Environmental Sustainability

‘ดาว’ ชูเทคโนโลยี ‘ลดก๊าซเรือนกระจก-ประหยัดพลังงาน’ ช่วยโรงกลั่นเร่งปรับตัว สู้โลกร้อน

อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันไทย ตื่นตัวปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง มุ่งใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการปล่อยมลพิษ และลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต ส่วนหนึ่งในความพยายามแก้ปัญหาโลกร้อน

เมื่อเร็ว ๆ  นี้ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (PTIT) ได้จัดสัมมนาออนไลน์หัวข้อ “Sustainable Refinery Trend and Technology” โดยมีตัวแทนจาก “กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย” ผู้นำด้านแมททีเรียลส์ ไซแอนซ์ ที่มีนวัตกรรมสารเคมี เพื่อดักจับก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มประสิทธิภาพโรงกลั่นน้ำมัน ร่วมบรรยาย  รวมถึง ตัวแทนจาก “ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)” มาร่วมแชร์ประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อม

Dow

นายวิชาญ ตั้งเคียงศิริสิน ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบัน ทั่วโลกตื่นตัวต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จากภาวะโลกร้อน หลายประเทศตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutral) หวังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้เป็นศูนย์ (net zero emissions) ภายในปี 2593 เพื่อผลักดันเป้าหมายการรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส ตามข้อตกลงปารีส ให้เป็นผลสำเร็จ

เนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน ทิศทางของโลก จึงมุ่งเน้นไปยังการพัฒนาพลังงานสะอาด และลดการใช้พลังงานลง อย่างไรก็ตาม โลกยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานจากฟอสซิลได้ในขณะนี้  ดังนั้น ทางออก คือ ทำอย่างไรให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงด้วย

S 6013307

นายวิชาญ ยังชี้ให้เห็นแนวโน้มสำคัญ ๆ ของอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน 6 ประการในปัจจุบัน คือ

  • มีการปรับปรุงเพิ่มอัตราการใช้งาน ของเครื่องจักรการกลั่นน้ำมันของโรงกลั่น เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดในการผลิต
  • แหล่งน้ำมันดิบที่มีคุณภาพมีจำนวนลดลง จึงต้องหันมาใช้น้ำมันดิบ จากแหล่งที่มีปริมาณกำมะถันเจือปนมากขึ้น
  • ออกมาตรการเข้มงวดมากขึ้น ในการกำหนดค่าปริมาณกำมะถัน ในผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดต่าง ๆ เช่น ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์น้ำมัน สำหรับเรือเดินสมุทร ที่กำหนดโดย International Maritime Organization (IMO)
  • การกำหนดมาตรฐาน ปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และอนุพันธ์ของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เข้มงวดขึ้น
  • ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพื่อบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน
  • ลดการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

“ดังนั้น สิ่งที่โรงกลั่นน้ำมันต้องการในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ โดยลดการใช้พลังงานลงให้ได้มากที่สุด ลดความจำเป็นในการหยุดเดินเครื่องนอกแผน ลดปัญหาเช่นการการกัดกร่อน ซึ่งจะช่วยยืดอายุการทำงานของโรงกลั่น และลดระยะเวลาการซ่อมบำรุงให้น้อยลง โดยที่ไม่ต้องเพิ่มเม็ดเงินในการลงทุนเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันต้องช่วยดักจับก๊าซต่าง ๆ จากกระบวนการผลิต เพื่อลดการปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม”

S 6021134

เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวของกลุ่มโรงกลั่น ดาว จึงได้คิดค้นสาร UCARSOL (ยูคาซอล) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุด สำหรับดักจับก๊าซพิษ ที่ถูกปล่อยออกจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้า และโรงงานปุ๋ย เพื่อแก้ปัญหาที่เหมาะสม ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงกลั่น ลดการปล่อยก๊าซ ที่เป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และยังช่วยลดการใช้พลังงานในระบบการผลิต

นาย Chee Pin San หัวหน้าฝ่ายเทคนิค ส่วนพลังงานประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค และ นายวิชัย ศรีประเสริฐการค้า ผู้จัดการฝ่ายดูแลลูกค้าของส่วนธุรกิจ ดาว อินดัสเทรียล โซลูชั่น กล่าวว่า ปัจจุบันมี 1,500 องค์กรทั่วโลก ที่เลือกใช้สาร UCARSOL ของกลุ่มบริษัท ดาว โดยมีโรงกลั่นกว่า 380 โรงที่ใช้สาร UCARSOL อยู่ และในเอเชียมีโรงกลั่นน้ำมัน และโรงแยกก๊าซธรรมชาติกว่า 80 แห่ง ใช้ UCARSOL อยู่ด้วย

สาร UCARSOL จะช่วยลดการปล่อยก๊าซที่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม และยังช่วยลดการกัดกร่อนในระบบของอุปกรณ์ รวมถึง การประหยัดพลังงาน โดยกลุ่มบริษัท ดาว มีระบบบริการหลังการขาย “Amine Management Program” เพื่อเก็บตัวอย่างไปวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงาน ของหน่วยผลิตที่ใช้สาร UCARSOL รวมถึง ให้ความรู้ คำแนะนำ และวิธีแก้ปัญหาด้วย

S 6013305

โครงการที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ของกลุ่มบริษัท ดาว เช่น โรงกลั่นน้ำมันในเกาหลีใต้ และโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่น  ซึ่งล้วนแต่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสามารถลดการใช้พลังงานลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายณัฐพนธ์ พุ่มวิเศษ วิศวกรอาวุโส ฝ่ายโรงกลั่น บริษัท IRPC จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า IRPC ได้นำเทคโนโลยี UCARSOL มาใช้เป็นผลสำเร็จ โดยสามารถลดการใช้ไอน้ำในกระบวนการดักจับก๊าซลง ช่วยลดการใช้พลังงาน สามารถประหยัดพลังงงานไอน้ำเป็นมูลค่ากว่า 41.5 ล้านบาทต่อปี และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการ UCARSOL ดังกล่าว IRPC สามารถทำสำเร็จเป็นอันดับ 4 ของโลกและนับเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย

จากการประสบความสำเร็จทั้งด้านประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อม โรงกลั่นน้ำมัน IRPC จึงขยายผลนำเข้าประกวดโครงการ Thailand Energy Award 2020 และได้รับเลือกให้เป็นโครงการตัวแทนจากประเทศไทยไปประกวด Asian Energy Award 2021 ด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo