COVID-19

มาแน่!! ไฟเซอร์ ไตรมาส 4 เซ็นสัญญาแล้ว 20 ล้านโดส

วัคซีนไฟเซอร์ 20 ล้านโดส เข้าไทยไตรมาส 4 สธ. เซ็นสัญญาแล้ว รวมทั้งได้รับบริจาคจากสหรัฐอีก 1.5 ล้านโดสปลายเดือนนี้ และมีแผนสั่งซื้อเพิ่มเติมอีก 50 ล้านโดส ปีหน้า

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข พร้อมด้วยนายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข และนพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นสักขีพยาน การลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ระหว่างนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ Ms. Deborah Seifert ผู้จัดการบริษัท Pfizer ประเทศไทยและอินโดไชนา เพื่อจัดหาวัคซีนโควิด-19 จำนวน 20 ล้านโดส

วัคซีนไฟเซอร์

ที่ผ่านมา ประเทศไทย ได้ทำงานร่วมกับบริษัทไฟเซอร์อย่างหนัก ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้อตกลงร่วมกัน ในการจัดหาวัคซีนชนิด mRNA ของไฟเซอร์ 20 ล้านโดสมาให้กับคนไทย โดยเชื่อว่าความร่วมมือนี้ จะนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น และมั่นใจว่าวัคซีนที่สั่งซื้อ จะมาภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ตามสัญญา

นายอนุทิน กล่าวในพิธีว่า ยินดีอย่างยิ่งที่การเจรจาลุล่วง กระทั่งได้ทำสัญญา และกำลังจะได้มาซึ่งวัคซีน ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าวัคซีนโควิด 19 นั้น เป็นของที่ทั้งโลกมีความต้องการเป็นอย่างยิ่ง กว่าจะได้มาแต่ละโดส ไม่เคยเป็นเรื่องง่าย วัคซีนไฟเซอร์ก็เช่นกัน ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ต้องขอบคุณทุกคน ทุกฝ่ายที่ช่วยกัน สำหรับนโยบายของประเทศไทย คือ การพยายามจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย มาให้บริการกับประชาชนอย่างครบถ้วนตามเป้าหมายที่วางไว้ และจะต้องเป็นไปโดยสอดคล้องกับสถานการณ์ ขอย้ำว่า รัฐบาลไม่เคยนิ่งเฉยในเรื่องของการจัดหาวัคซีน

นอกจากนี้ จะมี ไฟเซอร์ที่ได้รับบริจาคจาก สหรัฐ 1.5 ล้านโดสมาถึงในปลายเดือนนี้ เพื่อฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขด่านหน้า ผู้สูงอายุ และกลุ่มอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบ รวมทั้งประเทศไทย มีแผนสั่งซื้อไฟเซอร์เพิ่มเติมอีก 50 ล้านโดสในปีหน้า

วัคซีนไฟเซอร์

สำหรับ วัคซีนไฟเซอร์ ได้รับการขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไข จาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 นับเป็นวัคซีนโควิด-19 รายการที่ 6 ของไทย ซึ่งแผนการฉีดประกอบด้วยการฉีดวัคซีนจำนวน 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 21 วัน และขึ้นทะเบียนให้ใช้สำหรับผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป

ขณะเดียวกัน ไฟเซอร์และไบออนเทค ผู้ผลิตวัคซีนเทคโนโลยี mRNA ยี่ห้อไฟเซอร์ ได้ออกจดหมายประชาสัมพันธ์ถึงกรณีการจัดส่งวัคซันป้องกันโควิดให้แก่ประเทศได้ โดยมีเนื้อหาใจความ ดังนี้

วันนี้ (20 กรกฎาคม) บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และไบออนเทค ได้ประกาศลงนามสัญญาร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในการจัดส่งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 20 ล้านโดส สำหรับปี พ.ศ. 2564 ให้กับประเทศไทย โดยมีแผนกำหนดการส่งมอบในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้

ข้อตกลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นระดับโลกของไฟเซอร์และไบออนเทค เพื่อการรับมือของการระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ณ ประเทศไทยและกรุงไมนส์ ประเทศเยอรมนี

วัคซีนโควิดรพ 0.สนาม ๒๑๐๗๒๐

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าการซื้อขายไม่อาจเปิดเผยได้ แต่มีข้อกำหนดเป็นไปตามช่วงเวลาในการส่งมอบและจำนวนโดสที่สั่ง

“”มีความยินดีที่ได้เซ็นสัญญาที่มีความสำคัญนี้กับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นที่มีร่วมกันในความพยายามที่จะลดการติดเชื้อในประเทศ สัญญานี้เป็นการเน้นยํ้าถึงความมุ่งมั่นของไฟเซอร์ในการจัดหาวัคซีนที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 นี้และยังเป็นการเพิ่มการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของคนทั่วโลก” เด็บบราห์ ไซเฟิร์ท ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทยและอินโดไชน่ากล่าว

ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติสุขภาพโลกในครั้งนี้ ไฟเซอร์ได้ดำเนินพันธกิจตามเป้าประสงค์ขององค์กร ในการนำยานวัตกรรมที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้ป่วย ซึ่งในการดำเนินการนั้นเป็นไปอย่างเร่งด่วนมากยิ่งขึ้น

“ผมขอขอบคุณรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยสำหรับความไว้วางใจในความสามารถของการพัฒนาวัคซีน ที่พวกเราเชื่อว่ามีศักยภาพที่จะช่วยในการรับมือกับโรคระบาดของโลกในครั้งนี้ เป้าหมายของเราก็ยังคงเป็นการส่งมอบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้คนมากมายทั่วโลกโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้” ชอง มาเร็ท หัวหน้าฝ่ายธุรกิจและฝ่ายพาณิชย์ บริษัท ไบออนเทค กล่าว

ไฟเซอร์และไบออนเทคตั้งเป้าการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้ได้ราว 3,000 ล้านโดสทั่วโลกภายในปี 2564 โดยได้ทำการปรับปรุงพัฒนากระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ในการผลิตอย่างต่อเนื่อง และขยายกำลังการผลิตที่มีอยู่ขณะนี้ รวมถึงการเพิ่มผู้ผลิต และคู่สัญญารายใหม่ในอนาคต

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทคได้รับการพัฒนาโดยบริษัทไฟเซอร์และไบออนเทคโดยเป็นเทคโนโลยี mRNA ที่ไบออนเทคเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และเป็นผู้ได้รับอนุญาตทางการตลาดในสหภาพยุโรป และยังเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน หรือเทียบเท่าในประเทศสหรัฐอเมริกา (ร่วมกับไฟเซอร์) ประเทศแคนาดาและประเทศอื่น ๆ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo