฮิต

  1. แอบอ้างชื่อผู้มีอิทธิพล มีอำนาจ มีชื่อเสียง เพื่อให้คนหลงเชื่อ
  2. แฝงมากับ social media มักใช้ข้อความล่อเหยื่อ เช่น ผู้ที่รักงานสบาย ชอบทำงานง่าย ๆ
  3. ดึงดูดคนด้วยอัตราแลกเปลี่ยน หลอกให้ลงทุนในตลาดอัตราและเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างประเทศ
  4. ล่อคนด้วยสินค้าเกษตร โดยล่อเหยื่อให้มาลงทุนในกองทุนสินค้าเกษตรที่ลงทุน แต่ไม่ลงแรง
  5. หลอกว่าจะได้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ ขายฝันระดมทุนตั้งบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยให้สิทธิ์ในการถือหุ้นบริษัท
  6. อวดอ้างสรรพคุณรักษาโรค หลอกชาวบ้าน ผู้เจ็บป่วย ด้วยสินค้ารักษาทุกโรค
  7. หลอกให้ทำบุญ หลอกเหยื่อผู้มีจิตศรัทธาว่าจะได้ทั้งบุญ ได้ทั้งเงิน แต่สุดท้ายถูกเชิดเงิน

ขอบคุณข้อมูล PCT Police

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo