COVID-19

ไขข้อข้องใจ ทำไมต้องแยกสายพันธุ์ย่อย ‘ซุบโอไมครอน’ ให้ได้รวดเร็วภายใน 24-48 ชั่วโมง

ศูนย์จีโนม เผยความสำคัญของการตรวจโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่อุบัติขึ้นมาใหม่ในกลุ่ม “ซุบโอไมครอน” ภายใน 24-48 ชั่วโมง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ถึงความสำคัญของการตรวจโอไมครอนกลุ่ม ซุบโอไมครอน ให้ได้ภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยระบุว่า

ซุบโอไมครอน

การตรวจโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่อุบัติขึ้นมาใหม่ในกลุ่มของ ซุบโอไมครอน ภายใน 24-48 ชั่วโมงเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันและรักษาแบบมุ่งเป้า (precision medicine)

คาดว่าต่อไปอาจมีความจำเป็นต้องทราบว่าเชื้อโควิด-19 ที่กำลังระบาดในกลุ่มประชากรเป็นสายพันธุ์ใด เพราะการป้องกันด้วยวัคซีน การรักษาด้วยเม็ดต้านไวรัส และยาฉีดแอนติบอดีสำเร็จรูปจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาต่อสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน (precision medicine)

ปัจจุบันการตรวจสอบไวรัสโคโรนา 2019 ทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญคือ PCR และการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม มีค่าใช้จ่ายสูงในเกือบทุกประเทศถูกปรับลดจำนวนการตรวจลงอย่างมาก เนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณ

โดยมีการนำการตรวจ ATK มาตรวจการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในราคาย่อมเยาประมาณ 150-300 บาทต่อตัวอย่าง และสามารถตรวจได้ด้วยตนเอง

จีโฯม สายพันธุ์ในไทบ

อย่างไรก็ดี ATK บอกได้เพียงว่า ไวรัสที่มากับตัวอย่างนั้นเป็น ไวรัสโคโรนา 2019 หรือไม่ ไม่สามารถระบุว่าเป็นสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่สายพันธุ์ใด

การใช้ PCR ซึ่งมีต้นทุนที่สูงกว่า ATK ประมาณ 800-1200 บาท มีความไวและความจำเพาะที่สูงกว่าการตรวจ ATK นิยมใช้ในการตรวจเพื่อยืนยันผลของ ATK ก่อนการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบา

อย่างไรก็ตาม PCR ตรวจจีโนมของไวรัสได้เพียง 1-4 ตำแหน่ง ทำให้ไม่สามารถแยกสายพันธุ์ย่อยที่อุบัติใหม่ได้

ในขณะที่การถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมด้วยเทคโนโลยี NGS แม้จะตรวจได้ทั้งจีโนม (30,000 เบส) และสามารถแยกสายพันธุ์หลัก สายพันธุ์ย่อยทุกสายพันธุ์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต ออกจากกันได้แต่ก็มีต้นทุนสูงประมาณ 3,500-4,500 บาทต่อตัวอย่าง

อีกทั้งมีระยะเวลาในการดำเนินการ (turnaround time) นานประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งอาจไม่ทันต่อการควบคุมและรักษาโรคโควิด-19

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ได้พัฒนาการตรวจไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 40 ตำแหน่งด้วยเทคโนโลยี Mass array genotyping เพื่อตรวจจับสายพันธุ์โอไมครอนในกลุ่มของ ซุบโอไมครอน ที่พบมีการระบาดในประเทศไทย

จีโนม เทคโนโลยี

กล่าวคือ โอไมครอนสายพันธุ์หลัก BA.2, BA.2.75, BA.4, BA.5 และมีการออกแบบเพิ่มเติมสำหรับตรวจสอบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยคือ BA.2.75.2, BQ.1, BQ.1.1, XBB, XBB.1, BF.7 ซึ่งจะแล้วเสร็จให้บริการได้วันที่ 1 ธันวาคม 2565

โดยมีต้นทุนใกล้เคียงกับการตรวจด้วย PCR และมีระยะเวลาในการดำเนินการ (turnaround time) ประมาณ 24-48 ชั่วโมง

การแยกสายพันธุ์ให้ได้อย่างรวดเร็วภายใน 24-48 ชั่วโมงมีประโยชน์อย่างไร

1. แยกความแตกต่างของอาการจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (variant-specific symptom) ระหว่าง สายพันธุ์ดั้งเดิม อู่ฮั่น อัลฟา เดลตา โอไมครอน BA.1 และ BA.2 อันเนื่องมาจากภูมิหลังของผู้ติดเชื้อที่แตกต่างกันจากการติดเชื้อตามธรรมชาติและการได้รับการฉีดวัคซีน

จีโนม อู่ฮันโอไมครอน

  • พบ ความเกี่ยวข้อง (association) ของโอไมครอน BA.1 และ BA.2 ที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียหรือการเปลี่ยนแปลงของกลิ่น รสชาติ รวมถึงการเบื่ออาหาร ลดลง ต่างจากไวรัสโคโรนา 2019 ดั้งเดิม อู่ฮั่น, อัลฟา, และ เดลตาที่มีความสัมพันธ์กับอาการสูญเสียหรือการเปลี่ยนแปลงของกลิ่น รสชาติ และการเบื่ออาหาร อย่างชัดเจน
  • โอไมครอน BA.1 และ BA.2 มีอาการที่ไม่รุนแรงคล้ายหวัดและไข้หวัดใหญ่ กล่าวคือมีอาการ ปวดหัว, น้ำมูกไหล, จาม, คัดจมูก, เสียงแหบ, และ เจ็บคอ อันเป็นอาการของการติดเชื้อไวรัสใน ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่เด่นชัดมากกว่า ไวรัสโคโรนา 2019 ดั้งเดิม อู่ฮั่น อัลฟา เดลตา ซึ่งมีอาการติดเชื้อรุนแรงมากกว่าเพราะมีการติดเชื้อ ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น ปอด
  • การติดเชื้อโอไมครอน BA.2 แม้มีอาการไม่รุนแรงแต่กลับพบอาการที่หลากหลายมากขึ้นทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมประจำวันมากกว่าเมื่อเทียบกับโอไมครอน BA.1

2. การหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อตามธรรมชาติ

พบว่า โอไมครอนสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อย มีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยวัคซีน และติดตามมาด้วยการติดเชื้อตามธรรมชาติ (hybrid immunity) ที่แตกต่างกัน

3. การดื้อต่อยาฉีดแอนติบอดีที่ใช้สร้างภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปใช้กับผู้ติดเชื้อกลุ่มเปราะบางที่ร่างกายสร้างภูมิกันได้น้อยหรือบกพร่องเพื่อป้องกันหรือรักษาการติดเชื้อโควิด

แอนติบอดี

ประเทศไทยมีการจัดเตรียมแอนติบอดีสำเร็จรูป แบบ Long Acting Antibodies (LAAB) ที่มีชื่อว่า อีวูชีลด์ (Evusheld) เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มประชาชนเปราะบาง โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ไม่ดี

เช่น ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ปลูกถ่ายอวัยวะ ปลูกถ่ายไขกระดูก หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้โดยยาอีวูชีลด์ สามารถใช้รักษาการติดเชื้อสายพันธุ์ BA.5*, BA.2.75* และสายพันธุ์ลูกผสม XBC (ยังไม่พบในประเทศไทย) ได้ดี

ส่วนโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BQ.1,BQ.1.1, XBB, และ XBB.1 จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่าดื้อต่อแอนติบอดีสำเร็จรูป อีวูชีลด์ อาจต้องเปลี่ยนไปใช้แอนติบอดีค็อกเทลที่มีศักยภาพสามารถยับยั้งไวรัสโคโรนา 2019 หรือ SARS-CoV-2 ได้ทุกสายพันธุ์ (Broadly Neutralizing Monoclonal Antibodies) อาทิ แอนติบอดีค็อกเทล SA55 และ SA58 ซึ่งผลจากห้องปฏิบัติการพบว่าสามารถยับยั้ง ไวรัสโคโรนา 2019 ได้ทุกสายพันธุ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

จีโนม ภูมิคุ้มกัน

ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันความเสี่ยงของการเจ็บป่วยรุนแรงถึงเสียชีวิตจากโควิด-19 แทบจะเป็น ศูนย์ สำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามกำหนดและผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในทันทีไม่ว่าจะเป็นยาเม็ดหรือยาฉีดภายใต้ดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา

ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขบางประเทศ เช่น เยอรมนี แถลงว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากอาการข้างเคียงรุนแรงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ต้องการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล, มีอันตรายต่อชีวิต, หรือส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอยู่ในอัตรา 0.2 ต่อ 1,000 คน

หากประชาชน (เยอรมัน) ผู้ใดหลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 เกิดผลข้างเคียงดังกล่าว ให้รีบไปพบแพทย์และรายงานอาการไปที่ สถาบันพอล เออร์ลิช อันเป็นสถาบันวัคซีนและชีวการแพทย์แห่งสหพันธรัฐ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo