COVID-19

สิงคโปร์ เตือนการระบาดระลอกใหม่ ติดเชื้อโควิดรายวันเพิ่ม 2 พันราย กว่า 30% ติดเชื้อซ้ำในประเทศ

สิงคโปร์ เตือนการระบาดระลอกใหม่ ติดเชื้อโควิดรายวันเพิ่ม 2 พันราย กว่า 30% ติดเชื้อซ้ำในประเทศ

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics  ระบุว่า  สาธารณสุขสิงคโปร์แจ้งเตือนการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 มีผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้น 2,000 ราย และมากกว่า 30% เป็นผู้ติดเชื้อซ้ำภายในประเทศ บ่งชี้ว่าโรคโควิด-19 ในสิงคโปร์ได้เข้าสู่โหมดโรคประจำถิ่น

ทั้งยังพบว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นและไม่มีการติดเชื้อตามธรรมชาติมาก่อน มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยหนักเมื่อติดเชื้อ COVID-19 มากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนหรือเคยติดเชื้อตามธรรมชาติถึง 5 เท่า อันแสดงว่าไวรัสโคโรนา 2019 ยังไม่ได้ลดความรุนแรงของโรคลงแต่อย่างใด

การระบาดระลอกใหม่

สิงคโปร์เตือนการระบาดระลอกใหม่ ในฐานะโรคประจำถิ่น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ นาย อองเยกุง (Ong Ye Kung) กล่าวเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 ว่าประเทศ (สิงคโปร์) กำลังเผชิญกับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยจำนวนผู้ป่วยโดยประมาณเพิ่มขึ้นสองเท่าจาก 1,000 รายเมื่อสามสัปดาห์ก่อนเป็น 2,000 รายต่อวันในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของการติดเชื้อในประเทศไม่ใช่เพราะจากนักท่องเที่ยว แต่เป็นเพราะการติดเชื้อซ้ำ(re-infection) ของเชื้อที่มีระบาดหมุนเวียนอยู่ในชุมชน

รัฐบาลสิงคโปร์กำลังบริหารจัดการการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ในฐานะ “โรคประจำถิ่น (Endemic)” และไม่มีมาตรการใดๆออกมาควบคุมการเดินทางของประชาชน

“Endemic” หรือ “โรคประจำถิ่น” หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นประจำในพื้นที่นั้น กล่าวคือมีอัตราป่วยคงที่และสามารถคาดการณ์ได้ โดยขอบเขตของพื้นที่อาจเป็นเมือง, ประเทศ, หรือใหญ่กว่านั้นอย่างกลุ่มประเทศ หรือทวีป ตัวอย่างเช่น ไข้เลือดออกในประเทศไทย หรือโรคมาลาเรียในทวีปแอฟริกา

การระบาดของโรคที่เป็น Endemic นั้นคงที่ และอยู่ในวงแคบ ทำให้การคาดการณ์เกี่ยวกับการระบาดของโรคนั้นๆ เป็นไปได้ง่ายขึ้น และสามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น

การระบาดระลอกใหม่

EG.5 และ HK.3 สองสายพันธุ์หลักการระบาด

การระบาดระบาดใหม่ของโควิด-19 ในสิงคโปร์ส่วนใหญ่เกิดจากโอไมครอนสองสายพันธุ์หลัก คือ EG.5 (XBB.1.9.2.5) หรือ Eris, กับ HK.3 (XBB.1.9.2.5.1.1.3) 53.59 และ 30.90% ตามลำดับ

โอไมครอน HK.3 จัดอยู่ในกลุ่ม Flip มีการกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้วL455F + F456L โดยทั้งสองสายพันธุ์ย่อย EG.5 และ HK.3 เป็นลูกหลานของโอไมครอนสายพันธุ์ XBB ซึ่งรวมกันแล้วมีส่วนร่วมในการระบาดระลอกใหม่ถึงประมาณ 75% ของผู้ติดเชื้อในแต่ละวันในสิงคโปร์

การระบาดระลอกใหม่

ในประเทศไทยยังไม่พบการระบาดของโอไมครอนระลอกใหม่ ส่วนสองสายพันธุ์หลักที่กำลังระบาดคือ คือ EG.5 และ  HK.3 เช่นเดียวกับสิงคโปร์ใน 36.36 และ 16.36% ตามลำดับ

รัฐมนตรีสาธารณสุขสิงคโปร์ได้แสดงความเห็นว่าไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าสายพันธุ์ใหม่เหล่านี้ มีโอกาสทำให้เกิดโรคร้ายแรงมากกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ และวัคซีนปัจจุบันยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคร้ายแรงจากการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่เหล่านี้

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แสดงว่าสิงคโปร์ได้บันทึกจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 2,594,809 คนตั้งแต่การเริ่มต้นของการระบาดจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2023 และจำนวนผู้เสียชีวิตในประเทศนี้อยู่ที่ 1,872 คน

3 2

การศึกษาจากกระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์

กลุ่มที่ได้รับการป้องกันที่ดีที่สุดคือกลุ่มที่ได้รับวัคซีน mRNA อย่างน้อย 3 โดสและติดเชื้อตามธรรมชาติภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา – มีอัตราการเกิดโรคร้ายแรงอยู่ที่ประมาณ 10 ต่อ 100,000 คน หรือ 0.01%

  • กลุ่มที่ได้รับการป้องกันน้อยที่สุด คือกลุ่มผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นและไม่มีการบันทึกว่ามีการติดเชื้อตามธรรมชาติ กลุ่มนี้มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยหนักเมื่อติดเชื้อ COVID-19 มากกว่า 5 เท่า โดยอัตราการเกิดโรคร้ายแรงสำหรับบุคคลเหล่านี้มากกว่า 50 ใน 100,000 คน หรือ 0.05%

จากข้อมูลในปัจจุบันพบจำนวนผู้ที่เกิดผลข้างเคียงรุนแรงจากการฉีดวัคซีน mRNA มีจำนวน 1.6 ต่อ 100,000 โดส โดยทั่วไปแล้ว การฉีดวัคซีน mRNA สำหรับป้องกันโรค COVID-19 จะต้องฉีด 2 โดส ดังนั้น หากคิดเป็นจำนวนคน จะเกิดผลข้างเคียงรุนแรงประมาณ 0.8 คนต่อ 100,000 คน หรือ 0.008%

การระบาดระลอกใหม่

สิงคโปร์มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังนี้

  1. การฉีดวัคซีน: สิงคโปร์มีเป้าหมายในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชากรจำนวน 2 ใน 3 ของประเทศ ซึ่งในปัจจุบันมีประชาชนในสิงคโปร์ส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 92) ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบถ้วนแล้ว
  2. การรักษาความสะอาด: ประชาชนสิงคโปร์รักษาความสะอาดโดยล้างมือบ่อย ๆ ล้างพื้นที่ผิวสัมผัส เช่น ประตูลูกบิด พื้นห้อง และหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางสังคมที่มีคนเข้าร่วมจำนวนมากเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อ
  3. การผ่อนคลายมาตรการเข้าเมือง: สิงคโปร์ได้ผ่อนคลายมาตรการเข้าเมืองสำหรับผู้เดินทางที่ได้รับวัคซีนแล้ว การเปิดการเดินทางผ่านแดนทางบก: สิงคโปร์ได้เปิดการเดินทางผ่านแดนทางบกระหว่างสิงคโปร์กับมาเลเซียตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565
  4. การรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ในระยะยาว: รัฐบาลสิงคโปร์มีแผนการเรียนรู้อยู่กับไวรัสโควิด-19 และให้ชีวิตปกติสุขในระยะยาว โดยไม่อาจขจัดไวรัสโควิดให้หมดไป แต่สามารถบริหารจัดการมันให้เหมือนที่เราทำกับไข้หวัดธรรมดาได้ (covid-19 health literacy)

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo