COVID-19

ศูนย์จีโนมฯ พยากรณ์ ‘โอไมครอน BA.4’ จ่อระบาดทั่วโลกแทน BA.2 จับตา BA.2.12-BA.2.12.1

ศูนย์จีโนมฯ เกาะติดไวรัสโคโรนา 2019 คาดโอไมครอน BA.4 จะระบาดไปทั่วโลกแทนที่ BA.2 ในเร็ววันนี้

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics วิเคราะห์ข้อมูลจีโนมไวรัสโคโรนา 2019 พบแนวโน้ม BA.4 จะระบาดไปทั่วโลกแ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ทนที่ BA.2 ในเร็ววันนี้ พร้อมเตือนเฝ้าระวัง BA.2.12-BA.2.12.1 โดยระบุว่า

โอไมครอน BA.4

จากการวิเคราะห์ข้อมูลจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนมากกว่า 10.2 ล้านตัวอย่าง ผ่านโปรแกรม วามได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage)  ของไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อตรวจสอบว่าสายพันธุ์หลากหลายที่ระบาดในพื้นที่ ประเทศ ภูมิภาค หรือทั่วโลกมีสายพันธุ์ใดที่มีแนวโน้มจะเป็นกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่จะระบาดในพื้นที่นั้นในอนาคต โดยแสดงค่าเป็นเปอร์เซ็นต์

หาก เปอร์เซ็นต์สูง แสดงว่าไวรัสสายพันธุ์นั้นมีความสามารถในการแพร่ระบาดที่สูง หาก เปอร์เซ็นต์ต่ำ หรือติดลบ แสดงว่าไวรัสสายพันธุ์นั้น ยุติการกลายพันธุ์และกำลังจะสูญพันธุ์

ความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด จะวัดเป็นสัปดาห์ โดยไวรัสสายพันธุ์เดียวกัน แต่ระบาดในต่างพื้นที่ก็อาจมีค่าเปอร์เซ็นต์ของ relative growth advantage ที่แตกต่างกันได้

หากวิเคราะห์ถึง ความได้เปรียบในการเติบโต-การแพร่ระบาด ของไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2565 ทั่วโลกพบว่า

โอไมครอน BA.4

1. โอไมครอน BA.4 คำนวณจากรหัสพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 จากทั่วโลกมี วามได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด สูงที่สุดคือ 59% รองลงมาคือ BA.2 ประมาณ 41% จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ BA.4 จะระบาดไปทั่วโลกแทนที่ BA.2 ในเร็ววันนี้ (ภาพ 2-3)

2. ประเทศไทยมีโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ซึ่งมี วามได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (คำนวณจากรหัสพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดในไทย) สูงที่สุดคือ 51% รองลงมาคือ BA.1 ประมาณ -21 %

โดยในขณะนี้ BA.2 ได้ระบาดมาแทนที่ BA.1 เป็นที่เรียบร้อย และ BA.1 ในไทยกำลังชะลอการกลายพันธุ์เข้าสู่โหมดของการสูญพันธุ์ (ภาพ4) จากการตรวจสอบรหัสพันธุกรรมที่แชร์ข้อมูลใน GISAID ยังไม่พบ BA.4 และ BA.5 ในประเทศไทย

3. แต่ที่ควรเฝ้าระวังในช่วงนี้เป็นอย่างมากคือ สายพันธุ์ที่รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีโอไมครอน 2 สายพันธุ์ย่อยที่เป็นลูกหลานของ BA.2 คือ BA.2.12 และ BA.2.12.1 ที่มีการระบาดเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว

สายพันธุ์ย่อย BA.2.12.1 ที่นิวยอร์กมีกลายพันธุ์เพียงไม่กี่ตำแหน่งจาก BA.2.12 แต่สามารถส่งผลให้มี วามได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด สูงที่สุด(ในนิวยอร์ก) คือ 96% รองลงมาคือ BA.2.12 ประมาณ 47 % (ภาพ 5) จึงต้องจับตาโอไมครอนสองสายพันธุ์ย่อยอย่างใกล้ชิด ว่าหลุดออกมาจากอเมริกา และระบาดไปทั่วโลกแล้วหรือไม่

ไทย

4. ในประเทศไทยยังไม่พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.12.1 (ภาพ 6)

5. ประเทศไทยพบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.12 ไม่น้อยกว่า 186 ตัวอย่าง (ภาพ 6) แต่โชคดีที่ในประเทศไทย BA.2.12 มี วามได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เพียง 34% (ภาพ 6) ซึ่งน้อยกว่า BA.2 ที่กำลังระบาดเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทยในขณะนี้ ซึ่งมี วามได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด สูงกว่าคือ 51% (ภาพ 4)

ดังนั้น BA.2.12 ไม่น่าจะสามารถระบาดเข้ามาแทนที่ BA.2 ในประเทศไทยได้

6. ส่วนโอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสม XE มี วามได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด ลดเหลือเพียง 17% ในขณะที่เดลตาครอน XD (สายพันธุ์ลูกผสมระหว่างเดลตา AY.4 และโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1) มีต่ำมากในขณะนี้คือ -6% อันหมายถึงสองสายพันธุ์ลูกผสมกำลังชะลอการกลายพันธุ์ และปรับตัวเข้าสู่โหมดสูญพันธุ์ (ภาพ 3)

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo