COVID-19

ส่องอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ‘โอไมครอน’ จับตาสายพันธุ์ XDD ระบาดทั่วโลกปี 67

ศูนย์จีโนมฯ ส่องอนาคตโควิด-19 จากรุ่นแรก วิวัฒนาการสู่รุ่นแห่งอนาคต ชี้ไวรัสปรับตัวกลายพันธุ์ให้อยู่ร่วมกับมนุษย์ได้ จับตาสายพันธุ์ XDD ระบาดทั่วโลกปี 2567

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics  ระบุว่า

สายพันธุ์ XDD

โอไมครอนในอดีต (2565) มาสู่ปัจจุบัน (2566) และก้าวไปยังอนาคต (2567)

รุ่นแรก

โควิด-19 สายตระกูลโอไมครอนรุ่นแรกประกอบด้วยสายพันธุ์ย่อยที่เรียกว่า B.1.1.529 และมีการกลายพันธุ์ขยับมาเป็น BA.1, BA.2 และ BA.3 แพร่หมุนเวียนทั่วโลกในตลอดปี 2564 มาถึงต้นปี 2565

รุ่นที่สอง

เป็นกลุ่มของ โอไมครอน BA.4, BA.5 และ BA.2.86/พิโรลา ซึ่งตรวจพบในช่วงกลางปี 2565 ถึงปี 2566 ส่วนรุ่นที่สองอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงคือ EG.5/เอริส

รุ่นแห่งอนาคต แบ่งเป็นสองกลุ่ม

กลุ่มแรก เป็นการผสมข้ามตระกูลระหว่างเดลตาและโอไมครอน ที่ถูกเรียกขานว่า เดลตาครอน  เช่น

2 2

  • XAY (ลูกผสม AY.45, BA.4/5*) พบ 23 รายจากฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส(GISAID)
  • XBA (ลูกผสม AY.45, BA.4/5) พบ 8 รายจากฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส(GISAID)
  • XBC (ลูกผสม BA.2*, B.1.617.2*) พบ 25 รายจากฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส(GISAID)
  • XAW (ลูกผสม BA.2*, AY.122) พบ 51 รายจากฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส(GISAID)

 

ชึ่งไม่ประสบความสำเร็จในการแพร่ระบาดเนื่องจากไม่สามารถผ่านด้านภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อจากธรรมชาติได้

กลุ่มที่สอง เป็นโอไมครอนลูกผสมระหว่างโอไมครอนรุ่นแรก เช่น BJ.1(BA.2.10.1.1), BA.2.75 กับรุ่นที่สอง เช่น BA.5, BA.2.86 เป็นต้น เกิดเป็นลูกผสม เช่น

  • XBB(BJ.1xBA.2.75*)
  • XBD(BA.2.75.2xBA.5.2.1)
  • XBF(BA.2.75.3.1.1.1.1xBA.5.2.3) และ ล่าสุด
  • XDD(EG.5.1.1xJN.1)

ประเมินว่า โอไมครอน XDD จะเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ลูกผสมที่จะมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกในปี 2567 เข้าแทนที่โอไมครอน XDD EG.5

โอไมครอน XDD

สายพันธุ์ XDD เป็นรีคอมบิแนนต์ (recombinant) ของ EG.5.1.1/เอริส และ JN.1 (B.1.1.529.2.86.1.1)/พิโรลา โดยมีโปรตีนส่วนหนามเป็นของ JN.1 แต่มีโปรตีนส่วนอื่นมาจากยีนของ EG.5.1.1 ซึ่งรวมถึงยีน ORF9b และ ยีนORF8 ที่ถูกตัดทอนลงบางส่วน รวมถึงโปรตีนโครงสร้างที่ไม่ใช่ส่วนของหนามแหลม พบแล้ว 40 รายจากฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส(GISAID)

4 1

สิ่งมีชีวิตลูกผสมที่มีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างสองสายพันธุ์ที่แตกต่างกันจะทำให้เกิด ลูกหลาน  ที่มีลักษณะหลายอย่างซึ่งไม่พบในรุ่นพ่อและรุ่นแม่ ในบริบทของไวรัส ไวรัสลูกผสมสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีจีโนมของไวรัสอย่างน้อยสองสายพันธุ์เพิ่มจำนวนอยู่ในเซลล์เดียวกันของผู้ติดเชื้อรายเดียวกัน

สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักคือ การแลกเปลี่ยนบางส่วนของจีโนมของไวรัสสองสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน เป็นกลไกทางธรรมชาติที่เร่งให้เกิดวิวัฒนาการของไวรัสอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับมนุษย์หรือโฮสต์ไปได้อย่างยั่งยืน โดยไวรัสไม่ถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของผู้ที่ติดเชื้อ

ขณะที่ไวรัสเองก็ต้องไม่ทำให้ผู้ติดเชื้อต้องเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิต เพราะเท่ากับเป็นการทุบหม้อข้าวตัวเอง ไวรัสไม่สามารถคงอยู่ แพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนได้หากปราศจากโฮสต์หรือผู้ติดเชื้อ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo