COVID-19

ผลวิจัย ระบุ ติดเชื้อ ‘โอไมครอน BF.7’ จากจีน มีภูมิต่ำ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อ ‘BA.2.75’ ซ้ำจากไทย

ผลวิจัย ระบุ ติดเชื้อ ‘โอไมครอน BF.7’ จากจีน มีภูมิต่ำ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อ ‘BA.2.75’ ซ้ำจากไทย

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เผยผลข้อมูลเปรียบเทียบ ระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายที่สามารถยับยั้งไวรัสโอไมครอนสายพันธุ์ต่างๆ ดังนี้

ข้อมูลเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายที่สามารถยับยั้งไวรัสโอไมครอนสายพันธุ์ต่างๆ จากทีมวิจัยของนอร์เวย์ ที่เผยแพร่ออกมา ซึ่งน่าสนใจว่าทีมวิจัยใช้ไวรัสสายพันธุ์หลักของไทย (BA.2.75) เทียบกับไวรัสสายพันธุ์หลักของจีนในปัจจุบัน (BA.5 และ BF.7) โดยใช้ซีรั่มของตัวอย่างในแต่ละสถานการณ์ โดยทดสอบกับไวรัสตัวจริงที่แยกได้จากผู้ป่วย

โอไมครอน BF.7

ในตัวอย่างที่ได้รับวัคซีน 3 เข็ม : BA.5 > BA.2.75 > BF.7 แต่ความแตกต่างระหว่างกลุ่มมีไม่มาก (189 – 74)

ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน และ ติดเชื้อโอไมครอนตัวเก่า (BA.1 หรือ BA.2) : BA.5 > BA.2.75 > BF.7 (708 – 365) ซึ่งการติดไวรัสตัวเก่ายังมีภูมิที่สูงต่อไวรัสทั้ง 3 สายพันธุ์

โอไมครอน BF.7

โอไมครอน BF.7 ของจีน ยากจะเข้าแทนที่ BA.2.75 ของไทย

ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน แต่ติดเชื้อโอไมครอน BA.5 (ระบาดในไทยในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน) : BA.5 > BF.7 > BA.2.75 ซึ่งค่าของแอนติบอดีต่อ BA.5 สูงเกินพันซึ่งสูงมาก และ ต่อ BF.7 อยู่ในระดับสูงเช่นกัน เมื่อเทียบกับไวรัสที่เป็นสายพันธุ์หลักของไทยตอนนี้

ดูเหมือนว่าภูมิของตัวอย่างกลุ่มนี้ มีโอกาสติดเชื้อซ้ำจากไวรัสของไทย (BA.2.75) สูงกว่าไวรัสหลักของจีน ซึ่งมีแนวโน้มว่าความเสี่ยงของไวรัส BF.7 ของจีนจะเข้าแทนที่ BA.2.75 ของไทยจึงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก

โอไมครอน BF.7

เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุกกรณีข้างต้นไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงต่อไวรัสสายพันธุ์ XBB (ไม่มีกรณีไหนเกิน 100) ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักของสหรัฐอเมริกา (XBB.1.5) ซึ่งมีแนวโน้มสูงกว่า BF.7 ที่จะเข้าแทนที่ BA.2.75 ได้ในอนาคต ด้วยคุณสมบัติที่ไวรัสหนีภูมิได้เก่ง และ จับกับโปรตีนตัวรับได้ดีพอๆกับ BA.2.75

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo