COVID-19

ตรวจ RT-PCR เฉพาะกรณีจำเป็น ‘หมอนิธิพัฒน์’ เตือนเตรียมรับมือ’ลอง โควิด’

“หมอนิธิพัฒน์” ชี้โควิดไทยใกล้หยุดพีค แนะเลิกตรวจ RT-PCR เหวี่ยงแห เหลือเฉพาะจำเป็น พร้อมเตรียมรับมือ ลอง โควิด เมื่อปรับเป็นโรคประจำถิ่น

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เพจเฟซบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล เรื่อง ใกล้หยุดพีคแบบที่ราบสูงเต็มทีแล้ว? โดยระบุว่า

ลอง โควิด

หลังจากยอดผู้ป่วยรุนแรงเกือบจะไม่เพิ่มเมื่อวาน แต่วันนี้กลับกระดกขึ้นไปใหม่ราว 3% ได้ ส่วนยอดผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจก็ขึ้นไปราว 3% เช่นกัน แต่ยอดผู้ป่วยเสียชีวิตดูจะทรงตัวไม่ทะลุแนวต้านสำคัญที่ 70 คนมาหลายวันแล้ว

ถ้าประมาณการผู้เสียชีวิตได้ถูกต้องที่ราว 0.1% แสดงว่าผู้ติดเชื้อจริงอยู่ที่ระดับเจ็ดถึงแปดหมื่นมาตั้งแต่สัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ ส่งผลให้เดือนนี้มีการเสียชีวิตทะลุ 60 คนมาได้ราวหนึ่งสัปดาห์แล้ว และอาจจะคงที่แบบนี้ไปอีกราวหนึ่งสัปดาห์

ถ้ายอดการติดเชื้อจริงไม่ทะลุแสนไปตามที่สำนักอื่นคาดการณ์กัน เสียดายเราไม่มีการติดตามตัวเลขการติดเชื้อที่แท้จริง โดยที่ใช้กระบวนการสุ่มตรวจหาเชื้อทั้ง RT-PCR และ ATK ในกลุ่มตัวแทนที่มากพอ ไม่จำเป็นต้องตรวจทั้งหมดให้เกิดความสิ้นเปลือง

โดยเฉพาะการตรวจ RT-PCR ที่ควรเหลือแค่สำหรับกรณีที่จำเป็น เช่น ผู้ติดเชื้อกลุ่มเสี่ยงหรืออาการรุนแรงที่ต้องเข้าโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์หรือกลุ่มคนอาชีพอื่นในบางกรณีสำหรับการสอบสวนโรคหรือการออกใบรับรองการติดเชื้อที่มีผลทางกฎหมาย และ การเฝ้าระวังความชุกของการติดเชื้อและการกลายพันธุ์ในชุมชน เป็นต้น

LINE ALBUM Covid atk สถานที่ต่างๆ ๒๒๐๓๑๔ 0

มาแล้วขวัญใจลูกขนไก่ไทยคนใหม่ เมื่อวานเจ้าวิวชนะแบบไม่หวิว กวาดคะแนนสะสมมาได้ 7,000 อันดับโลกน่าจะขยับขึ้นไปอีก 1-2 ที่ได้

ส่วนคู่ผสมแชมป์โลกอย่างบาสและปอป้อ ยังแรงไม่ตก ซิวแชมป์หกรายการรวดติดกัน แถมห้ารายการหลังถือเป็นคลีนชีตโดยไม่เสียเซตให้ใครด้วย นับเป็นหยาดน้ำทิพย์ชะโลมใจให้คนไทยพอชุ่มชื่น ในช่วงหน้าร้อนและอุณหภูมิการเมืองที่กำลังจะระอุ

สัปดาห์หน้าในรายการสำคัญออลอิงแลนด์ที่จัดเป็นตักสิลาหนึ่งของวงการแบดมินตัน เอาใจช่วยพวกเขาและเธอให้ประสบความสำเร็จกันด้วยนะ

แนะเตรียมรับมือ ลอง โควิด หลังปรับสู่โรคประจำถิ่น

เมื่อมองเข้าไปทำความเข้าใจกับการตอบสนองในระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ต่อการเกิดโรคโควิด-19 มันช่างมหัศจรรย์พันลึก เรียกได้ว่าควรยกให้เชื้อก่อโรคนี้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนชะตาโลกในรอบศตวรรษก็น่าจะได้

ใครสนใจเรื่องหนักหัวที่มีคนพยายามสรุปรวบยอดไว้ให้ลองไปอ่านดู หวังว่าความรู้ที่สะสมมานี้จะช่วยให้เราหาแนวทางการผลิตวัคซีนและการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อก้าวข้ามผ่านกับดักโควิดที่ติดกันนุงนังนี้ไปได้เสียที https://www.science.org/doi/epdf/10.1126/science.abm8108

โควิด3

จากความรู้ข้างต้น สามารถเชื่อมโยงไปอธิบายต่อได้ว่า ทำไมบางคนจึงมีอาการหลงเหลือหลังหายจากโควิดแล้ว ถ้ายังไม่ถึงสามเดือน เราก็จะเรียกว่า Post-acute COVID-19 symptoms ซึ่งรวมภาวะ MIS-C ในเด็กเข้าไปด้วยน่าจะได้

มีการศึกษาเล็ก ๆ จากสเปนพบว่า คนที่มีอาการต่อเนื่องนานนี้ พบได้ในรายที่เม็ดเลือดขาวในเลือดสูงไม่ยอมลด คู่ไปกับการตรวจพบสารชีวภาพบ่งชี้การอักเสบที่สูงกว่าปกติเล็กน้อย

ถ้าครบสามเดือนแล้วไม่ยอมหาย เราก็จะเรียกกลุ่มอาการที่เหลือว่า Long COVID syndrome ซึ่งเป็นเรื่องที่วงการแพทย์เตรียมรับมือหลังโควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น เพราะร่องรอยความเสียหายที่เขาทิ้งไว้ คงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะตามล้างตามเช็ดได้หมด

ผู้สนใจในกลุ่มอาการหลังฟื้นตัวจากโควิด ลองหาอ่านเพิ่มเติมกันดูได้จาก https://err.ersjournals.com/…/errev/31/163/210185.full.pdf

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo