COVID-19

เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ 3 ปีประเทศไทยฝ่าโควิด ‘หมอยง’ เชื่อไตรมาส 2 ปีหน้าเข้าสู่ภาวะปกติ

“หมอยง” ชี้ 3 ปีพิสูจน์ความสำเร็จไทยฝ่าโควิด ย้ำมาตรการจัดการโควิดต้องประกอบด้วยหลายปัจจัย คาดไตรมาส 2 ปีหน้าเข้าสู่ภาวะปกติ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เรื่องโควิด 19 การดูแลผู้ป่วย covid ของไทย เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ โดยระบุว่า

หมอยง

ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการผ่อนหนักผ่อนเบาในการดูแลผู้ป่วย และจัดการกับการระบาดของโรคโควิด 19 มีทั้งผ่านอุปสรรค อย่างมากมาย โดยเฉพาะในสื่อสังคมออนไลน์

ผลลัพธ์ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะมีการสูญเสีย มีผู้เสียชีวิตสูงถึง อย่างน้อย 33,000 คน หรือเฉลี่ยปีละ 10,000 คน เมื่อดูแล้วก็นับว่ามากพอดู

แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศทางตะวันตก ไม่ว่ายุโรปและสหรัฐ ในสหรัฐเอง มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 ล้านคนในช่วง 3 ปี หรือเปรียบเทียบกับประชากรประมาณ 3,200 คน ต่อประชากร 1 ล้านคน

สำหรับของประเทศไทยอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 470 ต่อประชากร 1 ล้านคน หรือน้อยกว่าสหรัฐมากกว่า 6 เท่า

LINE ALBUM วัคซีนโควิดรพ 1.สนามยาหมอพร้อม ๒๒๐๘๒๗

ข้อมูล จาก Our world in data

สหรัฐเริ่มให้วัคซีนก่อนประเทศไทย และมีการใช้วัคซีนส่วนใหญ่ เป็น mRNA ทั้งสิ้น ก่อนประเทศไทยหลายเดือน

แต่ผลระยะยาวทุกคนคงเข้าใจแล้วว่า มาตรการในการดูแลควบคุมโรค ต้องประกอบไปด้วยหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ใช่เฉพาะวัคซีนเท่านั้น

เรามีวัคซีน mRNA ใช้ในประเทศไทยช้ากว่าสหรัฐเกือบร่วมปี และในที่สุดก็ทราบว่าวัคซีนแต่ละชนิดไม่มีความแตกต่างกันเลย กาลเวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์ ความคาดหวังแต่เริ่มแรก ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด

shutterstock 1662731305

ขณะนี้เรากำลังกลับคืนเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น และในที่สุดเชื่อว่า ในปีหน้าก็จะเข้าสู่ภาวะปกติตั้งแต่ Q2 เป็นต้นไป แม้ยังมีโรคนี้อยู่ที่เป็นโรคประจำฤดูกาล

มรสุมที่เราได้ต่อสู้มา ยาวนาน ยิ่งกว่าวิ่งมาราธอน และในที่สุดก็จะถึงเป้าหมาย และก้าวผ่านไปได้อย่างดี ภูมิต้านทานที่เรามีอยู่ขณะนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นภูมิต้านทานแบบลูกผสม คือจากวัคซีนและการติดเชื้อ

ผลที่ได้ มีประสิทธิภาพสูง ถึงแม้ว่าจะมีการติดเชื้อซ้ำได้อีก ความรุนแรงของโรคก็จะลดลงไปตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยที่จะต้องนอนโรงพยาบาล หรือป่วยหนัก ก็จะอยู่ในสภาวะที่ระบบสาธารณสุขรองรับได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo