COVID-19

เคลียร์ให้ชัด กทม.ผ่อนปรนสถานที่ไหนบ้าง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ถึง 23.00 น.

โปรดฟังอีกครั้ง กทม. เคลียร์ชัด ผ่อนปรนการจัดประชุม งานนิทรรศการ จัดเลี้ยง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ถึง 23.00 น. แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิดอย่างเคร่งครัด

หลังจาก กรุงเทพมหานคร (กทม.) ออกประกาศฉบับที่ 51 ที่มีผลตั้งแต่วานนี้ (15 มีนาคม 2565) โดยให้มีการผ่อนปรนการจัดกิจกรรมบางอย่างเพิ่มเติม ล่าสุด กทม. ชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น

ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรุงเทพมหานคร (ศบค.กทม.) ครั้งที่ 10/2565 ได้เน้นย้ำให้ผู้เกี่ยวข้อง เร่งสร้างความเข้าใจให้ประชาชนรับทราบ เกี่ยวกับการออกประกาศกรุงเทพมหานครฯ ฉบับที่ 51

เคลียร์ชัด ผ่อนปรนสถานที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สำหรับประกาศฉบับล่าสุดดังกล่าว ให้มีการผ่อนปรนการจัดกิจกรรมบางอย่างเพิ่มเติม คือ ให้สามารถจัดประชุม สัมมนา หรือการจัดงาน ในโรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ สถานที่ให้บริการห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

ทั้งนี้ ให้สถานที่ดังกล่าว ที่ได้รับการผอนปรน ปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กรที่กำหนด ดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กำหนดอย่างเคร่งครัด

bkk 1

ที่สำคัญคือ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงาน ได้เฉพาะสถานที่ที่ผ่านการตรวจประเมิน หรือ Thai Stop Covid 2 Plus แล้วเท่านั้น และให้บริการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ไม่เกินเวลา 23.00 น.

 

 

ขณะเดียวกัน ให้มีการพิจารณาจำนวนผู้เข้าร่วมงาน ตามความเหมาะสมของสถานที่ ภายใต้แนวทางดำเนินการตามประกาศฯ ฉบับที่ 45 (30 ตุลาคม 2564) ข้อ 6

ส่วนกรณีนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ เจ้าของสถานที่ ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการผู้ร่วมกิจกรรม และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ยังคงต้องดำเนินการตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่ต่อไป

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการรายงานสถานการณโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราคงที่ พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน โดยเริ่มพบการระบาดในสถานที่ทำงานเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อภายในครอบครัว และมีกิจกรรมร่วมกัน โดยเฉพาะกิจกรรมที่มีการถอดหน้ากากอนามัย เช่น การรับประทานอาหาร และการทำงานที่มีความใกล้ชิด

พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์

ขณะที่กรุงเทพมหานครได้เน้นมาตรการการป้องกันบุคคลอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งกำกับติดตามมาตรการ VUCA (Vaccine UP COVID Free Setting ATK) อย่างเข้มงวด ลดการรวมกลุ่ม เน้น Bubble & Seal (BBS) ภายในแคมป์ก่อสร้างโรงงานที่พบการระบาด เร่งรัดการฉีดวัคซีนก่อนเทศกาลสงกรานต์ และเน้นการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในกลุ่ม 608

ปัจจุบัน กทม. ได้มีการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอก (OPD)มาใช้ ทำให้สามารถช่วยแก้ปัญหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตกค้าง ให้สามารถเข้าสู่ระบบการรักษาได้มากขึ้นและรวดเร็วขึ้น

สำหรับ OPD จะเหมือนระบบ Home Isolation (HI) เกือบทั้งหมด ยกเว้นจะไม่มีอุปกรณ์ตรวจประเมิน และไม่มีบริการอาหาร และจะมีการโทรศัพท์ติดตามอาการเพียง 1 ครั้งคือ หลัง 48 ชั่วโมง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo