COVID-19

เข้าใจให้ตรงกัน ‘ตู้ปันสุข’ กับภารกิจ ‘จัดระเบียบ’ ขจัดความโลภ (1)

“ตู้ปันสุข” กลายเป็นไวรัลบนโลกสังคมออนไลน์อย่างรวดเร็ว เมื่อมีทั้งแง่มุมที่สวยงามจากการให้ การแบ่งปัน อันสะท้อนน้ำใจของคนไทย และยิ่งกลายเป็นซูเปอร์ไวรัล เมื่อเกิดภาพของความสะโมภ การแก่งแย่ง โกยสิ่งของจนเกิดพอดี ทำให้เกิดคำถามว่า แล้วจะจัดการอย่างไร

ก่อนอื่นหากเข้าใจตรงกัน ถึงที่มาของแนวคิด “ตู้ปันสุข” จะเห็นชัดว่า เป็นแนวคิดที่ดีมาก และเหมาะสมอย่างยิ่งกับสถานการณ์วิกฤติในปัจจุบัน ซึ่งหากทุกคนมีความเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของการให้ มีความพอดี ในการรับ จะไม่เกิดภาพน่าอดสูอย่างที่เกิดขึ้นแล้วแน่นอน

11

เพจกลุ่มอิฐน้อย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ “ตู้ปันสุข” บอกเล่าชัดเจน ถึงที่มาที่ไปของโครงการ รวมถึงแนวคิดและวิธีบริหารจัดการตู้ปันสุข ที่เริ่มเกิดปัญหาในวันนี้ โดยระบุว่า

โครงการ ตู้ปันสุข ที่กลุ่มอิฐน้อย ริเริ่มขึ้น มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 อย่างเร่งด่วน คือต้องใช้วิธีการ “ให้” เท่าที่จำเป็นก่อน การตั้งโรงทานแจก ทำได้เฉพาะบางคน แต่เรามีความคิดว่าคนทุกคนสามารถให้ได้เท่าที่ตัวเองมี และชุมชนควรช่วยเหลือกันเองจะดีที่สุด

ตู้ปันสุข เป็นแนวคิดที่เอามาจาก “Little Free Pantries” หรือ “The blessing box” ซึ่งผู้ริเริ่มคือ “Jessica McClard” จาก Fayettevielle สหรัฐอเมริกา สร้างตู้ในชุมชนของเธอ ให้คนที่มีเครื่องกระป๋อง ขนมปัง แยม ที่ยังไม่ได้ทานและยังไม่ได้ใช้เอามาใส่ตู้ แบ่งให้คนอื่นๆ ในชุมชนที่ไม่มีอาหารได้มาหยิบไป ภายหลังแนวคิดตู้แบบนี้ได้แพร่หลายไปทั่วสหรัฐและในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์

ตู้ปันสุข 1

ขณะที่ในไทยเองก็มีหลายท่านทำมาแล้ว เช่น วัดสวนแก้ว พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ) ซึ่งทีมอิฐน้อยเห็นว่า แนวคิดนี้เหมาะกับสถานการณ์ในบ้านเราตอนนี้ จึงได้เริ่มต้นทำตู้ปันสุขขึ้น เป็นโมเดลตัวอย่าง 5 ตู้ ในหลากหลายพื้นที่ เพื่อดูผลตอบรับ รวมทั้งได้ลองโพสถามใน Social ว่าคนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอย่างไร

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1505395649641977&id=564186707096214

ผู้คนในโซเชียลส่วนใหญ่ให้ความเห็นวิพากวิจารณ์ว่า เป็นไปได้ยากสำหรับคนไทย บ้างว่าคนจะกวาดไปหมด บ้างว่าจะหายไปทั้งตู้ ขณะที่ตู้ต้นแบบทั้ง 5 ตู้ก็ยังคงดำเนินต่อไป จนวันนี้ร่วม 2 สัปดาห์แล้ว ที่ทั้ง 5 ตู้ ตั้งอยู่ในชุมชน ซึ่งผลตอบรับแตกต่างกัน ขึ้นกับสภาพของที่ตั้ง แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ทั้ง 5 ตู้ ยังคงตั้งอยู่ดี ไม่หายไปไหน ทั้ง5 ตู้ มีคนมาใส่ของ และหยิบของไปเสมอ จะมากหรือน้อยขึ้นกับสภาพชุมชน และทั้ง 5 ตู้ มีชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้นช่วยกันดูแลรักษา

“วันนี้ ภารกิจของเรา ในการพิสูจน์ว่า ตู้ปันสุข สามารถตั้งอยู่ในประเทศไทยได้ สำเร็จลงแล้ว และเรามาส่งต่อแนวคิด และแรงบันดาลใจ เพื่อให้ทุกท่านได้รู้ว่า เราลงมือทำสิ่งเล็กๆแบบนี้ได้ ทุกคน”

2 18 1

สำหรับผู้ที่ต้องการนำคอนเซ็ปต์ตู้ปันสุข ไปใช้ในชุมชน แนวทางการติดตั้งคือ

1. ลักษณะตู้เป็นแบบใดก็ได้ หรือจะเป็นกล่องพลาสติกก็ได้ ตามความเหมาะสมกับที่ตั้ง ควรทนแดด ทนฝนได้ มีฝาปิดป้องกันแมลงหรือสัตว์เข้าไปในตู้ ควรมีป้ายบอกจุดประสงค์ตู้และวิธีใช้ติดไว้ที่ตู้ จะจ้างช่างทำหรือซื้อตู้กับข้าวมาทำก็ได้ เพื่อให้เกิดการสนับสนุนช่างหรือร้านค้าใกล้บ้าน

2. เลือกทำเลติดตั้งตู้ ควรเป็นที่มีผู้คนเดินผ่านไปมาได้ เป็นชุมชนที่มีคนที่พอจะให้ได้ และมีผู้เดือดร้อนอยู่ในชุมชนเดียวกัน

3. ทำเรื่องขออนุญาตต่อท่านผู้อำนวยการเขตที่จะติดตั้ง หรือเจ้าของสถานที่

4. ติดตั้งตู้และให้ข้อมูลกับชุมชน ถึงจุดประสงค์ วิธีการใช้ตู้

มาดูหลักการของตู้ปันสุขกันบ้าง

  • ตู้ปันสุข มิใช่การแจกมหาทาน ซื้อมาเยอะๆเพื่อมาแจก แต่เป็นการแบ่งปันของเล็กๆ น้อยๆ ที่มีในบ้าน พอที่จะให้คนอื่นๆได้

ตู้1

  • ตู้ปันสุข เป็นของชุมชน ผู้ติดตั้งไม่ได้เป็นเจ้าของ ไม่มีหน้าที่มาใส่ของให้หรือมาดูแลตู้ให้ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ถือว่ายกให้เป็นของชุมชน หากมีคนขโมยตู้ไป เราจะไม่โกรธไม่รู้สึกต่อว่าผู้ที่ขโมยไป มันเป็นของชุมชน ถ้าชุมชนไม่ช่วยกันรักษาก็จะไม่มีตู้ใช้
  • องที่ใส่ในช่วงแรกจะเป็นเครื่องกระป๋อง ของแห้ง อาหารที่ไม่ใช่อาหารสดเพื่อให้อยู่ได้นานและไม่บูดเน่า เมื่อตู้หมุนเวียนได้ดี มีคนให้และคนรับตลอดเวลาอาจเริ่มนำของสดมาใส่ได้ และเมื่อสถานการณ์โควิด-19 ผ่านไปแล้ว ชุมชนสามารถใช้แบ่งปันสิ่งของอื่นๆได้ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ หนังสือ
  •  เมื่อเอาของใส่ตู้แล้ว มันไม่ใช่ของเราอีกต่อไป จะมีคนเปิดหยิบไปหรือไม่ จะมีคนเติมหรือไม่ เป็นกระบวนการของชุมชนนั้นๆ หยิบแค่พอดี และเผื่อแผ่ “ให้” ผู้อื่นต่อ ถือว่าเป็นผู้ให้ต่ออีกด้วย และก็เชื่อได้ว่า เขาจะได้ “รับ” ของจากคนอื่นๆ ในชุมชนต่อไป ทั้งนี้เพราะ”ผู้ให้” ทุกท่านในชุมชน ไม่ได้มี “หน้าที่” เติมตู้ให้เต็ม แต่เป็นการแบ่งปันตามกำลัง ด้วยความรักความเมตตาต่อกัน และผู้ “รับ” ก็อาจจะเป็นผู้ “ให้” ได้ เมื่อมีโอกาส

ตู้

  • ควรมีสมุดโน๊ตและปากกาใส่ตู้ “ผู้ให้” และ “ผู้รับ” ได้มีโอกาสเขียนให้กำลังใจกัน เขียนขอบคุณกัน ก็จะเป็นความงดงามอย่างยิ่งในสังคม สังคมจะงดงามด้วยการสื่อสารใจต่อใจผ่านข้อความนี้เอง
  • ถ้าเป็นไปได้ควรพาลูกๆ เด็กๆ มาเป็นผู้ช่วยใส่ของเข้าตู้ เด็กให้เขาเลือกว่าจะหาอะไรใส่ดี หรือใส่อย่างไรดี การให้เด็กมีส่วนร่วมกับการแบ่งปันมากๆ เขาจะเป็นผู้ที่เห็นความงดงามในสังคมตั้งเต่อายุยังน้อย

สำหรับผู้ที่อยากทำตู้ สามารถทำได้เลยไม่ต้องขอทีมงาน ไม่มีลิขสิทธิ เพราะแนวคิดนี้เป็นของต่างประเทศ เพียงแต่ปรับแนวคิดบางประการ และรูปแบบตู้ก็สามารถออกแบบเองได้เลย

ที่มา : เพจกลุ่มอิฐน้อย

Avatar photo