Travel

ศุกร์ (สุข) ละวัด ‘วัดใหญ่นครชุมน์’ ความงามแห่งชุมชนมอญบ้านโป่ง ราชบุรี

วัดใหญ่นครชุมน์ ตั้งอยู่ในชุมชนชาวมอญ เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 6 ตำบลนครชุมน์ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายรามัญ ซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เมื่อหลายร้อยปีก่อน นับจากปี 2081-2084 ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช แห่งกรุงศรีอยุธยา

นอกจากนี้ ยังมีการเดินทางเข้ามาอีกหลายระลอก ในช่วงสมัยอยุธยา ธนบุรี จนถึงต้นรัตนโกสินทร์ อพยพเข้ามาจากเมืองหงสาวดีประเทศพม่า เข้ามาพึ่งบรมโพธิสมภาร มารวมอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ประกอบอาชีพสุจริต ดำเนินชีวิตอย่างสงบราบเรียบ และใฝ่ธรรมป็นปกตินิสัยของชนชาติมอญ

D98343E4 33C5 4A07 9820 7375998B5860

สำหรับวัดใหญ่นครชุมน์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้างมาแต่ปี พ.ศ.ใด ตามข้อสันนิษฐานของคนเก่าแก่ในพื้นบ้าน ประกอบหลักฐานที่ค้นพบบางสิ่งบางประการ เชื่อว่า เป็นวัดที่มีความเก่าแก่แห่งยุคทวาราวดี มีอายุกว่าพันปีมาแล้ว ซึ่งกลายเป็นวัดร้าง แทบไม่เหลือซากปรักหักพังให้เห็น

ต่อมา เมื่อมีชนชาติมอญอพยพเข้ามาอยู่ โดยสร้างหลักปักฐานมั่นคงแล้ว ได้สร้างวัดขึ้นใหม่ตรงที่วัดร้างเดิม แต่ยังเป็นเพียงสำนักสงฆ์ขนาดเล็กพอให้พระอยู่อาศัย ชาวบ้านได้เข้าวัดทำบุญ ฟังเทศน์ฟังธรรม เป็นเนื้อนาบุญอันสำคัญ โดยเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้าน ซึ่งเป็นคนมอญเป็นอย่างดี

ถึงเวลาสงกรานต์ มีการทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา การเล่น ตามประเพณีโบราณ ยึดมั่นไม่เสื่อมคลายมาจนถึงปัจจุบัน ศิลปะการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด เช่น กุฏิ ศาลา อุโบสถ พระเจดีย์ เป็นศิลปะของชาวมอญอย่างสมบรูณ์แบบ

1089867F 588D 4D56 88A0 F33BA35D3835

พระอุโบสถของวัด เป็นสถานโบราณวัตถุที่เก่าแก่มานานนับร้อย ๆ ปี ทางวัดจัดการซ่อมแซมมาโดยตลอด จนไม่สามารถจะซ่อมแซมให้ดีได้อีกต่อไป ปัจจุบัน มีรอยแตกร้าวไปทั้งหลัง พระอธิการเทียน ดำเนินการสร้างหลังใหม่ พระอุโบสถหลังเก่าให้คงอนุรักษ์ไว้ เป็นสมบัติของชาวบ้านตำบลนครชุมน์

ทั้งยังเป็นการทำตามพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งส่วนพระองค์ผ่าน ทรงแวะนมัสการเจ้าอาวาส และพระประธานในพระอุโบสถ เมื่อปี 2440

ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท ให้บำรุงพระอารามนี้ไว้ให้นาน ๆ ให้รักษาขนธรรมเนียมประเพณีรามัญไว้ด้วย ทั้งให้ชาวบ้านผู้มีศรัทธา และเจ้าอาวาส ให้ดูแลรักษาวัดนี้ไว้ให้ดี ให้รักษาต้นศรีมหาโพธิ์ไว้ เพื่ออยู่คู่พระอารามนี้จะได้งดงามต่อไป

3E691261 9BEC 4056 B321 3E53C1E73E5A

วิหาร หรือที่ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ปากี เป็นพระวิหารหลวงพ่อพญาแล ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ของวัด 2 องค์ ปางพระพุทธไสยาสน์ กับปางประทานพร ศิลปะการสร้าง เป็นแบบช่างฝีมือชาวมอญ สวยงาม และแปลกตาไปอีกแบบ

พระพุทธไสยาสน์ นับว่าแปลกกว่าที่เคยพบจากที่อื่น เพราะนอนตะแคงซ้าย สร้างด้วยปูนปั้น ส่วนพระพุทธรูปปางประทานพร เป็นพระประธานของวิหาร สร้างด้วยโลหะผสมสีดำสนิท มีพระนามว่าหลวงพ่อพญาแล ภายหลังมีผู้บูรณะลงรักเคลือบทองเสียใหม่

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ อยู่เป็นศักดิ์ศรีแก่ชาวบ้านนครชุมน์มาประมาณ 300 ปี ได้ตั้งสมมุติฐานไว้ 2 ประการคือ

สร้างไว้เพื่อเป็นเชิงเทินสอดส่องระวังข้าศึก ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้นได้เกิดศึกสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เรียก กันว่าสงครามเก้าทับ ท้าวพระยามอญทั้งหลายที่ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัติย์ไทย เมื่อครั้งรามัญพ่ายแก่พม่า ได้ขันอาสามาประจำหัวเมืองชายแดน เพื่อค่อยสกัดกันข้าศึก ไม่ให้เข้าถึงกรุงได้โดยง่าย จึงได้สร้างเชิงเทินนี้ไว้

B5E3F8F8 375D 44AF A5EC 3D68DA1479EE

สันนิษฐานว่า ชาวมอญที่อพยพมาอยู่บริเวณนี้ได้ สร้างไว้ เพื่อที่จะสร้างองค์พระเจดีย์ จำลองพระธาตุมุเตา แต่สร้างไม่สำเร็จ จึงได้แต่ส่วนที่เป็นฐานเท่านั้น (พระธาตุมุเตาเป็นสัญลักณ์เจดีย์ ที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระพุทธเจ้า ที่ชาวมอญให้ความเคารพและศรัทธามาก จึงคิดที่จะจำลองเอาไว้เพื่อระลึกถึงบ้านเกิดเมืองนอน )

ลุล่วงมาจนถึงปัจจุบันนี้น่าจะมีอายุราว 300 กว่าปี ส่วนคำว่า ปากี นั้นน่าจะมาจากชื่อของผู้สร้างในครั้งแรก คือพระอาจารย์กี ภาษารามัญเรียกว่า อาจากี จนเรียกผิดเพี้ยนมาเป็น ปากี ในปัจจุบัน

This slideshow requires JavaScript.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo