COVID-19

ภูเก็ตแถลงอาการ ชายป่วย ‘ฝีดาษลิง’ มีไข้ ตุ่มหนอง เร่งตรวจสอบผู้สัมผัส

ภูเก็ตแถลงชายชาวไนจีเรียป่วย “ฝีดาษลิง” ชอบเที่ยวสถานบันเทิง ติดเชื้อแสดงอาการชัดเจน ตรวจสอบผู้สัมผัสแล้ว 142 ราย เชื่อยังอยู่ในประเทศ

จังหวัดภูเก็ตแถลงข่าว กรณีพบผู้ป่วยฝีดาษลิง เป็นเคลสแรกของประเทศ นำแถลงโดย นายพิเชษฐ์ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกุล นพ.สสจ.จังหวัดภูเก็ต นายแพทย์วีระศักดิ์ หล่อทองคำ พล.ต.ต.เสริมพันธุ์ ศิริคง ผู้บังคับการภูธรจังหวัดภูเก็ต

ฝีดาษลิง

นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกุล นพ.สสจ.จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า โรคฝีดาษลิงมีการเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเคลสนี้ไม่ใช่เคลสแรกที่ได้รับแจ้ง ที่ผ่านมาได้รับแจ้ง 3 เคลส แต่ผลตรวจไม่พบเชื้อ สำหรับผู้ป่วยรายนี้ ทราบผลแรปที่ 1 จาก รพ.จุฬาฯ ช่วงที่ทราบผลได้ประสานงานไปถึงผู้ป่วยว่าจะรับมารักษาที่ภูเก็ต ทางผู้ป่วยได้ปฎิเสธ และปิดโทรศัพท์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สาธารณะสุขได้ลงพื้นที่ตรวจหาที่พัก ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. รพ.วชิระเตรียมสถานที่ให้รักษา แต่หายตัวไป

ฝีดาษลิง

“ผู้ป่วยชาย 27 ปี ชาวไนจีเรีย ปฏิเสธการให้ข้อมูล เข้าไทย 21 ต.ค.64 พักที่คอนโดที่ป่าตอง พ.ย.64 จนปัจจุบัน ชอบเที่ยวสถานบันเทิง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมามีเพศสัมพันธ์ เริ่มมีอาการ 9 กค.65 ไข้ เจ็บคอ มีตุ่มหนองที่อวัยวะเพศ ลามไปที่ใบหน้า แขน ขา 16 กค.65 เข้ารับการรักษา ที่รพ.เอกชน” นพ.กู้ศักดิ์ กล่าว

ทีมสอบสวนโรค แกะรอยจากกล้องวงจรปิด ล่าสุดจนถึงขณะนี้พบ สอบสวนสถานบันเทิง 142 คน ผลตรวจวันแรก 7 คนยังไม่พบเชื้อ ส่วนในชุมชนอยู่ระหว่างเก็บตัวอย่าง

ฝีดาษลิง

นายแพทย์วีระศักดิ์ หล่อทองคำ ผู้อำนวยการ รพ.วชิระภูเก็ต กล่าวว่า ป่วยด้วยโรค “ฝีดาษลิง” รายแรกในจังหวัดภูเก็ต ผู้ป่วยรายนี้ยังไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ รพ.วะชิระ เหมือนข่าวที่ลือกันก่อนหน้านี้ ว่าปัจจุบันพบผู้สัมผัสตรวจแล้ว 7 รายผลออกมาไม่พบเชื้อส่วนคนที่เหลืออยู่ระหว่าทำการตรวจ ส่วนของอาการมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณรักแร้ ขาหนีบ ต้องรีบพบแพทย์

อาการและอาการแสดง

ฝีดาษลิง

การปฏิบัติกรณีที่คิดว่าตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเสี่ยง

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหญิงตั้งครรภ์ เด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางในพื้นที่แออัด
  • ติดตามอาการโดยเจ้าหน้าที่ ทุก 7 วันจนครบ 21 วัน

ฝีดาษลิง

โรคนี้รักษาหายหรือไม่?

  • โรคนี้สามารถหายขาดเองได้ภายใน 2-4 สัปดาห์ แต่จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ในผู้ป่วยเด็ก และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยมีอัตราเสียชีวิต ประมาณร้อยละ 0-10
  • ปัจจุบันยังไม่มียารักษาจำเพาะสำหรับโรค Monkeypox แต่อาจจะสามารถรักษาด้วยยาที่ใช้รักษาโรค Smallpox

ฝีดาษลิง

ขอบคุณข้อมูล คลิป Nbt Phuket Thailand 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo