Environmental Sustainability

น่าปลื้ม!! คนอาเซียน 80% บริโภคอย่างใส่ใจสังคม – สิ่งแวดล้อม

คนอาเซียน ใส่ใจสังคม สิ่งแวดล้อม ฮิลล์ อาเซียน เผยผลวิจัย กลุ่ม Consciouslites คนสายพันธุ์ใหม่ เพิ่มสูงขึ้น แนะสินค้า บริการ ปรับตัวรับด่วน

ศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน หรือ ฮิลล์ อาเซียน (Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN: HILL ASEAN) โดยบริษัท ฮาคูโฮโด อิงค์ เปิดเผยผลวิจัยล่าสุด ในหัวข้อ “The Rise of Conscious ASEANs: Why should you CARE?” หรือ บริโภคอย่างใส่ใจ ไลฟ์สไตล์แนวใหม่ของคนอาเซียน พบ พฤติกรรม คนอาเซียน ใส่ใจสังคม สิ่งแวดล้อม มากขึ้น

protect 450596 1280

สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ ศึกษากลุ่มผู้บริโภคในอาเซียน ที่นำความใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม มาปฏิบัติจริงในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดย ฮิลล์ อาเซียน เรียกผู้บริโภคที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกลุ่มนี้ว่า “Consciouslites” และได้วิเคราะห์ไลฟ์สไตล์ มุมมอง และพฤติกรรมการซื้อของคนกลุ่มนี้ไว้ดังนี้

  • The Consciouslites

The Consciouslites หมายถึง ผู้บริโภคที่มีวิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม (Conscious Lifestyles) ต้องการสร้างผลกระทบในทางที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรวม ผ่านการกระทำต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และการเลือกใช้แบรนด์ต่างๆ

  • Conscious Lifestyles

Conscious Lifestyles หมายถึง วิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภค ที่มีการพิจารณาว่าการกระทำของตนจะเป็นผลดีต่อตนเอง ผู้อื่น สังคมและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ รวมถึงมีความใส่ใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ บริการ และแบรนด์ต่างๆ ที่มีแนวคิดสอดคล้องกับวิถีชีวิตของตน

ทัศนคติ

  • ผู้บริโภคยุคใหม่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม ตระหนักรู้เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ที่ใส่ใจสังคม-สิ่งแวดล้อม และนำไปปฏิบัติจริง

คนอาเซียนประมาณร้อยละ 90 รู้จักคำว่า Conscious Lifestyle หรือ วิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคม-สิ่งแวดล้อม และเกือบ 80% นำความใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม มาปฏิบัติจริง ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

  • มีความใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับสูง (Base: Conscious ASEANs)

Consciouslites ในอาเซียน 86% ระบุว่า นำความใส่ใจสังคม-สิ่งแวดล้อม มาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง โดยไม่สนใจว่าคนอื่นทำอย่างไรหรือคิดอย่างไร รวมถึงทำและชักชวนให้ผู้อื่นทำด้วย

  • ผลกระทบทางสังคมมีผลต่อการเลือกแบรนด์ (Base: Conscious ASEANs)

กว่า 80% ของ Consciouslites ในอาเซียน ให้ความสำคัญกับ แบรนด์ที่ใส่ใจสังคม โดย 85% ระบุว่า อยากให้มีแบรนด์จำนวนมากขึ้น ที่สนับสนุนวิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคม-สิ่งแวดล้อม และส่งผลในทางที่ดีต่อสังคม และ 82% ระบุว่า จะเปลี่ยนไปใช้แบรนด์ที่สนับสนุนสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

เต็มใจจ่ายเพื่อสิ่งแวดล้อม

  • เต็มใจจ่ายเงินมากขึ้น เพื่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใส่ใจสังคม (Base: Conscious ASEANs)

ผลสำรวจพบว่า 81% ของ Consciouslites ในอาเซียน ระบุว่า เต็มใจจ่ายแพงขึ้นเพื่อสินค้าสำหรับวิถีชีวิต ที่ใส่ใจสังคม และสิ่งแวดล้อม

การเกิดขึ้นของผู้บริโภคกลุ่ม Consciouslites ที่มีจำนวนมากในอาเซียน มีความเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้ง กับความตระหนักรู้ว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เป็นปัญหาที่มีอยู่จริง และกระทบต่อชีวิตของตนเองและคนรอบข้าง นำไปสู่การหาแนวทางแก้ไข

นั่นคือ การรักษาสมดุลระหว่างการรักษ์โลก กับความสบายใจส่วนบุคคล รณรงค์ด้วยความสนุกสนาน ไม่เคร่งเครียด เคารพความเห็นต่าง และไม่กดดันตัวเองและผู้อื่นมากเกินไป

งานวิจัยของ ฮิลล์ อาเซียน แสดงให้เห็นว่า วิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อและการเลือกแบรนด์ของผู้บริโภค และมีพลังในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ของกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ

เวลาเลือกแบรนด์

 

ผู้บริโภคกลุ่มนี้ ไม่ได้มองว่า ผู้ประกอบการและแบรนด์ เจ้าของสินค้า เป็นผู้ร้ายที่ทำให้เกิดปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม แล้วลงโทษด้วยการตำหนิติเตียน (shaming) และไม่ซื้อสินค้า (boycott) แต่มองว่า ผู้ประกอบการธุรกิจ สามารถเป็นพันธมิตร และร่วมกันแก้ไขปัญหาได้ จึงแสดงออกด้วยการอุดหนุนซื้อสินค้า (buycott) ที่พยายามช่วยแก้ปัญหา สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงชักชวนให้ผู้อื่นซื้อเช่นเดียวกัน

นี่จึงเป็นโอกาสของ ผู้ประกอบการและแบรนด์ ในการสร้างการยอมรับ และชนะใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ ด้วยการเปลี่ยนจาก การทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) หรือ CSR มาเป็น CSI (Conscious and Sustainable Initiative) ที่มีความต่อเนื่องมากกว่า และเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นข้อได้เปรียบขององค์กรได้

ฮิลล์ อาเซียน ยังได้แนะแนวทางการปรับตัวด้านการตลาดของ ผู้ประกอบการและแบรนด์ ใน 3 ด้าน ดังนี้

1. อุดมการณ์ของแบรนด์ (Brand Cause)

Identify the right issue: แบรนด์ไม่จำเป็นต้องพูดถึงทุกประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ให้พิจารณาเลือกประเด็นปัญหาหรือคุณค่าเพียงอย่างเดียวมาเป็นสิ่งที่แบรนด์ให้ความสำคัญ และเจาะจงทำเรื่องนั้นอย่างต่อเนื่องจริงจัง

การรับรู้ของผู้บริโภค

Stand up to stand out: ผู้ประกอบการและแบรนด์ ควรยืนหยัดเพื่อบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งที่แบรนด์ต้องการขาย ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในแบรนด์ และช่วยให้แบรนด์สามารถเชื่อมโยงกับผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น

2. การแสดงออกของแบรนด์ (Brand Expression)

Greenovative action: ผู้ประกอบการและแบรนด์ ควรกระตุ้นให้ผู้คนหันมามีวิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน หรือมีลักษณะคล้ายเกม ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่ดีแล้ว ยังทำให้แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ดีด้วย

Make it fun and inspiring: Consciouslites ในอาเซียนชอบการสื่อสารในเชิงบวก ผู้ประกอบการและแบรนด์ จึงต้องเน้นย้ำการสื่อสาร ให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน

3. ความร่วมมือกับพันธมิตร (Brand Collaboration)

Partnering with stakeholders: ผู้บริโภคมองว่าผู้มีอิทธิพลทางความคิด (key opinion leader) หรือ KOL และผู้นำชุมชนต่างๆ มีความน่าเชื่อถือและเป็นกระบอกเสียงสำคัญที่ควรได้รับการสนับสนุน การร่วมมือกับ KOL หรือผู้นำชุมชนที่เหมาะสม จะทำให้ ผู้ประกอบการและแบรนด์ เป็นที่ชื่นชมและสนับสนุนมากขึ้น

Empowering communities: แบรนด์ควรช่วยเป็นกระบอกเสียงให้กับชุมชนและสนับสนุนแนวทางของชุมชนในการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo