COVID-19

ทำความรู้จัก ‘CCR team’ แก้ปัญหาผู้ป่วยโควิดแยกกักที่บ้าน-ชุมชน

กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ กทม.และเครือข่ายส่งชุด “CCR Team” ลงพื้นที่ ค้นหาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 พร้อมดูแลผู้ป่วยโควิดแยกกักที่บ้าน และชุมชน

นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง (รก.11) นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร จัดตั้งทีม Comprehensive Covid-19 Response Team หรือ CCR Team ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาที่พบในการจัดการผู้ป่วยที่อยู่ในระบบการดูแลรักษาที่บ้าน (Home Isolation) และการแยกกักตัวในชุมชน

CCR team

สำหรับปัญหาที่พบมี 2 เรื่องที่สำคัญคือ

1. ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการได้ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีความซับซ้อน เช่น ในเขตเมือง มีประชาชนจำนวนมาก เจ็บป่วยไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการได้เลย ในขณะที่ทีมสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร หรือหน่วยบริการสุขภาพต่างๆ ก็เข้าไปไม่ถึง

2. ปัญหาการดูแลสุขภาพ การให้วัคซีน การรักษาพยาบาล รวมทั้งการตรวจค้นหาเชิงรุก ซึ่งเป็นการทำงานที่มีความหลากหลายของหน่วยงาน

จากปัญหาดังกล่าว พบว่า ภารกิจของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ไม่สามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาในชุมชนได้ และยังมีเรื่องของ อุปโภค บริโภคหรือแม้กระทั่งความเป็นอยู่ พบว่าลูกติดเชื้อแต่ยังต้องดูแลพ่อแม่ ปู่ ย่า ที่อาศัยอยู่ที่บ้านเดียวกันอีกด้วย

การทำงานของ CCR Team จึงมองว่า ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มสีแดงนี้ สามารถพาพี่น้องประชาชนที่เจ็บป่วยดังกล่าว มาที่โรงพยาบาลได้ เพื่อให้ได้รับการรักษา

นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง ที่มีอาการอาจถึงขั้นรุนแรง และเสี่ยงที่จะเสียชีวิต ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยเหล่านี้ ไม่มีอาการรุนแรงไปถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งเป็นกลุ่มที่สำคัญอย่างมาก 146ที่เกิดขึ้นในชุมชนมากมาย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในขณะเดียวกันจะทำอย่างไรให้ผู้ที่ติดเชื้อ ไม่ไปแพร่เชื้อต่อบุคคลอื่นได้

นพ.รุ่งเรือง
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ

ทั้งนี้ ทีม CCR ได้ลงพื้นที่ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว Ffpเป็นหน่วยทดลองลงไปในพื้นที่จริง ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 8 กรุงเทพมหานคร รวมถึงหน่วยบริการปฐมภูมิซึ่งมีภาคเอกชนเข้ามา และในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความซับซ้อนนั้น ได้เน้นพื้นที่เฉพาะที่กำลังประสบปัญหา และจัดทีมเคลื่อนที่เข้าไปดำเนินการประเมินและตอบสนองโดยเร็ว

ขณะเดียว จะมองปัญหาของประชาชนในแต่ละพื้นที่เป็นตัวตั้ง มองถึงคุณปู่ คุณย่า พ่อแม่พี่น้องประชาชนที่เจ็บป่วยอยู่ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายออกมาได้ ดังนั้น การแก้ปัญหานี้ เป็นของระบบปฐมภูมิ สำหรับในเขตเมืองในภาวะที่วิกฤติแบบนี้ จึงได้นำทีมดังกล่าวได้เข้าไปทำการรักษา และมีการแจ้งกับเจ้าหน้าที่เพื่อทำการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลต่อไป

ในส่วนของการทำ Home Isolation และ Community Isolation จะเป็นการเข้าไปสอบถามสภาพปัญหา และคัดกรองกลุ่มเสี่ยง พร้อมทำความเข้าใจกับชุมชนว่า ถึงแม้ผลตรวจจะเป็นลบ ก็ต้องป้องกัน และปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งคัด เช่น การเว้นระยะห่าง การสวมหน้ากากอนามัย และดูแลสุขภาพอยู่ตลอด

“ปัญหาจากการเข้าพื้นที่คือ เกือบ 100% ยังไม่ได้รับวัคซีนเลย เราจึงได้ทำการฉีดวัคซีนที่หน้างาน เนื่องจากประชาชนกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง อาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้”นพ.รุ่งเรือง กล่าว

สิ่งที่สำคัญคือ  การปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและการสนับสนุนทรัพยากรที่พร้อมในการทำงาน ขณะนี้มีทีม 188 ทีม พร้อมที่จะขยายไปทั่วประเทศในพื้นที่เขตเมืองทั้งหมด และจะขยายมากขึ้นต่อเนื่อง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo