COVID-19

รับมือ สถานการณ์คลื่นลูก 4 จากความ ‘เครียด’ โควิด-19 ชวนประชาชน ปรึกษา 1323 ก่อนซึมเศร้า

เตรียมรับมือสถานการณ์คลื่นลูกที่ 4  เหตุวิตกกังวล เครียด กลัว เศร้า ย้ำ จาดโควิด-19 ย้ำหากหมดพลัง เครียด ไปต่อไม่ไหว อย่าเก็บไว้คนเดียว ให้หาคนปรึกษา หรือใช้บริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 แนะประชาชนใช้ 7 วิธีปรับจิต ลดเครียด สกัด “่ฆ่าตัวตาย” 

unhappy man 1169946 640

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในแต่ละช่วง ได้เปรียบเทียบกับคลื่นทั้ง 4 ลูก ประกอบด้วย

-คลื่นลูกแรก คือการสูญเสียจากการระบาดของโควิดในช่วงแรก

-คลื่นลูกที่สอง เป็นผลกระทบตามมาจากการขาดแคลนทรัพยากร ความช่วยเหลือไม่เพียงพอ

-คลื่นลูกที่สาม เป็นผลกระทบต่อการดูแล ผู้ที่มีความเปราะบางในสังคม และกลุ่มโรคเรื้อรัง

-คลื่นลูกที่สี่ เกิดหลังจากการติดเชื้อประมาณ 1-2 เดือน จะมีปรากฎการณ์สุขภาพจิตเกิดขึ้น ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ โรคทางจิตเวช ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ และภาวะหมดไฟ จากความเหนื่อยล้าของคนทำงาน หรือคนที่เผชิญกับความเครียดมายาวนาน

“มาตรการควบคุมโรค เช่น ใส่หน้ากาก ล้างมือ ไม่เข้าไปที่แออัด การระงับ การล็อดดาวน์ ทำให้คนเครียด หรือกดดัน ”  

worried girl 413690 640

เครียดหรือยัง ? กรมสุขภาพจิต ให้ดูสัญญาณบ่งชี้ 3 ด้าน ก็คือ

ด้านร่างกาย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ตื่นเต้นตกใจง่าย ปวดศรีษะ ความดันสูง

ด้านอารมณ์ หงุดหงิดง่าย มีความเครียด รู้สึกโกรธ ฉุนเฉียว ท้อแท้ ซึมเศร้า

ด้านพฤติกรรม มีความสัมพันธ์กับครอบครัว และคนรอบข้างลดน้อยลง มีความก้าวร้าวมากขึ้น อดทนต่อสิ่่งกระตุ้นได้น้อยลง

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ความเครียดจากโควิด-19 ส่งผลต่อประชากรทั้ง 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ติดเชื้อผู้ถูกกักกัน กลุ่มผู้เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มประชาชน  ตอนนี้เราควบคุมโรคได้ หลังจากนี้ขอให้คนทั้งประเทศ หันมาดูแลจิตใจกัน จากระลอกของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโควิด -19

อย่างไรก็ตามขอย้ำคาถา “อึด ฮึด สู้”   เพราะเราทุกคนก็ผ่านอะไรกันมามากแล้ว อย่างไรก็ตามหากมีสัญญาณบ่งบอกทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม อย่าเก็บไว้คนเดียว ให้หาคนปรึกษา หรือโทรสายด่วน 1323

22เมย.63 ๒๐๐๔๒๒ 0035

ทางด้านดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าในเดือนมีนาคม มีผู้โทรมาปรึกษา 1323 จากความเครียดโควิดมากขึ้น เป็น 600 ราย และในช่วงกลางเดือนเมษายน พบว่ามี 315 ราย คาดการณ์ว่าสิ้นเดือนนี้ จะมีคนมาปรึกษาไม่ต่ำกว่า 630 ราย กว่าครึ่ง หรือ 51.85% เป็นการปรึกษาความเครียดวิตกกังวล และเป็นผู้ป่วยจิตเวชเดิมประมาณ 38% อีก 6.57% เป็นการสอบถามข้อมูลทั่วไป

ปัจจุบันเพิ่มคู่สายสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ไปแล้วเป็นสองเท่า จาก 10 คู่สายเป็น 20 คู่สาย และเปิดสายด่วนสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อดูแลจิตใจบุคลากร  41 เลขหมาย รวมถึงการส่งต่อทีม MCATT ในพื้นที่

กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาแนวทางเพื่อให้บุคลากรในพื้นที่สามารถทำงาน เน้นการแนะนำสถานพยาบาลในการช่วยเหลือบุคลากรตามหลัก 4 สร้าง 2 ใช้ คือ

  • สร้างให้บุคลากรรู้สึกปลอดภัย
  • สร้างความสงบ
  • สร้างความหวัง
  • สร้างความเข้าใจและเห็นใจ
  • ใช้ศักยภาพขององค์กรให้เต็มที่
  • ใช้สายสัมพันธ์สร้างความเข้มแข็งให้บุคลากร

ในขณะเดียวกันสำหรับประชาชน ก็ใช้หลักการณ์คล้ายคลึงกัน 7 ประการ ดังนี้

  • สร้างความปลอดภัยให้ตนเองครอบครัวและชุมชน
  • สร้างความสงบทำจิตให้สงบ ไม่รับฟังข่าวลวงข่าวปลอม
  • สร้างความหวังไม่ย่อท้อในการต่อสู้กับโรคโควิด และแก้ปัญหาโดยใช้สติ
  • สร้างความเห็นใจไม่รังเกียจ
  • พยายามทำความเข้าใจช่วยกันรับมือ
  • ใช้พลังของตัวเองให้เต็มศักยภาพมากที่สุดในการป้องกันโรค
  • ใช้สายสัมพันธ์สร้างความแข็งแกร่ง แบ่งปันพลังจากตัวเราออกไปสู่คนรอบข้างและชุมชน

กรมสุขภาพจิต ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคประชาชน ได้แก่ การจัด event ออนไลน์ด้านสุขภาพจิตแรก ความยาว 8 ชั่วโมง ผ่านทางช่องทางต่างทั้งเพจกรมสุขภาพจิต เพจข่าวสด และอื่นๆ มีทั้งเนื้อหาสาระความรู้ การลงพื้นที่ไปดูการทำงานของ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สลับกับดนตรีและบันเทิง และการกุศลเพื่อช่วยเหลือฮีโร่ด่านหน้า โดยจะถ่ายทอดในวันเสาร์ที่ 25 เมษายนนี้ เวลา 10.00 – 18.00

และความร่วมมือกับบริษัทโรซ่า และเดอะวอยซ์ จัด event “เดอะ ดูเอท ใจไม่ป่วย ความสูขสร้างได้” ทุกสัปดาห์ผ่านทางเพจของเดอะวอยซ์ และกรมสุขภาพจิต  สสส. และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จัดทำเพจบ้านพลังใจ และรายการโทรทัศน์ บ้านพลังใจ ทุกวันเสาร์ เวลา 21.10 -22.00 ทางช่องไทยพีบีเอส ขอให้ประชาชนติดตามความรู้ และความบันเทิงดีดีจากกรมสุขภาพจิตถึงประชาชน

” เครียดได้เล็กน้อยตามธรรมชาติ จากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น เมื่อต้องออกจากบ้านต้องใส่หน้ากาก ต้องล้างมือบ่อยๆ เป็นต้น แต่เครียดมากเกินไปต้องดูแล  เพราะอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า และฆ่าตัวตายได้ “

Avatar photo