Environmental Sustainability

สผ. กล่าวถ้อยแถลง การประชุม ‘CBD COP 15’ ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟู ความหลากหลายทางชีวภาพ

สผ. กล่าวถ้อยแถลงในการประชุม CBD COP 15 ช่วงที่ 2 เพื่อแสดงความมุ่งมั่นร่วมกับประชาคมโลก ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดย ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการ สผ. หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้กล่าวถ้อยแถลงในระหว่างการประชุมระดับสูง (High-Level Segment) ของการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (CBD COP 15) ช่วงที่ 2 เมื่อวันที่ 15-17 ธันวาคม 2565 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา

สผ.

กล่าวถ้อยแถลง ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟู ความหลากหลายทางชีวภาพ

เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกับประชาคมโลก ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งในรูปแบบพหุภาคีและทวิภาคี เพื่อสนับสนุนกลไกทางการเงิน เทคโนโลยี และการเสริมสร้างสมรรถนะ

ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินการ เพื่อหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ได้ ภายในปี 2030

และจะส่งผลให้ประชาคมโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดี ควบคู่กับการมีธรรมชาติที่สมบูรณ์ภายในปี ค.ศ. 2050 ตามกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 (Post-2020 Global Biodiversity Framework: Post-2020 GBF)

สผ.

ปัจจุบันประเทศไทย โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างยกร่างแผนจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ฉบับที่ 5 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี BCG model และกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020

มุ่งเน้นการดำเนินงานรองรับร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ การเพิ่มพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล และชายฝั่ง  การสนับสนุนการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน การเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม การส่งเสริมกิจกรรมและวิธีปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการประสานความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมากขึ้น

สผ.

การประชุมระดับสูงในครั้งนี้ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมผ่านระบบวีดิทัศน์ ซึ่งได้เน้นย้ำความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉม (transformative change) และนาย Huang Runqiu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐประชาชนจีน ในฐานะประธานการประชุม CBD COP 15 กล่าวต้อนรับคณะผู้แทนที่เข้าร่วมประชุม

ประกอบด้วย รัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกว่า 140 ประเทศ เอกอัครราชทูต และผู้บริหารระดับสูงขององค์กรระหว่างประเทศกว่า 60 คน ร่วมแสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนการดำเนินงาน ตามกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020

สผ.

4  เรื่องสำคัญ กรอบจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

ซึ่งจะเป็นแผนการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลก ต่อจากแผนกลยุทธ์ความความหลากหลายทางชีวภาพ และเป้าหมายไอจิที่สิ้นสุดลงเมื่อปี ค.ศ. 2020 โดยกรอบงานดังกล่าวมุ่งเน้น

  1. การเพิ่มพื้นที่คุ้มครองหรือพื้นที่ที่มีมาตรการดูแลความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

การฟื้นฟู และการลดปัจจัยด้านลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ

  1. การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ บรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดการแพร่ของโรคระบาด ฯลฯ
  2. การแบ่งปันผลประโยชน์ทั้งในรูปแบบตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ที่มาจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม และการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  1. การเพิ่มทรัพยากรทางการเงินจากทุกภาคส่วนเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

สผ.

สผ.

8 5

 

อ่านข่่าวเพิ่มเติม

Avatar photo