Environmental Sustainability

‘ไทย-เยอรมนี’ ประชุมต่อยอดความสำเร็จ โครงการ ‘Risk-NAP”

“ไทย-เยอรมนี” ต่อยอดความสำเร็จ ด้านความร่วมมือ ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ภายใต้โครงการ “Risk-NAP”

​สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (กปอ.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมนี (GIZ) จัดการประชุมเพื่อต่อยอดความสำเร็จจากความร่วมมือไทย-เยอรมนี ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ภายใต้โครงการ Risk-NAP  ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

685597 0

โดยมี นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสผ. เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม ร่วมกับ นายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย และ  นายไรโฮล์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมนี (GIZ) ประจำประเทศไทย และมาเลเซีย

นอกจากนี้ ยังมีนายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช รองเลขาธิการสผ. ขึ้นกล่าวถึงความมุ่งมั่น ในการต่อยอดผลสำเร็จจากหน่วยงานที่ร่วมดำเนินโครงการ และ นางณัฏฐนิช อัศวภูษิตกุล ผู้อำนวยการกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวรายงาน

685607

กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการนำเสนอความสำเร็จ และบทเรียนจากการดำเนินโครงการสนับสนุนการจัดทำแผนการปรับตัว ต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติการจัดการความเสี่ยง เผยแพร่ผลผลิต และผลลัพธ์ จากการดำเนินโครงการ ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้นำไปใช้ และขยายผลในวงกว้าง

รวมถึง นำเสนอความมุ่งมั่นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการต่อยอดความสำเร็จ และบทเรียนจากการดำเนินโครงการ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ สผ. เจ้าหน้าที่ GIZ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้แทนจากหน่วยงานส่วนกลาง อาทิเช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมอนามัย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และกรมการท่องเที่ยว

685602

ที่ประชุมได้กล่าวถึงความสำเร็จสำคัญ จากการดำเนินโครงการในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ 

  • การบูรณาการในระดับประเทศ

โครงการได้สนันสนุนการวิเคราะห์ และบูรณาการความเสี่ยง จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่แผนและนโยบายใน 3 สาขาที่สำคัญ ได้แก่ สาธารณสุข การท่องเที่ยว และการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์

นอกจากนี้ ยังได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ผ่านการประชุมระดับสูง และการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

685598

  • กลไกการเงินและการติดตามการดำเนินงานด้านการปรับตัว

โครงการได้ผนวกเกณฑ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เข้าสู่การพิจารณาในระบบงบประมาณของประเทศ และกองทุนสิ่งแวดล้อม รวมถึง สนับสนุนการวิเคราะห์เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ และการเงิน สำหรับการดำเนินงานด้านการปรับตัว ที่เสนอภายใต้ (ร่าง) กฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งยังได้จัดทำกรอบแนวคิดการติดตาม และประเมินผลด้านการปรับตัว พร้อมกับดัชนีชี้วัดภูมิคุ้มกันในรายสาขาขึ้น เพื่อใช้ประเมินสถานะ การมีภูมิคุ้มกัน ต่อภาวะกดดันจากสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

685604

  • การบูรณาการในระดับพื้นที่

โครงการได้เริ่มกระบวนการวางแผนด้านการปรับตัว ในพื้นที่นำร่อง 4 พื้นที่ ตั้งแต่การประเมินความเสี่ยง จากสภาพภูมิอากาศตามภาพฉายอนาคต ในสถานการณ์ต่าง ๆ  การระบุพื้นที่เสี่ยงที่สำคัญ และการกำหนดทางเลือกในการปรับตัว ซึ่งดำเนินการผ่านการมีส่วนร่วม จากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ภาคเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสาขาการท่องเที่ยว การเกษตร การตั้งถิ่นฐาน สาธารณสุข ทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรธรรมชาติ

685599

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo