COVID-19

อัปเดตวัคซีนโควิด!! อย. ไฟเขียวขึ้นทะเบียน ‘HXPGPOVAC’ ของ อภ. ส่วนจุฬาฯ จ่อรออนุมัติ

“รัดเกล้า” เผยความคืบหน้าการผลิตวัคซีนโควิดในไทย “HXP-GPOVAC” ขององค์การเภสัชกรรม ได้ขึ้นทะเบียน อย. แล้ว ส่วนของจุฬาฯ รอการอนุมัติ

นางรัดเกล้า อินทวงค์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ (กวช.) เสนอความก้าวหน้าการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย

วัคซีนโควิด

นางรัดเกล้า กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVD-19 ที่เริ่มแพร่เข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2563 กวช. กระทรวงสาธารณสุข โดย สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.) ได้จัดทำแผน Blueprint เพื่อการเข้าถึงวัคซีนป้องกัน COVID-19 ของประชาชนไทย โดยใช้เป็นกรอบนโยบายในการบูรณาการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน

นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2563-2565 และได้รับความเห็นชอบจาก กวช. เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 โดย สวช. ได้ดำเนินการภายใต้แผน Blueprint มาตั้งแต่ปี 2563 สรุปได้ ดังนี้

1. การพัฒนาวัคซีนต้นแบบในประเทศไทยตั้งแต่ต้นน้ำ โดยหน่วยงานที่มีศักยภาพในประเทศได้ดำเนินการวิจัยพัฒนาวัคซีน COVID-19 ภายใต้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีความสำเร็จและความก้าวหน้า สรุปได้ดังนี้

รัดเกล้า อินทวงค์ สุวรรณคีรี
รัดเกล้า อินทวงค์ สุวรรณคีรี

(1) วัคซีนชนิด Inactivated recombinant viral vectorvaccine ได้รับการวิจัยโดยองค์การเภสัชกรรม ซึ่งได้รับการอนุมัติการขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไข (Conditional Approval) เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 โดยใช้ชื่อทางการค้า HXP-GPOVAC และใช้ในกลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

(2) วัคซีนชนิด mRNA ได้รับการวิจัยโดย ศูนย์วิจัยวัคซีนแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการอนุมัติจาก อย. ให้ดำเนินการศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 2

(3) วัคซีนชนิด Protein subunit (Plant-based) ได้รับการวิจัยโดยบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผลิตยาตัวอย่างเพื่อขอขึ้นทะเบียนตำรับยาตามแบบ ผ.ย. 8 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อทดสอบวัคซีนในมนุษย์

(4) วัคซีนขนิด DNA ได้รับวิจัยโดยบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด แม้ว่าจะไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จของการศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 1 แต่ยังสามารถใช้ศักยภาพของโรงงานผลิตวัคซีนเพื่อสนับสนุนการผลิตวัคซีนชนิด Nucleic acid3

2. การทำความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน โดย อย. ได้ทำการประเมินและพิจารณาข้อมูลด้านคุณภาพของวัคซีน ที่ผลิตจากบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด พบว่า มีความทัดเทียมกับคุณภาพวัคซีนที่ผลิตจากประเทศอิตาลีที่ขึ้นทะเบียนไว้

shutterstock 1892315068

ดังนั้น อย. จึงอนุมัติเพิ่มบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด เป็นสถานที่ผลิตวัคซีน COVID-19 ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2564 และเมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2564 บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ส่งมอบวัคซีนได้ครบถ้วน จำนวน 61 ล้านโดส

3. การจัดซื้อ จัดหาวัคซีน โดยจองล่วงหน้าจากบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 26 ล้านโดส ซึ่งลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 และมีการเจรจาขอซื้อวัคซีนเพิ่มเติมอีกจำนวน 35 ล้านโดส โดยแก้ไขเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม ทำให้ไม่ต้องเสียค่าจองวัคซีนเพิ่ม

ทั้งนี้ รวมมีการจัดหาวัคซีนจากบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ทั้งสิ้น 61 ล้านโดส ซึ่งวัคซีนดังกล่าวได้นำมาฉีดให้ประชาชนไทยในปี 2564-2565

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo