Lifestyle

อันตราย! Work From Home เลิกพฤติกรรม Work From Bed

Work From Home หรือ การทำงานที่บ้าน ที่ปัจจุบันอาจไม่ใช่แค่เทรนด์การทำงานที่เป็น “ทางเลือก” ในการทำงานเท่านั้น แต่มันกำลังจะกลายเป็น “ทางรอด” ในยุคโควิด 19 

อย่างไรก็ตาม การทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home ย่อมมีความเสี่ยงตามมา หากมีพฤติกรรมการทำงานผิด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ทำงานบนเตียง หรือ Work From Bed ซึ่งกลายเป็นเรื่องอันตรายต่อสุขภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ

Work From Home

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ทุกคนไม่ได้เตรียมตัวเพื่อทำงานที่บ้าน บางคนไม่อยากทำงานที่บ้านด้วยซ้ำ แต่ถูกบังคับโดยสถานการณ์ โควิด-19

นอกจากนี้บรรยากาศและการถูกบังคับไม่ให้ไปไหน ทำให้ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะทำงาน จึงมีความขี้เกียจเกิดขึ้น การทำงานบนเตียง จึงเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด และกลุ่มคนทำงานอายุน้อยส่วนใหญ่ ก็เลือกที่จะทำงานบนเตียง มากกว่าไปทำงานในโต๊ะรับประทานอาหาร หรือโต๊ะครัว

นายแพทย์สมบูรณ์ ทศบวร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับหลายคนการทำงานจากบ้าน ยังหมายถึงทำงานบนเตียงด้วย การต้องรีบตื่น อาบน้ำ แต่งตัวไปทำงาน กลายเป็นการล้างหน้า เปิดคอมพิวเตอร์ และนั่งทำงานบนเตียงต่อ

จากผลการศึกษาในเดือนพฤศจิกายน 2543 พบว่าคนอเมริกัน 72% จากที่สำรวจ 1,000 คน ทำงานบนเตียง ซึ่งเพิ่มขึ้น 50% และนับแต่ โควิด-19 ระบาด ทุก 1 ใน 10 คน จะบอกว่า ทำงานอยู่บนเตียง 24-40 ชั่วโมง หรือมากกว่า บนเตียง ซึ่งคนทำงานหนุ่มสาวอังกฤษอายุ 18-34 ชั่วโมง ไม่มีโต๊ะ หรือเก้าอี้ทำงานที่เหมาะสม และทำงานในเตียงมากกว่าแรงงานที่อายุมากกว่าถึงสองเท่า

shutterstock 1685504413

ในความเป็นจริง การทำงานบนเตียง เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาหลายอย่าง ทั้งด้านจิตใจ และด้านร่างกาย แม้จะไม่รู้สึกในตอนนี้ ผลจะคงอยู่ไปเรื่อย ๆ และจะแสดงอาการในระยะเวลาต่อมา ในทางเออร์โกโนมิกส์ ถือว่าไม่เหมาะสมกับร่างกายทั้งนั้น

ทั้งนี้เนื่องจาก การทำงานบนเตียง จะทำให้เกิดอันตรายของ กล้ามเนื้อคอ หลัง สะโพก และมีอันตรายมากขึ้น เมื่อทำงานในเตียงนุ่ม ๆ ในคนทำงานหนุ่มสาว จะมีอันตรายมากกว่า เนื่องจากไม่ค่อยมีอาการปวด ขณะทำงานบนเตียง แต่หลังจากนั้น ก็จะมีอาการของกระดูกและข้อ ซึ่งเป็นผลจากการนอนทำงานบนเตียง

“ถึงตอนนี้พวกเขาจะแข็งแรง แต่ในอนาคต ก็จะมีโรค หรือปัญหาทางเออร์โกโนมิกส์เกิดขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งรวมถึงอาการปวดศีรษะ และในที่สุดจะปวดหลัง กล้ามเนื้อหลังแข็งเกร็ง ปวดคอ จากการบาดเจ็บของกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อที่คอ”นายแพทย์สมบูรณ์ กล่าว

ดังนั้น หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจำเป็นต้อง ทำงานบนเตียง มีข้อแนะนำ ดังนี้

  • ให้พยายามนึกว่า นั่งทำงานบนเก้าอี้ ให้นั่งหลังตรง อยู่ในท่าเหมือนนั่งเก้าอี้ จะช่วยลดการบาดเจ็บ ของกระดูก และกล้ามเนื้อได้
  • ม้วนผ้าห่ม หรือใช้หมอนหนุนหลังเป็น lumbar support สอดหมอนรองเข่า
  • พยายามแยกจอ ออกจาก คีย์บอร์ด เพื่อให้จออยู่ในระดับสายตา ไม่ต้องก้มหน้ามอง (อาจใช้ remote keyboard)
  • อย่านอนคว่ำหน้าพิมพ์งาน จะมีการบาดเจ็บ ที่คอและข้อศอกอย่างมาก
  • พยายามทำงานในหลาย ๆ ท่าทาง เช่น ยืนทำงานบ้าง
  • ต้องคิดไว้ว่า โควิด-19 ยังอยู่อีกนาน อาจจะคุ้มที่จะหาซื้อ โต๊ะ เก้าอี้ ทำงานที่เหมาะสม

โควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง การป้องกันมีความสำคัญมากขึ้น เมื่อผ่านพ้นการระบาดไปแล้ว อย่าให้กลายเป็นคนงานที่ไม่มีคุณภาพ จากการนอนไม่หลับ และเป็นโรคกระดูก และข้อเรื้อรัง ในภายหลังเลย มาป้องกันดีกว่า อย่านอนทำงานบนเตียง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo