Travel

ศุกร์ (สุข) ละวัด ไป ‘วัดจันทร์’ ชม ‘วิหารแว่นตาดำ’ กราบ ‘พระพุทธรูปสิงห์สาม’

“วัดจันทร์” ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ สันนิษฐานว่า ก่อสร้างมานานกว่า 300 ปี โดยชนเผ่าลั๊วะ ที่มาบุกเบิกสร้างหมู่บ้านอย่างไม่เป็นทางการ จำนวนหลายหมู่บ้าน และแบ่งกลุ่มกันสร้างวัดขึ้นเป็นจำนวนมาก 

หลังจากหมดยุคเจริญรุ่งเรือง ชาวลั๊วะได้โยกย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น ทำให้พื้นที่ตำบลบ้านจันทร์ และพื้นที่ใกล้เคียง มีวัดถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก เมื่อกาลเวลาผ่านไป ก็เหลือแต่เจดีย์ ที่ตั้งอยู่บริเวณวัดบ้านจันทร์เท่านั้น ที่มีคนมาบูรณปฎิสังขรณ์ เพื่อเป็นที่สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านจนถึงปัจจุบัน

viha

ต่อมา พระอุตตมะ พระธุดงค์มาจากพม่า เห็นบริเวณวัดจันทร์เป็นที่เงียบสงบเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา จึงได้ปักกลดอยู่บริเวณนี้ จากนั้นมีพ่ออุ้ยดูลอย จากบ้านขุนแจ่มน้อย และพ่ออุ้ยคำหมื่นจากบ้านห้วยตอง ได้มาพบพระอุตตมะจึงเกิดความศรัทธาเลื่อมใส ได้ชักชวนกันมาตั้งรกรากที่วัดจันทร์ พร้อมกับประกาศเชิญชวนหมู่บ้านใกล้เคียงได้มาร่วมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โดยมีพระอุตตมะเป็นประธาน

หลังจากช่วยชาวบ้านปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใกล้จะสำเร็จ พระอุตตมะจึงได้ลาคณะศรัทธากลับไปพม่า และในระหว่างทางเกิดอาพาธหนัก จนในที่สุดก็มรณภาพระหว่างทาง

S 17342502

ต่อมา ในปี 2472-2473 พระครูบาศรีวิชัย ธุดงค์มาจากอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มาพบว่า พระเจดีย์ยังบูรณะไม่แล้วเสร็จ จึงได้นำชาวบ้านบูรณะต่อจนสำเร็จ พร้อมกับได้ยกฉัตรพระเจดีย์ขึ้น ก่อนจะจาริกกลับไปทางอำเภอเสมิง จังหวัดเชียงใหม่ จนถึงปี 2510 ทางโครงการพระธรรมจาริก วัดศรีโสดา จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดส่งพระธรรมจาริกมาปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

S 17342505

สิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นอย่างหนึ่งในวัดคือ “วิหารแว่นตาดำ” ที่มีลักษณะคล้ายคนสวมแว่นตา โดยมีเรื่องเล่าว่า โบสถ์ในสมัยโบราณ มีลักษณะคับแคบ มืด ไม่ค่อยมีแสงสว่าง จึงได้มีการเจาะแนวหลังคาของโบสถ์ แล้วนำกระจกมาติดเพื่อให้แสงสว่างส่องเข้ามาด้านในของโบสถ์

นอกจากนี้ ยังมี “พระพุทธรูปสิงห์สาม” อัญเชิญมาจากบริเวณรอยพระพุทธบาทเดิมถูกทิ้งร้างไว้ ถือเป็นของคู่บ้านคู่เมือง มีลักษณะงดงามมากโดยเฉพาะองค์ใหญ่ ซึ่งมีขนาดหน้าตักกว้าง 24 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์อิ่มเอิบ

S 17342500

ส่วนพระสิงห์องค์ที่ 2 มีขนาดรองลงมา ขนาดหน้าตักกว้าง 16 นิ้ว และองค์สุดท้าย ขนาดเล็กที่สุด หน้าตักกว้าง 12 นิ้ว  โดยพระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้ถือว่าเป็นของสำคัญคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวบ้านให้ความเคารพกราบไหว้บูชามาก  และเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่บันดาลให้บ้านเมืองมีความผาสุก สงบร่มเย็นตลอดมา

S 17342504

S 17342498

S 17342510

S 17342503

S 17342496

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo