Travel

ศุกร์ (สุข) ละวัด ‘หลวงพ่อยิ้ม’ รอรับผู้มาเยือนที่ ‘วัดนางกุย’

วัดนางกุย ตั้งอยู่เลขที่ 30 หมู่ 5 ตำบลสำเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองด้านใต้ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีอายุกว่า 400 ปี

ผู้ที่สร้างวัดนางกุย ชื่อ “นางกุย” เป็นผู้มีทรัพย์สินเงินทองมากมายจึงได้สร้างวัดขึ้น ในสมัยก่อนวัดนี้เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก แต่หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วัดนางกุย ก็ถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรม

วัดนางกุย

“วัดนางกุย” วัดเก่าแก่ที่ได้รับการบูรณะในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

จนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ได้มาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ ในพระนครศรีอยุธยา วัดนางกุยเป็นวัดหนึ่ง ที่ได้รับการบูรณะในส่วนต่าง ๆ เช่น อุโบสถ หน้าบันรูปนารายณ์ทรงครุฑ และเสมาคู่ รวมทั้งเจดีย์ และพระปรางค์ ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2484

วัดนางกุย

ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐาน “พระพุทธรูปศิลา สมัยทวารวดี” ปางสมาธิ  โครงหลังคาไม้ภายในพระอุโบสถ คงลักษณะความเก่าแก่ไว้เหมือนแบบเดิม รวมถึงประตูไม้ของพระอุโบสถด้วย

วัดนางกุย

ภายในพระอุโบสถหลังนี้ จะประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณ และมีรูปปั้นนางกุย พนมมือ อยู่ทางฝั่งซ้ายของพระพุทธรูปบนชุกชี เล่ากันว่ารูปปั้นนี้ เป็นรูปปั้นโบราณแต่เดิม มีพระพุทธรูปประทับยืน 2 องค์ด้านหลังพระประธาน เชื่อกันว่าองค์จริงเป็นเนื้อสำริด แต่ได้ทำการพอกปูนทับไว้อีกชั้นหนึ่ง

แต่เดิมนั้น ที่พระอุโบสถจะประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขาว ศิลปสมัยทวารวดี สร้างในช่วงปี 1100-1600 ซึ่งไม่มีใครทราบว่า พระพุทธรูปองค์นี้จะมีความเก่าแก่มาก จนกระทั่งกรมศิลปากรได้เข้ามาสำรวจพบ จึงทำการอัญเชิญไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

วัดนางกุย

ทำให้ในปัจจุบัน มีเพียงภาพถ่ายติดไว้เท่านั้น และเหลือเพียงพระพุทธรูปสมัยลพบุรีประดิษฐานไว้ที่หน้าพระอุโบสถ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางกรมศิลปากรจะทำการอัญเชิญไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เช่นกัน แต่เกิดความชำรุดระหว่างการขนย้าย จึงไม่ได้อัญเชิญไป

ลักษณะใบเสมาที่วัดนางกุยนั้น จะเป็นแบบใบเสมาคู่ ซึ่งสัญลักษณ์นี้จะแสดงถึงว่า วัดนางกุยแต่เดิมเป็นวัดหลวงมาก่อน ใบเสมารอบพระอุโบสจะเป็นหินชนวนเก่า ส่วนใบเสมาคู่ด้านหน้าทาสีทองทับไปหมดแล้ว

วัดนางกุย

หน้าบันพระอุโบสถ จะมีความสวยงาม ถูกบูรณะให้อยู่ตามสภาพเดิม เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ซึ่งเป็นการยืนยันอีกจุดหนึ่งว่า สัญลักษณ์นี้บ่งบอกถึงความเป็นวัดหลวงในอดีต

หลวงพ่อยิ้ม อายุประมาณ 400 ปี เป็นพระพุทธรูปปางมารศรีวิชัย ที่แกะสลักจากไม้สักทอง ลงรักปิดทองอย่างสวยงาม เป็นพระเก่าแก่อยู่คู่กับวัดมาช้านาน

จากคำบอกกล่าวเล่าขานของคนเก่าแก่ว่า สมัยก่อน หลวงพ่อยิ้มได้ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา มาติดอยู่บริเวณหน้าวัด ทางเจ้าอาวาส และชาวบ้านได้อัญเชิญหลวงพ่อยิ้มไปประดิษฐาน ณ พระอุโบสถของวัด

S 11206666

ใครมีโอกาสลองเดินทางไปกราบสักการะแล้วคงอดอมยิ้มไม่ได้ เพราะหลวงพ่อยิ้มจะยิ้มรับผู้มาเยือนเสมอ หลวงพ่อยิ้ม เป็นการเฉลิมพระนาม (ตั้งชื่อ) ตามลักษณะเด่นบางประการของพระพุทธรูป คือ รอยยิ้ม

วัดนางกุย ยังมีศาลาแม่นางตะเคียนทอง สลักจากต้นตะเคียนตายพรายในวัดที่มีอายุกว่า 400 ปี โดยยังตั้งบนฐานโคนต้นตะเคียนเดิมภายในศาลา ใครไปถึงแล่ว อย่าลืมขออะไรกับแม่ตะเคียนทองด้วยนะ บอกเลยว่า จะได้ไปแก้บ่นกับแม่ตะเคือนที่วัดนางกุยกันอีกรอบแน่นอน

S 11206662

This slideshow requires JavaScript.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo