Entertainment

เปิดประวัติ JSL สื่อบันเทิงยักษ์ใหญ่ ในวันที่ไปต่อไม่ไหว ขาดทุนสะสม 176 ล้านบาท

เปิดประวัติ JSL สื่อบันเทิงยักษ์ใหญ่ ในวันที่ฝืนสู้แล้วแต่ไม่ไหว ขาดทุนสะสม 176 ล้านบาท ประกาศยุติการดำเนินงานบางส่วน

กลายเป็นข่าวใหญ่สะเทือนวงการบันเทิงไม่น้อยเลยทีเดียว เมื่อสื่อบันเทิงยักษ์ใหญ่ JSL ที่ก่อตั้งมานานถึง 43 ปี ทุกคนต่างคุ้นเคยกับโลโก้ ที่การันตีผลงานความสนุก ข้ามยุคตั้งแต่อนาล็อกยันดิจิทัล แต่ทว่า นับตั้งแต่เกิด Digital Disruption กับการระบาดโควิด-19 ทำให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทได้รับผลกระทบอย่างมาก แม้ตลอดมาจะพยายามปรับตัวในรูปแบบต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่บรรลุผลตามที่ตั้งเป้าหมายจึงตัดสินใจจะยุติการดำเนินงานบางส่วน นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565

7 เปิดประวัติ JSL เจเอสแอล 1

เปิดประวัติ JSL สื่อบันเทิงยักษ์ใหญ่ ก่อนปิดตำนาน 43 ปี

บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด (อังกฤษ: JSL Global Media Company Limited) เป็นบริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย เดิมชื่อว่า บริษัท เจ เอส แอล จำกัด ปัจจุบัน มีนาง รติวัลคุ์ ธนาธรรมโรจน์ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

เจ เอส แอล ก่อตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2522 ด้วยเงินทุนจดทะเบียนแรกเริ่ม 1 แสนบาท โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ ลาวัลย์ ชูพินิจ (กันชาติ), จำนรรค์ ศิริตัน และสมพล สังขะเวส นักแปลนวนิยายชื่อดัง ซึ่งชื่อของบริษัทมาจากชื่อของผู้ก่อตั้งนั่นเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ และจัดรายการทางวิทยุโทรทัศน์ รวมทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ จนกระทั่งสมพลขอลาออกจึงได้มีการเปลี่ยนกรรมการผู้จัดการและหุ้นส่วนคนสำคัญเป็น เสรี ชยามฤต และสมพงษ์ วรรณภิญโญ ตามลำดับ

ภายหลังสมพงษ์และบุคลากรจำนวนหนึ่งได้ขอแยกตัวไปก่อตั้งทีวี ธันเดอร์ เจ เอส แอล จึงได้ปริพันธ์ หนุนภักดี เป็นรองประธานกรรมการ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด เพื่อให้เข้ากับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารไร้พรมแดน ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยมีรติวัลคุ์ ธนาธรรมโรจน์ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และมีบริษัทในเครือ อาทิ AI (Thailand) ที่เป็นผู้ดูแลลิขสิทธิ์คาแรคเตอร์การ์ตูนดัง ๆ ในการนำไปผลิตเป็นสินค้า รวมทั้งยังมีบริการให้เช่า กล้อง ห้องตัดต่อ ห้องลงเสียงและสตูดิโอ

บริษัทเริ่มทำการผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ต่อมาได้ขยายการผลิตรายการในหลากหลายรูปแบบ และหลายสถานี เช่น ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 3 ช่อง 9 ไอทีวี ช่องวัน ไทยรัฐทีวี และอื่น ๆ เป็นจำนวนกว่า 100 รายการ เพื่อนำเสนอออกอากาศ เช่น เกมโชว์ ควิซโชว์ เรียลลิตี้โชว์ การประกวด วาไรตี้โชว์ ทอล์คโชว์ รายการตลก ละครเวที ละครซิทคอม ละครเรื่องยาว ละครสั้น สารคดีโทรทัศน์ และรายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมทุกเพศ ทุกวัย และยังได้รับรางวัลจากหลายสถาบัน

ปัจจุบันมีรายการโทรทัศน์ประเภททอล์คโชว์และวาไรตี้โชว์ออกอากาศทางเอ็มคอตเอชดีและพีพีทีวี โดยบางรายการจะมีผู้ผลิตรายการรายอื่นร่วมผลิตด้วย

5 เจเอสแอล 2

รายการในเครือที่ยังออนแอร์

-รายการเจาะใจ (2534 – ปัจจุบัน) ช่อง 5 HD ช่อง ONE 31 และ ช่อง 9 MCOT HD

-รายการ Perspective (2558 – ปัจจุบัน) ช่อง 9 MCOT HD (ผลิตร่วมกับ แบล็คดอท)

-กว่าจะโต (2563 – ปัจจุบัน) ช่อง ALTV (ผลิตร่วมกับแบล็คดอท)

-รายการคนค้นฅน (2546 – ปัจจุบัน) ช่อง 9 MCOT HD (ผลิตร่วมกับ ทีวีบูรพา)

-รายการ D-มีดี (2564 – ปัจจุบัน) ช่อง 5HD1 ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.00-18.24 น. เริ่มวันเสาร์ที่ 3 เมษายน 2564 – ปัจจุบัน (ผลิตร่วมกับ กสทช., กทปส., มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์)

-รายการไมค์คู่ ไม่รู้ใคร The Featuring Show (2565 – ปัจจุบัน) ช่อง 7HD35 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00-18.00 น. เริ่มวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 – ปัจจุบัน

-รายการมาลัยไฟท์เตอร์ (2565 – ปัจจุบัน) ช่อง 7HD35 ทุกวันเสาร์ เวลา 17.00-18.00 น. เริ่มวันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 – ปัจจุบัน

5 เจเอสแอล 1

นอกจากนี้ ยังเปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เจ เอส แอล แชนแนล โดยนำเสนอรายการต่าง ๆ ของบริษัทตั้งแต่ยุคเริ่มต้น ทั้งที่เคยออกอากาศแล้วแต่ยังคงความร่วมสมัย และเทปรายการที่ไม่เคยออกอากาศทางโทรทัศน์ เนื่องจากไม่ผ่านการเซ็นเซอร์ รวมทั้งรายการใหม่ของผู้จัดรายต่าง ๆ ที่นำเสนอผลงานแต่ไม่ได้รับโอกาสจากที่อื่นอีกด้วย แต่ได้ยุติการแพร่ภาพลงตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 โดยยังไม่มีกำหนดการกลับมาแพร่ภาพแต่อย่างใด

ที่ทำการของบริษัท เริ่มแรกใช้บ้านพักบริเวณสนามเป้า ถนนพหลโยธิน แล้วจึงย้ายมาที่ซอยอินทามระ 6 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย และหมู่บ้านราชาวิลล่า ซอยลาดพร้าว 67 ตามลำดับ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน บริษัทมีสำนักงานและสตูดิโอของตนเอง ตั้งอยู่ที่ 154 ซอยลาดพร้าว 107 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 มีกระแสข่าวว่าบริษัทบันเทิงระดับตำนานแห่งหนึ่ง เตรียมปิดตัวอย่างกะทันหัน กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ทางบริษัท เจเอสแอล ได้เผยแพร่จดหมายยุติการดำเนินงานบางส่วน ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป โดยผลประกอบการห้าปีหลังสุดก่อนประกาศดังกล่าวนั้น บริษัทขาดทุนสะสม 176 ล้านบาท

2 เจเอสแอล แถลง 1

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo